บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อรรถกถาชราสูตรที่ ๑ คำว่า ผินพระปฤษฏางค์ผิงแดด ความว่า เพราะในพระสรีระที่เป็นเย็น ก็สมัยนี้เป็นสมัยหนาวมีน้ำค้างตก ฉะนั้น ในเวลานั้นจึงทรงเอามหาจีวรออกแล้ว เสด็จประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ผิงแดด. ถามว่า แสงแดดสามารถข่มรัศมีพระพุทธเจ้าเข้าไปภายในได้หรือ. ตอบว่า ไม่ได้. เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรส่องให้ร้อน. เดชแห่งรัศมีส่องให้ร้อน เหมือนอย่างว่า แสงแดดถูกต้องตัว คนที่นั่งโคนไม้ใต้ร่มที่เป็นปริมณฑลในเวลาเที่ยงไม่ได้ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น ความร้อนก็ยังแผ่ไปทุกทิศ เหมือนเอาเปลวไฟมาล้อมรอบฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อแสงแดดไม่สามารถข่มรัศมีพระพุทธจ้าแล้วแทรกเข้าไปข้างในได้ ก็พึงทราบว่าพระศาสดาประทับนั่งรับความร้อนอยู่. คำว่า บีบนวด คือ ทรงลูบขยำด้วยอำนาจทำการผิงพระปฤษฎางค์. คำว่า ข้าพระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ คือ พระเถระปลดมหาจีวรออกจากพระปฤษฎางค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เห็นรอยหย่อนยานเท่าปลายผม เหมือน นัยว่า นี้ชื่อว่าเป็นของอัศจรรย์สำหรับช่างติ. เมื่อแสดงว่า พระฉวีวรรณที่หมดจดโดยปกติ ไม่อย่างนั้นเสียแล้ว จึง จริง [อย่างนั้น] เมื่อเวลาที่พระตถาคตเจ้ายังทรงหนุ่มอยู่ พระวรกายไม่มีรอยย่น เหมือนหนังโคที่เขาเอาขอตั้งร้อยเล่ม มาดึงขึงให้เท่ากันด้วยประการฉะนี้. ฝุ่นละอองที่มาตั้งไว้ในพระหัตถ์นั้นก็ตกหล่นไป ค้างอยู่ไม่ได้เลย เหมือนถึงอาการเช็ดด้วยน้ำมัน แต่ในยามแก่เฒ่า (สำหรับ คำว่า พระสรีระหย่อนย่น คือ เกลียวย่นปรากฏในที่นั้นๆ คือ ที่หน้า ที่ระหว่าง แม้คำว่า สัณฐานเกิดเป็นเกลียวนี้ ท่านก็กล่าวด้วยอำนาจที่ปรากฏแก่ตนเท่านั้น แต่ คำว่า พระวรกายก็ค้อมไปข้างหน้า คือ พระศาสดาทรงมีพระกายตรงเหมือนกายพรหม คือ พระกายของพระองค์สูงตรงขึ้นไป เหมือน คำว่า และความแปรปรวนแห่งอินทรีย์ทั้งหลายก็ปรากฏ คือ ที่ชื่อว่าอินทรีย์ทั้งหลาย หาใช่อินทรีย์ที่ต้องรู้แจ้งด้วยตาไม่ เพราะโดยปกติ พระฉวีวรรณก็หมดจดอยู่แล้ว แต่บัดนี้หาได้หมดจดอย่างนั้นไม่ รอยย่นปรากฏที่ระหว่างปลายพระอังสะ พระกายที่ตรงเหมือนกายพรหม ก็โกงไปข้างหน้า ด้วยเหตุนี้แล ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ด้วยการถือเอานัยว่า ก็แลความที่อินทรีย์มีตาเป็นแปรปรวนไปต้องมี. คำว่า ธิ ตํ ชมฺมีชเร อตฺถุ ความว่า โธ่ ความแก่ลามกจงมีกะเจ้าคือแก่เจ้า. ธิ อักษร คือ ความติเตียนจงถูกต้องเจ้า. อัตภาพ ชื่อว่า พิมพ์. จบอรรถกถาชราสูตรที่ ๑ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อินทริยสังยุตต์ ชราวรรคที่ ๕ ๑. ชราสูตร จบ. |