บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า ฉฬาภิชาติโย ได้แก่ ชาติทั้ง ๖. บทว่า ตตฺริทํ คือ ตตฺรายํ. บทว่า ลุทฺทา ได้แก่ ต่ำช้า. บทว่า ภิกฺขู กณฺหาธิมุตฺติกา ความว่า ธรรมดาว่าสมณะเหล่านี้. บทว่า เอกสาฏกา ได้แก่ (นิครนถ์ทั้งหลาย) ปิดข้างหน้าด้วยผ้าชิ้นเก่าชิ้นเดียวเท่านั้น. บทว่า อกามกสฺส พิลํ โอลเภยฺยุํ ความว่า เมื่อหมู่เกวียนกำลังเคลื่อนขบวนไป เมื่อโค (ตัวหนึ่ง) ตายลง ชาวนาทั้งหลายก็พึงชำแหละเนื้อโคกันเพื่อต้องการตั้งราคาแล้วเคี้ยวกิน พลางจัดสรรปันส่วนให้แก่ชาวนาคนหนึ่งผู้ไม่ปรารถนาเนื้อโคเลย พร้อมกล่าวว่า เธอต้องกินส่วนนี้ และต้องให้ราคาด้วย ดังนี้แล้ว มอบชิ้นเนื้อกล่าวคือส่วนนั้นให้. อธิบายว่า พึงวางไว้ในมือโดยพลการ. บทว่า อเขตฺตญฺญุนา ได้แก่ ผู้ไม่รู้จักเขตด้วยการบัญญัติอภิชาติ. บทว่า ตํ สุณาหิ ความว่า ขอเธอจงฟังการบัญญัติของเราตถาคตนั้น. บทว่า กณฺหํ ธมฺมํ อภิชายติ ความว่า เกิดคือบังเกิดเป็นสภาพดำ หรือเกิดในกำเนิดดำ. บทว่า นิพฺพานํ อภิชายติ ได้แก่ บรรลุนิพพาน หรือเกิดในนิพพานชาติ กล่าวคืออริยภูมิ. จบอรรถกถาฉฬาภิชาติยสูตรที่ ๓ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๑ ๓. ฉฬาภิชาติยสูตร จบ. |