บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
พระสูตรนี้มีการเกิดอย่างไร? การเกิดขึ้นแห่งสูตรนี้จักมีแจ้งในอรรถกถาแห่งสูตรนั่นแล. บทมีอาทิว่า เอวมฺเม สุตํ แห่งสูตรนี้ มีนัยดังได้กล่าวแล้วในอรรถกถานั่นแล. ก็ในบทว่า อถโข โกกาลิโก นี้ โกกาลิกะนี้เป็นใคร เหตุไรจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. ท่านกล่าวไว้ดังต่อไปนี้. มีเรื่องเล่ามาว่า โกกาลิกะนี้ เป็นบุตรของโกกาลิกเศรษฐี ในเมืองโกกาลิกะแคว้นโกกาลิกะ ออกบวชแล้วอาศัยอยู่ในวิหารที่บิดาสร้างไว้นั่นเอง มีชื่อว่าจูฬโกกาลิกะ มิใช่เป็นศิษย์ของพระเทวทัต เพราะโกกาลิกะศิษย์พระเทวทัตนั้นเป็นบุตรพราหมณ์ ชื่อว่ามหาโกกาลิกะ. ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี พระอัครสาวกสองรูป ครั้นล่วงไป ๓ เดือน วันหนึ่งโกกาลิกภิกษุรีบเข้าไปยังนครกล่าวว่า ท่านทั้งหลายไม่รู้หรือว่าพระอัครสาวกทั้งสองมาอยู่ ณ ที่นี้จึงไม่มีใครนิมนต์ถวายปัจจัย. ชาวนครถามว่า ทำไมพระคุณเจ้าไม่บอกพวกผมเล่า. โกกาลิกภิกษุตอบว่า จะบอกไปทำไม พวกท่านไม่เห็นภิกษุสองรูปอาศัยอยู่ดอกหรือ ทั้งสองรูปนั้นเป็นพระอัครสาวกมิใช่หรือ. ชาวนครพากันประชุมด่วน นำเนยใส น้ำอ้อยงบ และผ้าเป็นต้นมาวางไว้ข้างโกกาลิกภิกษุ. โกกาลิกภิกษุคิดว่า พระอัครสาวกทั้งสองเป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง ครั้นรู้ว่า ลาภเกิดขึ้นเพราะพูดชักชวนจักไม่ยินดีรับ เมื่อไม่ยินดีรับ จักพูดว่า ท่านทั้งหลายจงถวายแก่ภิกษุเจ้าอาวาสเถิดเป็นแน่ เอาเถิดเราจักให้พระอัครสาวกทั้งสองรับลาภนี้ไป. โกกาลิกภิกษุได้ทำอย่างนั้น. พระเถระทั้งสองเห็นแล้วก็รู้ว่าลาภเกิดขึ้นเพราะพูดชักชวน จึงคิดว่าปัจจัยเหล่านี้ไม่ควรแก่เราทั้งสองเลย และไม่ควรแก่โกกาลิกภิกษุด้วย. จึงไม่พูดว่า ท่านทั้งหลายจงถวายแก่เจ้าอาวาสเถิด ปฏิเสธแล้วก็หลีกไป. ด้วยเหตุนั้น โกกาลิกภิกษุเกิดเสียใจว่า นี่อะไรกัน. พระอัครสาวกทั้งสองได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงปวารณาแล้ว หากไม่เสด็จจาริกไปยังชนบทด้วยพระองค์เอง ก็ทรงสั่งอัครสาวกทั้งสองไปตรัสว่า จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย๑- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากเถิด ดังนี้เป็นต้น. นี้เป็นประเพณีของพระตถาคตทั้งหลาย. ____________________________ ๑- วิ. มหา. เล่ม ๔/ข้อ ๓๒ แต่สมัยนั้น พระองค์ไม่มีพระประสงค์จะเสด็จไปด้วยพระองค์เอง จึงทรงส่งพระอัครสาวกทั้งสองไปด้วยพระดำรัสว่า คจฺฉถ ภิกฺขเว จรถ จาริกํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไป จงเที่ยวจาริกไปเถิด ดังนี้. พระอัครสาวกทั้งสองพร้อมด้วยภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป เที่ยวจาริกไป ได้ไปถึงนครนั้นในแคว้นนั้นๆ โดยลำดับ. ชาวนครจำพระเถระทั้งสองได้ จึงเตรียมทานพร้อมด้วยบริขาร สร้างมณฑปกลางนครพากันถวายทาน พร้อมบริขารเข้าไปถวายแด่พระเถระทั้งสอง. พระเถระทั้งสองรับแล้วได้ให้แก่ภิกษุสงฆ์. โกกาลิกภิกษุเห็นดังนั้นจึงคิดว่า เมื่อก่อนพระอัครสาวกทั้งสองรูปนี้เป็นผู้มักน้อย บัดนี้ถูกความโลภครอบงำ เกิดเป็นผู้มีความปรารถนาลามกเสียแล้ว เมื่อก่อนท่านทั้งสองนี้คล้ายกับมีความมักน้อย สันโดษ สงัด บัดนี้เห็นจะมีความปรารถนาลามก เป็นภิกษุลามก แสดง โกกาลิกภิกษุจึงเข้าไปหาพระเถระทั้งสองกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านทั้งสอง เมื่อก่อนได้เป็นดุจผู้มักน้อย สันโดษ สงัด แต่บัดนี้ท่านทั้งสองกลับเป็นภิกษุลามกไปเสียแล้ว แล้วถือบาตรและจีวรรีบออกไปทันทีทันใด คิดว่าจักกราบทูลความนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงมุ่งหน้าไปกรุงสาวัตถีเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยลำดับ. ในสูตรนี้ โกกาลิกภิกษุนี้ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเหตุนี้. ดังที่พระสังคีติกาจารย์กล่าวคำเป็นอาทิว่า อถ โข โกกาลิโก ภิกฺขุ เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ครั้งนั้นแล โกกาลิกภิกษุเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นโกกาลิกภิกษุนั้นรีบร้อนมา ทรงรำพึงดูได้ทรงทราบว่า โกกาลิกภิกษุมาประสงค์จะด่าพระอัครสาวกทั้งสอง. ทรงรำพึงต่อไปว่า สามารถจะทรงห้ามได้หรือไม่หนอ ได้ทรงเห็นว่าไม่สามารถจะห้ามได้ โกกาลิกภิกษุนั้นมาเพื่อจะทำร้ายในอัครสาวกทั้งสอง จักเกิดในปทุมนรกโดยแน่นอน. พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงปลดเปลื้องคำติเตียนของคนอื่นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงเห็นอย่างนี้ ทรงสดับคำ ในบทเหล่านั้น บทว่า มาเหวํ ความว่า เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น. บทว่า เปสลา แปลว่า มีศีลเป็นที่รัก. บทว่า สทฺธายิโก คือ ชักนำให้น้อมใจเชื่อ. อธิบายว่า ให้นำมาซึ่งความเชื่อ. บทว่า ปจฺจยิโก ให้เลื่อมใส. อธิบายว่า ให้นำมาซึ่งความปลงใจว่านี้เป็นอย่างนั้น ดังนี้. บทว่า อจิรปกฺกนฺตสฺส คือ เมื่อโกกาลิกภิกษุหลีกไปไม่นานนัก. บทว่า สพฺโพ กาโย ผุฏฺโฐ อโหสิ ได้มีต่อมเกิดขึ้นในกาย. ความว่า ทั่วร่างกายไม่เว้นช่องว่างแม้เพียงปลายผมได้มีต่อมทำลายกระดูกเกิดขึ้นเต็มไปหมด เพราะด้วยพุทธานุภาพกรรมเห็นปานนั้นยังมิให้ผลในเมื่ออยู่เฉพาะพระพักตร์พระ ด้วยเหตุนั้นแล ท่านจึงกล่าวว่า อจิรปกฺกนฺตสฺส โกกาลิกสฺส เมื่อโกกาลิกภิกษุหลีกไปไม่นาน. เมื่อหากจะมีคำถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร โกกาลิกภิกษุจึงไม่อยู่ ณ ที่นั้นเล่า. ตอบว่า ด้วยอานุภาพของกรรม. เพราะกรรมรอโอกาสให้ผลแน่นอน ฉะนั้น กรรมจึงไม่ให้โกกาลิกภิกษุอยู่ ณ ที่นั้น. โกกาลิกภิกษุนั้นถูกเตือนด้วยอานุภาพของกรรม จึงลุกจากที่นั่งหลีกไป. บทว่า กฬายมตฺติโย เท่าเมล็ดถั่วดำ คือเท่าเมล็ดลูกเดือย. บทว่า เวฬุวสลาฏุกมตฺติโย คือ เท่าผลมะตูมอ่อน. บทว่า ปริภิชฺชึสุ คือ แตกแล้ว. เมื่อต่อมทั้งหลายแตกแล้วทั่วตัวได้เป็นเหมือนขนุนสุก. โกกาลิกภิกษุนั้นมีตัวเปื่อยเน่าถึงความลำบาก ถูกทุกข์ครอบงำ นอนที่ซุ้มประตูพระเชตวันมหาวิหาร. ลำดับนั้น มนุษย์ทั้งหลายต่างพากันมาเพื่อจะฟังธรรม ครั้นเห็นโกกาลิกภิกษุนั้นต่างก็พูดตำหนิว่า โธ่ โกกาลิกะ โธ่ โกกาลิกะ ทำกรรมไม่สมควรเลย ท่านอาศัยปากของตนเองแท้ๆ จึงถึงความลำบาก. บรรดาอารักขเทวดาได้สดับคำของมนุษย์เหล่านั้น ก็ได้ติเตียนเป็นเสียงเดียวกัน. บรรดาอากาศเทวดาได้ฟังเสียงของอารักขเทวดา ก็ติเตียนเป็นเสียงเดียวกัน ด้วยอุบายนี้จนถึงอกนิฏฐภพ. ครั้งนั้น ภิกษุชื่อจตุที๒- อุปัชฌาย์ของโกกาลิกภิกษุบรรลุอนาคามิผล บังเกิดเป็นพรหมชั้นสุทธาวาส. พรหมนั้นออกจากสมาบัติได้สดับคำติเตียนนั้น จึงมาให้โอวาทโกกาลิกภิกษุ เพื่อให้เกิดจิตเลื่อมใสในพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ. โกกาลิกภิกษุนั้นไม่เชื่อคำของพรหมนั้นได้ถึงมรณภาพทั้งๆ ที่ไม่เลื่อมใสนั่นเองไปบังเกิดในปทุมนรก. ____________________________ ๒- บางแห่งเป็น ตุทุพรหม. ด้วยเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า อถโข โกกาลิโก ภิกฺขุ เตเนว ปาเปน ฯเปฯ อาฆาเตตฺวา เป็นต้น ความว่า ครั้งนั้นแล โกกาลิกภิกษุมรณภาพเพราะบาปนั้นเอง ครั้นโกกาลิกภิกษุ บทว่า อถ โข พฺรหฺมา สหมฺปติ ครั้งนั้นแลสหัมบดีพรหม. ความว่า พรหมนี้เป็นใคร ก็และเพราะเหตุไรจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กล่าวคำนี้. สหัมบดีพรหมนี้ ครั้งศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เป็นภิกษุชื่อว่าสหกะ เป็นพระอนาคามีบังเกิดในสุทธาวาสมหาพรหม. ที่สุทธาวาสนั้น พรหมทั้งหลายเรียกท่านว่า สหัมบดีพรหม. สหัมบดีพรหมนั้นดำริว่า เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามถึงปทุมนรก แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจักตรัสบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย ทีนั้นภิกษุทั้งหลายผู้ฉลาดในการลำดับเรื่องจักทูลถามกำหนดอายุในปทุมนรกนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสบอกกำหนดอายุนั้นจักทรงประกาศโทษในการติเตียนพระอริยะ ด้วยเหตุนี้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลเรื่องนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำอย่างนั้น. แม้ภิกษุรูปหนึ่งก็ได้ทูลถามขึ้น. ครั้นภิกษุรูปนั้นทูลถามแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขุ ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า วีสติขาริโก ๒๐ ขาริ คือ ๔ ปัตถะโดยปัตถะของชาวมคธ เป็น ๑ ปัตถะในแคว้นโกศล, โดยปัตถะนั้น ๔ ปัตถะเป็น ๑ อาฬหกะ, ๔ อาฬหกะเป็น ๑ โทณะ, ๔ โทณะเป็น ๑ มาณิกะ, ๔ มาณิกะเป็น ๑ ขาริ, เป็น ๒๐ ขาริ ด้วยขารินั้น (ขาริหนึ่งเท่ากับ ๑,๒๕๖ ทะนาน ๒๐ ขาริเท่ากับ ๒๕,๑๒๐ ทะนาน). บทว่า ติลวาโห ได้แก่ เกวียนบรรทุกงา. บทว่า อพฺพุโท นิรโย อัพพุทนรก คือ ชื่อว่าอัพพุทนรก ไม่มีนรกจัดไว้เฉพาะไรๆ แต่โอกาสที่ได้รับความเร่าร้อน ด้วยการนับอัพพุทะ (๑๐๐ ล้านปี) ในอเวจีนั่นแหละท่านกล่าวว่า อัพพุทนรก. ในนิรัพพุทนรกเป็นต้นก็มีนัยนี้. ในนิรัพพุทนรกนั้น พึงทราบการนับปีอย่างนี้, ๑๐๐ แสนเป็น ๑ โกฏิ, ๑๐๐ แสนโกฏิเป็น ๑ ปโกฏิ, ๑๐๐ แสนปโกฏิเป็น ๑ โกฏิปโกฏิ, ๑๐๐ แสนโกฏิปโกฏิเป็น ๑ นหุต, ๑๐๐ แสนนหุตเป็น ๑ นินนหุต, ๑๐๐ แสนนินนหุตเป็น ๑ อัพพุทะ, เอา ๒๐ คูณอัพพุทะเป็น ๑ นิรัพพุทะ. ในนรกทั้งปวงก็มีนัยนี้. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ในนรกนั้นๆ ได้ชื่อโดยความต่างแห่งการเสวยทุกข์บ้าง โดยความต่างแห่งกรรมกรณ์บ้าง. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า นรกเหล่านี้เป็นสีตนรก. บทว่า อถาปรํ ท่านกล่าวหมายถึงคาถาประพันธ์แสดงความให้พิเศษไปจากความนั้น. ใน ๒๐ คาถา คาถาหนึ่งนี้ว่า สตํ สหสฺสานิ ๑๐๐ พัน คือหนึ่งแสน แสดงความดังที่กล่าวแล้วโดยปาฐะนั่นเอง. คาถาที่เหลือแสดงความต่างกันออกไป. แต่สองคาถาสุดท้ายไม่มีในปาฐะที่วินิจฉัยไว้แล้วในมหาอรรถกถา ด้วยเหตุนั้นจะได้กล่าวใน ๒๐ คาถา. ในบทเหล่านั้น บทว่า กุฐารี ได้แก่ วาจาหยาบเช่นกับขวานเพราะเฉือนตัวเอง. บทว่า ฉินฺทติ ตัด คือตัดรอนรากเหง้าของตนคือกุศลมูล. บทว่า นินฺทิยํ แปลว่า ควรนินทา. บทว่า ตํ วา นินฺทติ โย ปสํสิโย ผู้ใดนินทาคนที่ควรสรรเสริญ. ความว่า บุคคลใดควรสรรเสริญด้วยอรรถว่า เป็นผู้สูงสุด กลับยกโทษติเตียนบุคคลนั้น ว่าเป็นผู้มีความปรารถนาลามกเป็นต้น. บทว่า วิจินาติ แปลว่า ย่อมก่อ. บทว่า กลึ แปลว่า โทษ. บทว่า อยํ กลิ ได้แก่ โทษนี้. บทว่า อกฺเขสุ เพราะเล่นการพนัน. บทว่า สพฺพสฺสาปิ สหาปิ อตฺตนา คือ กับทรัพย์ของตนทั้งหมดบ้าง กับตนเองบ้าง. บทว่า สุคเตสุ ในพระสุคตทั้งหลาย ได้แก่ ในพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกมีชื่อว่าสุคต เพราะไปด้วยดีและเพราะไปสู่ฐานะดี. บทว่า มนํ ปทูสเย ยังใจให้ประทุษร้าย. ท่านอธิบายว่า ใจของผู้ประทุษร้ายในพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวก มีโทษมากกว่า. เพราะเหตุไร. เพราะบุคคลตั้งวาจาและใจอันลามกไว้แล้ว เป็นผู้ติเตียนพระอริยเจ้าย่อมเข้าถึงนรกตลอดกาล ประมาณด้วยการนับปี ๑๐๐,๐๐๐ นิรัพพุทะ และ ๑๖๐ อัพพุทะ. ท่านอธิบายว่า เพราะบุคคลตั้งวาจาและใจอันลามก เป็นผู้ติเตียนพระอริยเจ้าย่อมเข้าถึงนรก คือหมกไหม้อยู่ในนรกนั้นตลอดกาลประมาณด้วยการนับปี. นี้เป็นประมาณอายุในปทุมนรกโดยสังเขป. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงชี้แจงความนี้ให้แจ่มแจ้งโดยอีกนัยหนึ่งว่า ผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้ายในพระสุคตทั้งหลาย มีโทษมากกว่านัก จึงตรัสคำมีอาทิว่า อภูตวาที คนพูดเท็จ. ในบทเหล่านั้น บทว่า อภูตวาที ได้แก่ คนพูดเหลาะแหละเพราะติเตียนพระอริยเจ้า. บทว่า นิรยํ ได้แก่ ปทุมนรกเป็นต้น. บทว่า เปจฺจ สมา ภวนฺติ ได้แก่ ละจากโลกนี้ไปแล้วย่อมเสมอกันในการเข้าถึงนรก. บทว่า ปรตฺถ คือ ในโลกอื่น. ยิ่งกว่านั้นมีอะไรอีก ในบทว่า โย อปฺปทุฏฺฐสฺส นี้พึงทราบว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประทุษร้าย เพราะไม่มีโทษ ชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะไม่มีมลทินคืออวิชชา, ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน เพราะไม่มีความปรารถนาลามก. ในบทนี้พึงประกอบอย่างนี้ว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะเป็นผู้ไม่ประทุษร้าย และเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงชี้ถึงผู้ที่มีใจประทุษร้ายในพระสุคตทั้งหลาย นัยว่า คาถาเหล่านั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวสอนโกกาลิกภิกษุผู้กำลังจะตายนั่นเอง. อาจารย์บางคนกล่าวว่า มหาพรหมกล่าวสอน. เพื่อสงเคราะห์คาถาเหล่านั้นให้เป็นอันเดียวกันกับสูตรนี้ จึงอ้างถึงบทนี้มีอาทิว่า โย โลภคุเณ อนุยุตฺโต ผู้ที่ประกอบเนืองๆ ในคุณคือความโลภ ดังนี้. ในคาถานั้นพึงทราบวินิจฉัยในคาถาต้นก่อน ความโลภเท่านั้นชื่อว่าคุณคือความโลภ เพราะอ้างถึง บทว่า คุโณ หรือเพราะเป็นไปหลายๆ ครั้ง. บทว่า โลภคุโณ นี้เป็นชื่อของตัณหา. บทว่า อวทญฺญู ไม่รู้ความประสงค์ของผู้ขอ. คือชื่อว่าไม่รู้คำพูด เพราะไม่ถือโอวาทแม้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทว่า มจฺฉรี มีความตระหนี่ คือด้วยความตระหนี่ห้าอย่าง. ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ในคำส่อเสียด เพราะประสงค์จะให้อัครสาวกทั้งสองแตกกัน. บทที่เหลือปรากฏชัดแล้ว. บทนี้ท่านอธิบายว่า ดูก่อนโกกาลิกะผู้มีอายุ ผู้ใดเป็นเช่นท่าน ประกอบเนืองๆ ในคุณคือความโลภ ไม่มีศรัทธา กระด้าง ไม่รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ตระหนี่ ประกอบเนืองๆ ในคำพูดส่อเสียด ผู้นั้นย่อมบริภาษผู้อื่น คือบุคคลที่แม้ไม่ควรพูดถึงด้วยวาจา ด้วยเหตุนั้น เราจึงกล่าวคาถาที่สามว่า มุขทุคฺค แน่ะคนผู้มีปากเป็นหล่ม. ต่อไปนี้เป็นอธิบายบทที่ยากของบทว่า มุขทุคฺค นั้น แน่ะคนผู้มีปากเป็นหล่ม คือมีปากไม่เรียบร้อย กล่าวคำไม่จริง คือปราศจากความจริง