![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า อุทโย ได้แก่ ชาติ คือ ความเกิดเป็นอาการใหม่แห่งรูปที่เกิดแล้วนั้น มีความเกิดเป็นลักษณะ. บทว่า วโย ได้แก่ ความสิ้นไป ความดับไป มีความแปรปรวนเป็นลักษณะ, การพิจารณาถึงบ่อยๆ ชื่อว่าอนุปัสสนา. อธิบายว่า ได้แก่ อุทยัพพยานุปัสนาญาณ. แม้ในเวทนาเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ไม่แตะต้องชาติชราและมรณะ เพราะความเกิดความเสื่อมอันผู้มีชาติชราและมรณะควรกำหนดถือเอา ไม่แตะต้องชาติชราและมรณะ เพราะไม่มีความเกิดและความเสื่อม แล้วท่านทำไปยาลว่า ชาตํ จกฺขํ ฯเปฯ ชาโต ภโว - จักษุเกิดแล้ว ... ภพเกิดแล้ว ดังนี้. พระโยคาวจรนั้น เมื่อเห็นความเกิดและความเสื่อมของขันธ์ ๕ อย่างนี้ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า การรวมเป็นกองก็ดี การสะสมก็ดี ย่อมไม่มีแก่ขันธ์ที่ยังไม่เกิดก่อนแต่ขันธ์เหล่านี้เกิด. ชื่อว่าการมาโดยรวมเป็นกอง โดยความสะสม ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่เกิดขึ้น, ชื่อว่าการไปสู่ทิศน้อยใหญ่ ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่ดับ, ชื่อว่าการตั้งลงโดยรวมเป็นกอง โดยสะสม โดยเก็บไว้ในที่แห่งหนึ่ง ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่ดับแล้ว. เหมือนนักดีดพิณ เมื่อเขาดีดพิณอยู่ เสียงพิณก็เกิด, มิใช่มีการสะสมไว้ก่อนเกิด, เมื่อเกิดก็ไม่มีการสะสม, การไปสู่ทิศน้อยใหญ่ของเสียงพิณที่ดับไปก็ไม่มี, ดับแล้วไม่ว่าที่ไหนก็ไม่สะสมคงไว้, ที่แท้แล้วพิณก็ดี นักดีดพิณก็ดี อาศัยความพยายามอันเกิดแต่ความพยายามของลูกผู้ชาย ไม่มีแล้วยังมีได้, ครั้นมีแล้วยังเสื่อมได้ฉันใด, ธรรมมีรูปและไม่มีรูปแม้ทั้งหมดก็ฉันนั้น ไม่มีแล้วยังมีได้ ครั้นมีแล้วยังเสื่อมได้ พระโยคาวจรย่อมเห็นด้วยประการฉะนี้แล. พระสารีบุตรครั้นแสดงการเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยสังเขปอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะแสดงโดยพิสดาร จึงถามถึงจำนวนโดยรวมเป็นกองด้วยบทมีอาทิว่า ปญฺ ในบทเหล่านั้นบทว่า อวิชฺชาสมุทยา รูปสมุทฺทโย - เพราะอวิชชาเกิดรูปจึงเกิด ความว่า เมื่อมีอวิชชาดังกล่าวแล้วว่า โมหะในกรรมภพก่อนเป็นอวิชชา ย่อมเกิดรูปในภพนี้. บทว่า ปจฺจยสมุทยฏฺเฐน ความว่า โดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัย. อนึ่ง อวิชชา ตัณหา กรรมเป็นปัจจัยในอดีตเป็นเหตุแห่งปฏิสนธิในภพนี้. และเมื่อยึดถืออวิชชา ตัณหา กรรม ๓ อย่างเหล่านี้ เป็นอันยึดถือสังขารุปาทาน - ความยึดมั่นในสังขารนั่นเอง. บทว่า อาหารสมุทยา - เพราะอาหารเกิด ได้แก่ เพราะกวฬิงการาหารมีกำลังในปัจจัยอันเป็นไป จึงถือเอาอาหารนั่นแล. ก็เมื่อถือเอาอาหารนั้นก็เป็นอันถือเอาแม้อุตุและจิตอันเป็นเหตุแห่งความเป็นไปด้วยเหมือนกัน. บทว่า นิพฺพตฺติลกฺขณํ - มีการเกิดเป็นลักษณะ. ความว่า ท่านกล่าวถึงความเกิดแห่งรูปด้วยสามารถแห่งอัทธา - กาล สันตติและขณะ. อนึ่ง การเกิดนั่นแล ชื่อว่าลักษณะ เพราะเป็นลักษณะแห่งสังขตะ. บทว่า ปญฺจ ลกฺขณานิ - ลักษณะ ๕ ได้แก่ ลักษณะ ๕ เหล่านี้ คือ อวิชชา ตัณหา กรรม อาหารและการเกิด. จริงอยู่ แม้ธรรม ๔ มีอวิชชาเป็นต้น ก็ชื่อว่าลักขณะ เพราะเป็นเครื่องกำหนดความเกิดแห่งรูป. ส่วน นิพฺพตฺติ - การเกิดเป็นลักษณะแห่งสังขตะ ชื่อว่าลักขณะ เพราะเป็นเครื่องกำหนดว่า แม้ความเกิดนั้นก็เป็นสังขตะ. บทว่า อวิชฺชานิโรธา รูปนิโรโธ - เพราะอวิชชาดับ รูปจึงดับ. ความว่า เมื่อดับอวิชชาในภพนี้ เพราะเป็นปัจจัยแห่งภพอนาคตด้วยอรหัตมรรคญาณ รูปอนาคตย่อมไม่เกิด คือดับเพราะไม่มีปัจจัย. บทว่า ปจฺจยนิโรธฏฺเฐน - ด้วยความดับแห่งปัจจัย คือด้วยความที่ปัจจัยดับ. อนึ่ง ในความดับในบทนี้เป็นความดับ อวิชชา ตัณหาและกรรมอันเป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอนาคต. บทว่า อาหารนิโรธา รูปนิโรโธ - เพราะอาหารดับรูปจึงดับ ได้แก่ ความไม่มีรูปอันมีอาหารนั้นเป็นสมุฏฐานย่อมมีได้ ในเพราะความไม่มีกวฬิงการาหาร อันเป็นปัจจัยแห่งความเป็นไป. บทว่า วิปริณามลกฺขณํ - มีความแปรปรวนเป็นลักษณะได้แก่ ความดับแห่งรูปด้วยสามารถอัทธา - กาล สันตติและขณะ, ความดับนั่นแล ท่าน บทว่า ปญฺจ ลกฺขณานิ - ลักษณะ ๕ ในบทนี้ได้แก่ ดับความไม่มี อวิชชา ตัณหา กรรมและอาหาร ๔ , ความแปรปรวน ๑ รวมเป็น ๕. ในเวทนาขันธ์เป็นต้นก็มีนัยนี้. แต่ต่างกันคือ การเห็นความเกิดและความเสื่อม แต่อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า นามรูปไม่แตะต้องการจำแนกอดีตเป็นต้น ในเพราะเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยปัจจัย ๔ แล้วเกิดขึ้นด้วยอวิชชาเป็นต้น ด้วยสามารถความเสมอกันทั้งหมด เพราะเหตุนั้นจึงถือเอาเหตุสักว่าความเกิดขึ้น มิใช่ความเกิด. เพราะอวิชชาเป็นต้นดับ นามรูปจึงดับ เพราะเหตุนั้น จึงถือเอาเหตุสักว่าความไม่เกิด, มิใช่ถือเอาความดับ. นามรูป ได้แก่ พระโยคาวจรย่อมถือเอาความเกิดความดับแห่งขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน ในเพราะการเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยขณะดังนี้. ผู้เจริญวิปัสสนา เมื่อเจริญวิปัสสนาใส่ใจถึงความเกิดและความเสื่อมโดยความเป็นปัจจัยก่อนแล้วสละธรรม ๔ มีอวิชชาเป็นต้น ใน ขณะเจริญวิปัสสนาถือเอาขันธ์ทั้งหลายที่มีความเกิดและความเสื่อมนั่นแล แล้วจึงเห็นความเกิดและความเสื่อมของขันธ์เหล่านั้น. เมื่อผู้เจริญวิปัสสนาอย่างนี้เห็นความเกิดและความเสื่อมโดยพิสดาร โดยปัจจัยและโดยลักษณะว่า ความเกิดแห่งรูปเป็นต้นอย่างนี้, ความเสื่อมอย่างนี้, รูปเป็นต้นเกิดขึ้นอย่างนี้, เสื่อมไปอย่างนี้ ญาณว่า นัยว่าธรรมเหล่านี้ไม่มี แล้วมี มีแล้วเสื่อมดังนี้ เป็นญาณบริสุทธิ์กว่า. ประเภทของสัจจะปฏิจจสมุปปาทนัย และ พระโยคาวจรนั้นย่อมเห็นความเกิดแห่งขันธ์ทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นต้นเกิด และความดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นต้นดับ, นี้เป็นการเห็นความเกิดและความดับโดยปัจจัยของพระโยคาวจรนั้น. อนึ่ง พระโยคาวจร เมื่อเห็นความเกิดเป็นลักษณะ ความแปรปรวนเป็นลักษณะ ชื่อว่าย่อมเห็นความเกิดและความเสื่อมของขันธ์ทั้งหลาย นี้เป็นการเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยขณะของพระโยคาวจรนั้น. จริงอยู่ ความเกิดเป็นลักษณะในขณะเกิดนั่นเอง และความแปรปรวนก็เป็นลักษณะในขณะดับ. สมุทยสัจย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรด้วยการเห็นความเกิดโดยปัจจัยซึ่งเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยส่วนทั้งสอง คือโดยปัจจัยและโดยขณะของพระ อนึ่ง การเห็นความเกิดและความเสื่อมของพระโยคาวจรนั้น มรรคสัจ อนึ่ง ปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม ด้วยการเห็นความเกิดโดยปัจจัยย่อมปรากฏแก่พระ ปฏิจจสมุปบาทเป็นปฏิโลม ด้วยการเห็นความเสื่อมโดยปัจจัยย่อมปรากฏแก่พระ ____________________________ ๑- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๔๔๘ ๒- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๔๕๐ อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่อาศัยกันเกิดขึ้นด้วยการเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยขณะย่อมปรากฏ ด้วยการเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยขณะแก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจลักษณะแห่งสังขตะ. เพราะสังขตธรรมทั้งหลายมีเกิดและเสื่อม, สังขตธรรมเหล่านั้นอาศัยกันเกิดขึ้น. อนึ่ง นัย ๔ คือ เอกัตตนัย - นัยแห่งความเป็นอันเดียวกัน ด้วยการเห็นความเกิดโดยปัจจัย ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้นผู้เข้าใจความขาดไปแห่งสันดานด้วยการสัมพันธ์กันด้วยเหตุผล. ทีนั้น พระโยคาวจรย่อมละอุจเฉททิฏฐิได้เป็นอย่างดี. นานัตตนัย - นัยแห่งความต่างๆ กัน ด้วยการเห็นความเกิดโดยขณะย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจถึงความเกิดแห่งธรรมใหม่ๆ. ทีนั้น พระโยคาวจร อนึ่ง อัพยาปารนัย - นัยแห่งความไม่ขวนขวาย ด้วยการเห็นความเกิดโดยปัจจัย ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจถึงความที่ธรรมทั้งหลายไม่เป็นไปในอำนาจ. ทีนั้น พระโยคา อนึ่ง เอวังธรรมตานัย - นัยอันเป็นธรรมดาอย่างนี้ ด้วยการเห็นความเกิดโดยปัจจัย ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจความเกิดแห่งผลโดยความสมควรแก่ปัจจัย. ทีนั้น