บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
เมื่อคำว่า ตถาคตสฺส แม้ไม่มีโดยสรูปในอุทเทส ท่านก็กล่าวว่า ตถาคตสฺส เพราะ บทว่า สตฺเต ปสฺสติ - เห็นสัตว์ทั้งหลาย คือชื่อว่าสัตว์ เพราะข้องคือเพราะถูกคล้องด้วยฉันทราคะในรูปเป็นต้น. พระตถาคตทรงเห็นทรงตรวจดูสัตว์เหล่านั้นด้วยจักษุอันเป็นอินทริย บทว่า อปฺปรชกฺเข - ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ นี้มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า อปฺ บทว่า มเหสกฺเข - ผู้มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ. มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า มเหสกฺขา เพราะอรรถว่าสัตว์มีธุลีมีราคะเป็นต้นมากในจักษุคือปัญญา. หรือว่า สัตว์มีธุลีมีราคะเป็นต้นมาก. บทว่า ติกฺขินฺทฺริเย มุทินฺทฺริเย - มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน. มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า ติกฺขินฺทฺริยา คือมีอินทรีย์แก่กล้า เพราะอรรถว่า สัตว์มีอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้นแก่กล้า. ชื่อว่า มุทินฺทฺริยา มีอินทรีย์อ่อน เพราะอรรถว่าสัตว์มีอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้นอ่อน. บทว่า สฺวากาเร ทฺวาการา - มีอาการดี มีอาการชั่ว. ความว่า ชื่อว่า สฺวาการา คือมีอาการดี เพราะอรรถว่า สัตว์มีอาการคือมีส่วน มีศรัทธาเป็นต้นดี. ชื่อว่า ทฺวาการา คือ มีอาการชั่ว เพราะอรรถว่าสัตว์มีอาการคือมีส่วน มีศรัทธาเป็นต้น น่าเกลียด น่าติเตียน. บทว่า สุวิญฺญาปเย ทุวิญฺญาปเย - พึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย พึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก คือ สัตว์เหล่าใดกำหนดเหตุที่กล่าว เป็นผู้สามารถรู้แจ้งได้โดยง่าย สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า สุวิญฺญาปยา. ตรงกันข้ามกับรู้แจ้งได้โดยง่ายนั้น ชื่อว่า ทุวิญฺญาปยา. บทว่า อปฺเปกจฺเจ ปรโลกวชฺชภยทสฺสาวิโน - บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย คือชื่อว่า ปรโลกวชฺชภยทสฺสาวิโน คือมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย เพราะอรรถว่ามีปกติเห็นภัยอื่นหนักในโลกมีขันธโลกเป็นต้น และโทษมีราคะเป็นต้น เพราะเมื่อบางพวกเห็นปรโลกและโทษมีราคะเป็นต้น โดยเป็นภัยในนิทเทสแห่งบทนี้ ท่านจึงไม่กล่าวถึงปรโลกเท่านั้น. พึงถือเอาความอย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านั้นมีปกติเห็นภัยในปรโลก และในโทษมีราคะเป็นต้น. บทว่า อปฺเปกจฺเจ น ปรโลกวชฺชภยทสฺสาวิโน - บางพวกมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยนี้ มีความตรงกันข้ามกับบทที่กล่าวแล้วนั้น. อนึ่ง บทว่า โลโก เพราะอรรถว่าสลายไป. บทว่า วชฺชํ คือโทษ เพราะอรรถว่าควรติเตียน. ด้วยบทประมาณเท่านี้ เป็นอันท่านชี้แจงบทอุทเทสแล้ว. [๒๗๐] พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะทำปฏินิทเทสคือการชี้แจงทวนนิทเทสอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อปฺปรชกฺเข มหารชกฺเข - สัตว์มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ สัตว์มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า สทฺโธ - บุคคลผู้มีศรัทธา เพราะบุคคลมีศรัทธากล่าวคือความก้าวลงในพระรัตนตรัย. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธานั้น ชื่อว่า อปฺปรชกฺโข คือมีธุลีน้อยในปัญญาจักษุ เพราะธุลีคือความไม่มีศรัทธา และธุลีคืออกุศลที่เหลืออันเป็นมูลรากของความไม่ศรัทธาน้อย. ชื่อว่า อสฺสทฺโธ คือ ผู้ไม่มีศรัทธา เพราะไม่มีศรัทธา บุคคลนั้นชื่อว่า มหารชกฺโข คือมีธุลีมากในปัญญาจักษุ เพราะธุลีมีประการดังกล่าวแล้วมาก. ชื่อว่า อารทฺธวีริโย - ผู้ปรารภความเพียร เพราะมีใจปรารภความเพียร, บุคคลผู้ปรารภความเพียรนั้น ชื่อว่า อปฺปรชกฺโข เพราะธุลีคือความเกียจคร้าน และธุลีคืออกุศลที่เหลืออันเป็นมูลรากของความเกียจคร้านน้อย. ชื่อว่า กุสีโท - ผู้เกียจคร้าน เพราะอรรถว่าจมอยู่โดยอาการน่าเกลียด เพราะมีความเพียรเลว. กุสีโท นั่นแหละคือ กุสีโต. บุคคลผู้เกียจคร้านนั้นชื่อว่า มหารชกฺโข เพราะธุลีที่จมมีประการดังกล่าวแล้วมาก. ชื่อ อุปฏฺฐิตสฺสติ - ผู้มีสติตั้งมั่น เพราะมีสติเข้าไปตั้งอารมณ์ไว้มั่น. บุคคลนั้นชื่อว่า อปฺปรชกฺโข เพราะธุลีคือความลุ่มหลง และธุลีคืออกุศลที่เหลืออันเป็นมูลรากของความลุ่มหลงน้อย. ชื่อว่า มุฏฺฐสฺสติ คือ ผู้มีสติหลงลืม เพราะมีสติหลงลืม. บุคคลนั้นชื่อว่า มหารชกฺโข เพราะธุลีมีประการดังกล่าวแล้วมาก. ชื่อว่า สมาหิโต คือ บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น เพราะตั้งไว้เสมอ หรือว่าโดยชอบในอารมณ์ ด้วยอัปปนาสมาธิหรือด้วยอุปจารสมาธิ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สมาหิโต เพราะอรรถว่ามีจิตตั้งมั่น. บุคคลนั้นชื่อว่า อปฺ บุคคลมีจิตไม่ตั้งมั่น ชื่อว่า อสมาหิโต. บุคคลนั้นชื่อว่า มหารชกฺโข เพราะธุลีมีประการดังกล่าวแล้วมาก. ชื่อว่า ปญฺญวา คือ บุคคลผู้มีปัญญา เพราะมีปัญญาเห็นความเกิดและความดับ. บุคคลผู้มีปัญญานั้นชื่อว่า อปฺปรชกฺโข เพราะธุลีคือโมหะ และธุลีคืออกุศลที่เหลืออันเป็นมูลรากของโมหะน้อย. ชื่อว่า ทุปฺปญฺโญ คือ บุคคลผู้มีปัญญาทราม เพราะมีปัญญาทราม เพราะลุ่มหลงด้วยโมหะ. บุคคลนั้นชื่อว่า มหารชกฺโข เพราะมีธุลีมีประการดังกล่าวแล้วมาก. [๒๗๑] บทว่า สทฺโธ ปุคฺคโล ติกฺขินฺทฺริโย - บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นคนมีอินทรีย์แก่กล้า คือมีศรัทธาด้วยศรัทธามีกำลังอันเกิดขึ้นมาก. มีอินทรีย์แก่กล้าด้วย บทว่า อสฺสทฺโธ ปุคฺคโล มุทินฺทฺริโย - บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นคนมีอินทรีย์อ่อน คือไม่มีศรัทธาด้วยความไม่เชื่อเกิดขึ้นมาก. เป็นผู้มีอินทรีย์อ่อนด้วยสัทธินทรีย์มีกำลังน้อยอันเกิดขึ้นในระหว่างๆ . แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้. [๒๗๒] บทว่า สทฺโธ ปุคฺคโล สฺวากาโร - บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มีอาการดี คือมีอาการงดงามด้วยศรัทธานั้นนั่นเอง. บทว่า อสฺสทฺโธ ปุคฺคโล ทฺวากาโร - บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้มีอาการชั่ว คือมีอาการผิดรูปด้วยความเป็นผู้ไม่เชื่อนั้นนั่นเอง. แม้ในคำที่เหลือก็มีนัยนี้. [๒๗๓] บทว่า สุวิญฺญาปโย คือ พึงสามารถให้รู้โดยง่าย. บทว่า ทุวิญฺญาปโย คือ พึงสามารถให้รู้โดยยาก. [๒๗๔] ในบทว่า ปรโลกวชฺชภยทสฺสาวี นี้ พึงทราบความดังต่อไปนี้. เพราะศรัทธาเป็นต้นของผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นความบริสุทธิ์ด้วยดี. ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาอันบริสุทธิ์ด้วยดีเป็นต้น เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธานั้น จึงเป็นผู้มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย. หรือแม้ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาอันบริสุทธิ์ด้วยดีเป็นต้น ก็เป็นผู้มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยด้วยปัญญาอันมีศรัทธานั้นเป็นปัจจัย. เพราะฉะนั้นแหละ ท่านจึงกล่าวธรรม ๔ อย่างมีศรัทธาเป็นต้นว่า