พูดจาเหลาะแหละ ผู้ไม่ประเสริฐ คือเป็นอสัตบุรุษ ผู้กำจัดความเจริญ คือกำจัดความสมบูรณ์ ทำความสมบูรณ์ให้พินาศ ผู้เป็นที่สุดคน คืออภัพพ ผู้มีโทษ คือเป็นผู้เคราะห์ร้าย ผู้เป็นอวชาต คือเป็นอวชาตบุตร (บุตรที่เลว) ของพระพุทธเจ้า ท่านเกลี่ยธุลี คือกิเลสลงในตน. บทว่า ปปตํ ได้แก่ มหานรก. ปาฐะว่า ปปฏํ ก็มีความอย่างเดียวกัน. ปาฐะว่า ปปตฺตํ คือมหานรก. บทว่า ห ในบทว่า เอติ ห ตํ นี้เป็นนิบาต. บทว่า ตํ ได้แก่ กุศลกรรมและอกุศลกรรมนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า หตํ ได้แก่ ไปแล้วคือถึงแล้ว. อธิบายว่า สะสมแล้ว. บทว่า สุวามิ คือ เป็นเจ้าของกรรมนั้น เพราะได้ทำไว้. ท่านอธิบายว่า เพราะเขาได้กรรมนั้นไว้ กรรมนั้นของเขาจึงไม่หายไป. ก็เพราะเขาได้ (กรรม) ไว้ ฉะนั้น คนเขลาผู้ทำกรรมหยาบ ย่อมเห็นความทุกข์ของตนในปรโลก. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศถึงทุกข์ที่คนเขลาเห็น จึงตรัสคำมีอาทิว่า อโย สงฺกุสมาหฏํ ฐานํ ย่อมเข้าถึงหลาวเหล็กอันคมกริบ. ในบทนั้น พึงทราบความในกึ่งคาถาต้นก่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงฐานะอันนำมาซึ่งหลาวเหล็กอันใด ตรัสว่า ตเมนํ ภิกฺ เมื่อเข้าถึง นาย ____________________________ ๓- ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๔๗๕ องฺ. ติก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๔๗๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถากึ่งหนึ่งต่อจากนั้น ทรงหมายถึงคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า นายนิรยบาลยัดก้อนเหล็กร้อนลงในปากของสัตว์นรกผู้เผาไหม้ อยู่ในนรกนั้นหลายพันปี แล้วไปยังฝั่งแม่น้ำแสบ ตามลำดับเพื่อเสวยผลกรรมที่เหลือจากการถูกเผาไหม้ นายนิรยบาลกรอกน้ำทองแดงร้อนลงในปาก. ในบทเหล่านั้น บทว่า อโย คือ โลหะ. บทว่า คุฬสนฺนิภํ ก้อนเหล็กแดงโชติช่วง คือมีสัณฐานเหมือน ผลมะตูม. ในบทว่า อโย นี้ พึงทราบโลหะทองแดงด้วย อยศัพท์นอกนั้น พึงทราบว่าเป็นก้อนเหล็ก. บทว่า ปฏิรูปํ คือ สมควรแก่กรรมที่ทำไว้. พึงทราบวินิจฉัยในคาถาอื่นจากนั้นดังต่อไปนี้ บทว่า น หิ วคฺคุ ความว่า นายนิรยบาลพูดว่า จงจับ จงประหาร ดังนี้เป็นต้น ไม่พูดคำไพเราะเลย. บทว่า นาภิชวนฺติ จะวิ่งหนีก็ไม่ได้ คือจะทำเป็นหน้าเบิกบานก็ไม่ได้ จะทำหน้ายิ้มเข้าไปหาก็ไม่ได้. ท่านอธิบายว่า จะเข้าไปหาเพราะนำความพินาศมาให้ก็ไม่ได้. บทว่า น ตาณมุเปนฺติ ไม่ได้ที่ต้านทานเลย คือจะเข้าไปขอความต้านทาน ที่ซ่อนเร้น ที่อาศัยก็ไม่ได้. ท่านอธิบายว่า นายนิรยบาลเข้าไปจับฆ่าอย่างเดียว. บทว่า องฺคาเร สนฺถเต เสนฺติ สัตว์นรกนอนอยู่บนถ่านเพลิงอันลาดไว้ คือสัตว์นรก บทว่า อคฺคินิสมํ ปชฺชลิตํ คือ เข้าไปสู่กองไฟอันลุกโพลงโดยรอบ และโชติช่วงในทิศทั้งปวง. บทว่า