พระโยคา อนึ่ง อนัตตลักษณะ ด้วยการเห็นความเกิดโดยปัจจัย ย่อมปรากฏแก่พระโยคา อนิจจลักษณะ ด้วยการเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยปัจจัย ย่อมปรากฏแก่พระโยคา แม้ทุกขลักษณะก็ปรากฏแก่พระโยคา แม้สภาวลักษณะก็ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจถึงการกำหนดความเกิดและความเสื่อม แม้ความเป็นไปชั่วคราวของสังขตลักษณะในสภาวลักษณะก็ย่อมปรากฏแก่พระโยคา สังขารทั้งหลายใหม่เป็นนิจ ย่อมปรากฏแก่ประเภทของสัจจะ ปฏิจจสมุปปาทนัยและลักษณะที่มีความปรากฏแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่เคยเกิดก็เกิด ที่เกิดแล้วก็ดับไปดังนี้. สังขารทั้งหลายมิใช่ใหม่เป็นนิจอย่างเดียว, สังขารทั้งหลายย่อมปรากฏดุจหยาดน้ำค้างในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ดุจฟองน้ำ ดุจรอยไม้ขีดในน้ำ ดุจเมล็ดผักกาดบนปลายเข็ม ดุจฟ้าแลบ ดุจมายา พยับแดด, ความฝัน ลูกไฟ, ล้อรถ, คนธรรพ์, นคร, ต่อมน้ำและต้นกล้วยเป็นต้น หาแก่นสารมิได้ ไม่มีสาระ. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ วิปัสสนาอย่างอ่อนอันชื่อว่าอุทยัพพยานุปัสนาอันพระโยคาวจรนั้นแทงตลอดลักษณะ ๕๐ ถ้วน โดยอาการนี้ว่า ความเสื่อมเป็นธรรมดาย่อมเกิดขึ้น, และพระ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ มีโอภาสเป็นต้น ย่อมเกิดแก่พระ ส่วนพระโยคาวจรผู้ฉลาด ยกวิปัสสนาขึ้นในอุปกิเลสเหล่านั้น สะสางความยุ่งเหยิงคืออุปกิเลสเสีย แล้วกำหนดมรรคคือทางและมิใช่มรรคว่า ธรรมเหล่านี้มิใช่มรรค. ส่วนวิปัสสนาญาณที่ปฏิบัติไปตามวิถี พ้นจากอุปกิเลสเป็นมรรค. ญาณที่รู้ว่าเป็นมรรคและมิใช่มรรคของพระโยคา ก็และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันทำความกำหนดสัจจะ ๔ ด้วยญาณนั้น. อย่างไร? เมื่อมีความเข้าใจนามรูปก็เป็นอันทำความกำหนดทุกขสัจด้วยให้กำหนดนามรูป กล่าวคือทิฏฐิวิสุทธิดังกล่าวแล้ว ด้วยคำว่า ธัมมฐิติญาณ เพราะมีความเข้าใจปัจจัย. การกำหนดสมุทยสัจด้วยความเข้าใจปัจจัยอันได้แก่กังขาวิตรณวิสุทธิ, เป็นอันทำความกำหนดทุกขสัจด้วยการเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยขณะด้วยอุทยัพพยานุปัสนาญาณ, การกำหนดสมุทยสัจด้วยการเห็นความเกิดโดยปัจจัย, การกำหนดนิโรธสัจด้วยการเห็นความเสื่อมโดยปัจจัย, การเห็นความเกิดและความเสื่อมของพระโยคาวจรผู้เห็นแจ้งในมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินี้ โดยกำจัดความหลงในมรรคนั้นว่า นี้คือมรรคเป็นโลกิยะเป็นอันนำความกำหนดมรรคสัจ ด้วยการรับรองมรรคโดยชอบ. ด้วยประการฉะนี้ จึงเป็นอันท่านทำความกำหนดสัจจะ ๔ ด้วยญาณเป็นโลกิยะ. จบอรรถกถาอุทยัพพยญาณนิทเทส ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา อุทยัพพยญาณนิทเทส จบ. |