ปรโลกวชฺชภยทสฺสาวี - เป็นผู้มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย. [๒๗๕] บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เพื่อจะแสดงโลกและโทษดังกล่าวแล้ว ในบทนี้ว่า ปรโลกวชฺชภยทสฺสาวี จึงกล่าวคำมีอาทิว่า โลโก ดังนี้. ในบทเหล่านั้น ขันธ์ทั้งหลายนั่นเอง ชื่อว่าขันธโลก เพราะอรรถว่ามีอันต้องสลายไป. แม้ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า วิปตฺติภวโลโก - โลกคือภพวิบัติ ได้แก่ อบายโลก. เพราะอบายโลกนั้น เป็นโลกเลว เพราะมีผลไม่น่าปรารถนา จึงชื่อว่าวิบัติ. ชื่อว่าภพ เพราะเกิด. ภพคือความวิบัตินั่นเอง ชื่อว่าภพวิบัติ. โลกคือภพวิบัตินั่นเอง ชื่อว่าโลกคือภพวิบัติ. บทว่า วิปตฺติสมฺภวโลโก - โลกคือสมภพวิบัติ ได้แก่ กรรมอันเข้าถึงอบาย ชื่อว่าสมภพ เพราะเป็นแดนเกิดแห่งผลกรรม. แดนเกิดแห่งวิบัติ ชื่อว่าสมภพวิบัติ. โลกมีแดนเกิดวิบัตินั่นแหละชื่อว่าโลกคือสมภพวิบัติ. บทว่า สมฺปตฺติภวโลโก - โลกคือภพสมบัติ ได้แก่ สุคติโลก. เพราะสุคติโลกนั้นเป็นโลกดี เพราะมีผลน่าปรารถนา จึงชื่อว่าสมบัติ. ชื่อว่าภพ เพราะเกิด. ภพอันเป็นสมบัตินั่นแหละ ชื่อว่าภพสมบัติ. โลกคือแดนเกิดแห่งสมบัตินั้นแหละ ชื่อว่า โลกคือภพสมบัติ. บทว่า สมฺปตฺติสมฺภวโลโก - โลกคือสมภพสมบัติ ได้แก่กรรมอันเข้าถึงสุคติ. ชื่อว่าสมภพ เพราะเป็นแดนเกิดแห่งผลกรรม. แดนเกิดแห่งสมบัติ ชื่อว่าสมภพสมบัติ. โลกคือแดนเกิดแห่งสมบัตินั่นแล ชื่อว่า โลกคือสมภพสมบัติ. บทมีอาทิว่า เอโก โลโก โลก ๑ มีอรรถดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. [๒๗๖] บทว่า วชฺชํ - โทษ ท่านทำเป็นนปุงสกลิงค์ เพราะไม่ได้แสดงด้วยบทว่า อสุโก. บทว่า กิเลสา คือ กิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า ทุจฺจริตา คือ ทุจริตมีปาณาติบาตเป็นต้น. บทว่า อภิสงฺขารา คือ สังขารมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น. บทว่า ภวคามิกมฺมา - กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพ ชื่อว่าภวคามิโน เพราะสัตว์ทั้งหลายไปสู่ภพด้วยอำนาจการให้วิบากของตน. ท่าน บทว่า อิติ เป็นบทแสดงประการดังกล่าวแล้ว. บทว่า อิมสฺมิญฺจ โลเก อิมสฺมิญฺจ วชฺเช - ในโลกนี้และในโทษนี้ คือในโลกและในโทษดังกล่าวแล้ว. บทว่า ติพฺพา ภยสญฺญา - ความสำคัญว่าเป็นภัยอันแรงกล้า คือความสำคัญว่าเป็นภัยมีกำลัง แต่ท่านกล่าวอรรถแห่งพลศัพท์ว่า ติพฺพา. ท่านกล่าวอรรถแห่ง ภย ศัพท์ว่า ภยสญฺญา. เพราะว่าโลกและโทษทั้งสอง ชื่อว่าภัย เพราะเป็นวัตถุแห่งภัย และเพราะเป็นภัยเอง. ความสำคัญว่าภัย ก็ชื่อว่า ภยสญฺญา. บทว่า ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ - ปรากฏแล้ว คือปรากฏเพราะอาศัยภัยนั้นๆ. บทว่า เสยฺยถาปิ อุกฺขิตฺตาสิเต วธเก - เหมือนความสำคัญในศัตรูผู้เงื้อดาบ คือความสำคัญว่าเป็นภัยกล้าแข็งปรากฏในโลกและในโทษ เหมือนความสำคัญว่าเป็นภัยปรากฏในศัตรูผู้เงื้อดาบเพื่อประหารฉะนั้น. บทว่า อิเมหิ ปญฺญาสาย อากาเรหิ - ด้วยอาการ ๕๐ นี้ คือด้วยอาการ ๕๐ ด้วยสามารถแห่งอาการอย่างละ ๕ ในปัญจกะ ๑๐ มีอัปปรชักขปัญจกะเป็นต้นอย่างหนึ่งๆ . บทว่า อิมานิ ปญฺจินฺทฺริยานิ ได้แก่ อินทรีย์ ๕ มีสัทธินทรีย์เป็นต้น. บทว่า ชานาติ คือ พระตถาคตย่อมทรงรู้ด้วยพระปัญญา. บทว่า ปสฺสติ คือ ทรงกระทำดุจเห็นด้วยทิพจักษุ. บทว่า อญฺญาติ ทรงทราบชัด คือทรงทราบด้วยมารยาทแห่งอาการทั้งปวง. บทว่า ปฏิวิชฺฌติ - ทรงแทงตลอด คือทรงทำลายด้วยพระปัญญาด้วยสามารถการเห็นหมดสิ้นมิได้เหลือเป็นเอกเทศ. จบอรรถกถาอินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส จบ. |