ปวิสนฺติ คือ นายนิรยบาลจับยัดใส่ลงในมหานรก. มหานรกนั้น ท่านกล่าวว่ามีอยู่ ๔ มุม๔- ผู้ที่ยืนดูอยู่ห่างประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ตาย่อมแตกได้. ____________________________ ๔- ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๔๗๕ องฺ. ติก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๔๗๕ บทว่า ชาเลน จ โอนหิยานา นายนิรยบาลเอาข่ายเหล็กพัน คือนายนิรยบาลเอาข่ายเหล็กพันแล้วประหารเหมือนพรานเนื้อฆ่าเนื้อ ฉะนั้น นี้เป็นกรรมกรณ์ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในเทวทูตสูตร. บทว่า อนฺธํว ติมิสมายนฺติ สัตว์นรกทั้งหลายย่อมไปสู่โรรุวนรกที่มืดทึบ. ความว่า สัตว์นรกย่อมไปสู่โรรุวนรกอันมืดทึบที่รู้ว่ามืด เพราะทำความมืด ที่รู้ว่าทึบเพราะมืดจัด. นัยว่า ที่โรรุวนรกนั้นตาแตก เพราะสูดควันกรดของหมอกเหล่านั้นเข้าไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อนฺธํว ดุจความมืดทึบ. บทว่า ตํ วิตตํ ยถา มหิกาโย ความว่า ความมืดทึบนั้นแผ่ไปเหมือนกลุ่มหมอก เกิดเป็นรูปร่างขึ้นมาอีก แม้ข้อนี้ก็เป็นกรรมกรณ์ที่ท่านมิได้กล่าวไว้ในเทวทูตสูตรเหมือนกัน. บทว่า อถ โลหมยํ ความว่า ก็โลหกุมภี (หม้อเหล็ก) นี้อยู่สุดแผ่นดิน มีความลึก ๒๔๐, บทว่า ปจฺจนฺติ หิ ตาสุ จิรรตฺตํ ได้แก่ ไหม้อยู่ในหม้อเหล็กนั้นสิ้นกาลนาน. บทว่า อคฺคินิสมาสุ คือ อันไฟลุกโพลง. บทว่า สมุปฺปิลวาสา ได้แก่ ลอย พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในเทวทูตสูตรนั่นแล. บทว่า ปุพฺพโลหิตมิสฺเส คือ เปื้อนด้วยหนองและเลือด. บทว่า ตตฺถ กึ คือในทิศนั้นๆ. บทว่า ทิสตํ คือ ทิศ. บทว่า อธิเสติ คือ ไป ปาฐะว่า อภิเสติ ก็มี. อธิบายว่า อาศัยอยู่ในทิศที่ติดอยู่. บทว่า กิลิสฺสติ คือ ลำบาก. ปาฐะว่า กิเลชฺชติ บาง. อธิบายว่า เปื่อยเน่า. บทว่า สมฺผุสฺสมาโน คือ หนองและเลือดแปดเปื้อน. แม้ข้อนี้ก็เป็นกรรมกรณ์ที่ท่านมิได้กล่าวไว้ในเทวทูตสูตร. บทว่า ปุฬวาวสเถ ได้แก่ เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน. โลหกุมภีนี้ ท่านกล่าวไว้ในเทวทูตสูตรว่าเป็นคูถนรก. ผู้ที่ตกลงไปในคูถนรกนั้น สัตว์ปากเข็มกัดผิวหนังเป็นต้น แล้วเคี้ยวกินเยื่อในกระดูก. บทว่า คนฺตุํ น หิ ตีรมปตฺถิ คือ ในคูถนรกนั้น แม้ฝั่งที่จะไปก็ไม่มีเลย. ปาฐะว่า ตีรวมตฺถิ ดังนี้บ้าง ความเหมือนกัน. ฝั่งนั่นแหละท่านกล่าวว่า ตีรวํ ในบทนี้. บทว่า สพฺพสฺมา หิ สมนฺ ป่าไม้มีใบเป็นดาบคม มีนัยดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วในเทวทูตสูตรนั่นแล. ก็ป่านั้น บทว่า ชิวฺหํ พลิเสน คเหตฺวา อารจยารจยา วิหนนฺติ พวกนายนิรยบาลเอาเบ็ดเกี่ยวลิ้น ออกมาแล้วเบียดเบียนด้วยการดึงออกมาๆ. ความว่า พวกนายนิรยบาลเอาเบ็ดดึงลิ้นของสัตว์นรกผู้พูดปดรีบวิ่งไปล้มลงในป่าที่มีใบไม้เป็นดาบคมแล้วทุบ เหมือนพวกมนุษย์ลาดหนังสดไว้บนแผ่นดิน แล้วทุบด้วยเสาเหล็กฉะนั้น แล้วเอาขวานชำแหละออกๆ เชือดปลายข้างหนึ่งๆ ทำให้ลำบาก ปลายที่เชือดออกๆ ก็ตั้งอยู่อย่างเดิมอีก. ปาฐะว่า อารชยารชยา ดังนี้บ้าง. ความว่า ดึงออกมา ดึงออกมา ดังนี้. แม้ข้อนี้ก็เป็นกรรมกรณ์ที่ท่านมิได้กล่าวไว้ในเทวทูตสูตร. บทว่า เวตฺตรณึ ได้แก่ แม่น้ำที่ท่านกล่าวไว้ในเทวทูตสูตรว่าเป็นแม่น้ำด่างใหญ่. ได้ยินว่า แม่น้ำนั้นปรากฏมีน้ำเต็มดุจแม่น้ำคงคา. เมื่อเป็นเช่นนั้น สัตว์นรกทั้งหลายคิดว่าจักอาบ จักดื่ม ย่อมตกไปในแม่น้ำนี้. บทว่า ติณฺหธารํ ขุรธารํ คมมีดโกนอันคมกริบ. ท่านอธิบายว่า สัตว์นรกทั้งหลายย่อมตกไปบนคมมีดโกนอันคมกริบ. ได้ยินว่า ที่ฝั่งทั้งสองทั้งข้างบนข้างล่างของแม่น้ำนั้นปรากฏดุจคมมีดโกนอันคมกริบตั้งอยู่ตามลำดับ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม่น้ำนั้นมีคมมีดโกนอันคมกริบ. อธิบายว่า สัตว์นรกทั้งหลายย่อมเข้าถึง คือติดอยู่กับคมมีดโกนอันคมกริบเพราะ พึงประกอบบทนี้ว่า สามา สวลา ด้วยบทว่า โสณา ข้างหน้า. เป็น สามวณฺณา กมฺมาสวณฺณา จ โสณา ขาทนฺติ ความว่า สุนัขดำและสุนัขด่าง ย่อมรุมกันกัดกิน. บทว่า กาโกลคณา ได้แก่ ฝูงกาดำ. บทว่า ปฏิคิชฺฌา ได้แก่ สัตว์ที่เกิดความอยากด้วยดี. อาจารย์ บทว่า กุลลา ได้แก่ นกตะกรุม. อาจารย์บางคนกล่าวว่า บทว่า กุลลา นี้เป็นชื่อของเหยี่ยว. คำนี้เป็นชื่อของเสนา. บทว่า วายสา ได้แก่ กาไม่ดำ. แม้ข้อนี้ก็เป็นกรรมกรณ์ที่ท่านมิได้กล่าวไว้ในเทวทูตสูตร. ก็แม้บทเหล่านี้จะได้กล่าวไว้ในเทวทูตสูตร ไม่ได้กล่าวไว้ในสูตรนี้ ก็พึงทราบว่าบทเหล่านั้นเป็นอันกล่าวแล้ว เป็นส่วนเบื้องต้นและเบื้องหลังของบทเหล่านั้นนั่นเอง. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงความเป็นไปของนรกนี้ทั้งหมดแล้ว เมื่อจะทรงสั่งสอนจึงตรัสคาถาว่า กิจฺฉา วตายํ ความเป็นไปยากหนอ ดังนี้. บทนั้นมีความว่า ชนผู้ทำกรรมหยาบย่อมเห็นความเป็นไปอันมีกรรมกรณ์ต่างๆ ในนรกนี้ยากหนอ เพราะฉะนั้นเมื่อยังมีชีวิตเหลืออยู่ ยังอยู่ในโลกนี้ต่อไป พึงเป็นผู้ทำกิจ คือ แม้เป็นผู้ทำกิจในชีวิตที่ยังเหลืออยู่นี้ ก็ไม่พึงประมาท คือไม่ถึงความประมาทแม้เพียงครู่เดียว ด้วยการทำความเพียรติดต่อกันไปนั่นเอง. นี้เป็นการพรรณนารวบยอดในสูตรนี้. ก็เพราะบททั้งหลายที่เหลือได้กล่าวไว้แล้วทั้งเข้าใจได้ง่าย เพราะมีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในก่อน และเพราะมีความง่าย ฉะนั้น จึงไม่ต้องพรรณนาไปตามลำดับบท ด้วยประการฉะนี้. จบอรรถกถาโกกาลิกสูตรที่ ๑๐ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อ ปรมัตถโชติกา ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต มหาวรรค โกกาลิกสูตร จบ. |