![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |||||||||||||||||||||||||
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() หน้าต่างที่ ๒ / ๑๒. ข้อความเบื้องต้น สองสหายออกบวช ภิกษุรูปหนึ่งดีดตาหงส์ด้วยก้อนกรวด ภิกษุรูปที่หนึ่ง. ตาข้างนี้จงยกไว้, ผมจักดีดตาข้างโน้น. ภิกษุรูปที่สอง. แม้ตาข้างนี้ ท่านก็จักไม่สามารถ (ดีด) เหมือนกัน. ภิกษุรูปที่หนึ่ง. พูดว่า "ถ้าอย่างนั้น ท่านจงคอยดู" แล้วหยิบกรวดก้อนที่สอง ดีดไปทางข้างหลังของหงส์. หงส์ได้ยินเสียงก้อนกรวดจึงเหลียวดู. ขณะนั้น เธอหยิบก้อนกรวดกลมอีกก้อนหนึ่ง แล้วดีดหงส์ตัวนั้นที่ตาข้างโน้น ให้ทะลุออกตาข้างนี้. หงส์ร้อง ม้วนตกลงแทบเท้าของภิกษุเหล่านั้นนั่นแล. ภิกษุทั้งหลายติเตียนแล้วทูลแด่พระศาสดา พระศาสดาประทานโอวาท อันภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัส) ว่า :- ศีล ๕ ชื่อกุรุธรรม พระโพธิสัตว์ทรงรักษาศีล ๕ นั้น ทำให้บริสุทธิ์. พระชนนี พระอัครมเหสี พระอนุชา อุปราช พราหมณ์ปุโรหิต อำมาตย์ผู้ถือเชือก๒- นายสารถี เศรษฐี มหาอำมาตย์ ผู้เป็นขุนคลัง๓- คนรักษาประตู นางวรรณทาสี๔- ผู้เป็นหญิงงามเมืองของพระโพธิสัตว์นั้น ย่อมรักษาศีล ๕ เหมือนพระโพธิสัตว์ ด้วยประการฉะนี้. ____________________________ ๑- ราชธรรม ๑๐ คือ :- ทานํ การให้ ๑ สีลํ ศีล ๑ ปริจฺจาคํ การบริจาค ๑ อาชฺชวํ ความซื่อตรง ๑ มทฺทวํ ความอ่อนโยน ๑ ตปํ ความเพียร ๑ อกฺโกธํ ความไม่โกรธ ๑ อวิหึสา ความไม่เบียดเบียน ๑ ขนฺติ ความอดทน ๑ อวิโรธนํ ความไม่พิโรธ ๑. ๒- พนักงานรางวัด. ๓- โทณมาปโก ผู้ตวงวัตถุด้วยทะนาน. โทณะหนึ่งเท่ากับ ๔ อาฬหก. ๔- หญิงคนใช้รูปงาม แคว้นกาลิงคะเกิดฝนแล้ง ก็ช้างมงคล ชื่อว่าอัญชนาสภะของพระมหาสัตว์ เป็นสัตว์มีบุญมาก. ชาวแคว้นพากันกราบทูลด้วยสำคัญว่า "เมื่อนำช้างนั้นมาแล้ว ฝนจักตก." พระราชาทรงส่งพวกพราหมณ์ไป เพื่อต้องการนำช้างนั้นมา. พราหมณ์เหล่านั้นไปแล้ว ทูลขอช้างกะพระมหาสัตว์แล้ว. เพื่อจะทรงแสดงอาการขอนี้ของพราหมณ์เหล่านั้น พระศาสดาจึงตรัสชาดก๑- ในติกนิบาตนี้เป็นต้นว่า :- "ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชน ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทราบศรัทธาและศีลของพระองค์แล้ว ขอพระราชทานแลกทองด้วย ช้าง ซึ่งมีสีดุจดอกอัญชัน ไปในแคว้นกาลิงคะ." ____________________________ ๑- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๔๒๗. กุรุธรรมชาดก. อรรถกถา กุรุธรรมชาดก. ก็เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายนำช้างมาแล้ว เมื่อฝนไม่ตก ด้วยทรงสำคัญว่า "พระราชานั้นทรงรักษากุรุธรรม เพราะฉะนั้น ฝนจึงตกในแคว้นของพระองค์" พระเจ้ากาลิงคะจึงทรงส่งพวกพราหมณ์และอำมาตย์ไปอีก ด้วยพระดำรัสว่า "พวกท่านจงจารึกกุรุธรรมที่พระราชานั้นรักษาลงในแผ่นทองคำแล้วนำมา." เมื่อพราหมณ์และอำมาตย์เหล่านั้นไปทูลขออยู่ ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด นับแต่พระราชาเป็นต้น กระทำอาการสักว่า ความรังเกียจบางอย่างในศีลทั้งหลายของตนๆ แล้ว ห้ามว่า "ศีลของพวกเราไม่บริสุทธิ์" ถูกพราหมณ์และอำมาตย์เหล่านั้นอ้อนวอนหนักเข้าว่า "ความทำลายแห่งศีล หาได้มีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่" จึงได้บอกศีลทั้งหลายของตนๆ แล้ว. พระเจ้ากาลิงคะทรงรักษากุรุธรรมฝนจึงตก พระศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า :- หญิงแพศยาในครั้งนั้น ได้เป็นนางอุบลวรรณา, คนรักษาประตู ได้เป็นภิกษุชื่อว่าปุณณะ, อำมาตย์ผู้ถือเชือก ได้เป็นกัจจานภิกษุ, และอำมาตย์ผู้เป็นขุนคลัง ได้เป็นโกลิตะ, เศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็นสารีบุตร, นายสารถีได้เป็นอนุรุทธะ, พราหมณ์ได้เป็นกัสสปเถระ, อุปราชได้เป็นนันทบัณฑิต, พระมเหสีได้เป็นมารดาของราหุล, พระชนนีได้เป็นพระนางมายาเทวี, พระเจ้ากุรุได้เป็นพระโพธิสัตว์; พวกเธอจงจำชาดกไว้ด้วยอาการอย่างนี้. ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุ บัณฑิตในครั้งก่อน เมื่อความรำคาญแม้มีประมาณน้อยเกิดขึ้นแล้ว ทำศีลเภทของตนให้เป็นเครื่องรังเกียจแล้วอย่างนี้ ส่วนเธอบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้เช่นกับด้วยเรา ยังทำปาณาติบาตอยู่ (นับว่า) ได้ทำกรรมอันหนักยิ่งนัก ธรรมดาภิกษุควรเป็นผู้สำรวมด้วยมือ เท้า และวาจา" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ ____________________________ ๑- การยังมือให้เล่นเป็นต้น. นัยแม้ในบทที่สอง ก็เหมือนนัยนี้. ก็ชื่อว่าผู้มีวาจาอันสำรวมแล้ว เพราะไม่ทำวจีทุจริต มีพูดเท็จทางวาจาเป็นต้น. บทว่า สญฺญตตฺตโม คือผู้มีอัตภาพอันสำรวมแล้ว. อธิบายว่า ผู้ไม่ทำอาการแปลก มีโคลงกาย สั่นศีรษะ และยักคิ้ว เป็นต้น. บทว่า อชฺฌตฺตรโต ความว่า ผู้ยินดีในการเจริญกัมมัฏฐาน กล่าวคือโคจรธรรมอันเป็นไป ณ ภายใน. บทว่า สมาหิโต คือ ผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดีแล้ว. สองบทว่า เอโก สนฺตุสิโต ความว่า เป็นผู้มีปกติอยู่ผู้เดียวยินดีแล้วด้วยดี คือมีใจยินดีแล้วด้วยอธิคมแห่งตน จำเดิมแต่การประพฤติในวิปัสสนา. จริงอยู่ พระเสขบุคคลแม้ทุกจำพวก ตั้งต้นแต่กัลยาณปุถุชนย่อมยินดีด้วยอธิคมแห่งตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้สันโดษ. ส่วนพระอรหันต์เป็นผู้ยินดีแล้วโดยส่วนเดียวแล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาพระอรหันต์นั้น จึงตรัสคำนั่นว่า "เอโก สนฺตุสิโต." ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล. เรื่องภิกษุฆ่าหงส์ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕ |