![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() คำว่า ปัญญาเครื่องรักษาตัว นี้ เป็นชื่อของปัญญา. ถามว่า ทำไมพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเรียกปัญญา ในภาชนะ (ที่รองรับ) แห่งสติเล่า. ตอบว่า เพื่อทรงแสดงถึงสติที่มีกำลัง. จริงอย่างนั้น ในที่นี้ พระองค์ทรงหมายเอาแต่สติที่มีกำลังเท่านั้น. ก็เมื่อจะทรงแสดงถึงสติที่ประกอบด้วยปัญญาว่า สติที่ประกอบด้วยปัญญานั้น เป็นสติที่มีกำลัง ที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา คำว่า จิรกตํ คือ ทาน ศีลหรืออุโบสถกรรมที่ได้ทำมาสิ้นกาลนานแล้ว. คำว่า จิรภาสิตํ ความว่า ในที่โน้น ได้พูดคำชื่อโน้นเท่านั้น. คำพูดอันบุคคลพึงพูดในเวลาที่นานอย่างนี้. คำว่า โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา คือ ทำนิพพานเป็นอารมณ์. คำว่า อุทยตฺถคามินิยา คือ ถึงความเกิดขึ้นและความดับไป หมายความว่า ที่กำหนดถือเอาทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป. ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแต่โลกุตระที่ให้เกิดสัทธินทรีย์ สตินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อันเป็นส่วนเบื้องต้น สมาธินทรีย์ที่เจือกับวิริยินทรีย์ไว้เท่านั้น. จบอรรถกถาปฐมวิภังคสูตรที่ ๙ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อินทริยสังยุตต์ สุทธิกวรรคที่ ๑ ๙. วิภังคสูตรที่ ๑ จบ. |