บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ว่าด้วยอปรินิปผันนะ ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายบางพวก และเหตุวาทะว่า ทุกข์เท่านั้นเป็นปรินิปผันนะ คือเป็นธรรมที่สำเร็จแล้วหรือเกิดขึ้นแล้ว. ส่วนธรรมที่เหลือ คือขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์เป็นอปรินิปผันนะ คือไม่สำเร็จแล้ว ไม่เกิดขึ้นแล้ว โดยอาศัยพระพุทธพจน์ว่า ก็ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ด้วย ย่อมดับไปด้วย นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ ดังนี้. คำถามของสกวาทีว่า รูปเป็นอปรินิปผันนะหรือ หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า รูปมิใช่ของไม่เที่ยงเป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้ารูปเป็นอปรินิปผันนะไซร้ รูปนั้นก็พึงมิใช่เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. ปรวาที เมื่อไม่เห็นรูปเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ. สกวาทีปฏิเสธลัทธิหนึ่งของปรวาทีนั้น ด้วยคำเป็นต้นว่า รูปเป็นของไม่เที่ยง...มิใช่หรือ? เมื่อจะถามปัญหาที่ ๒ จึงกล่าวคำว่า ทุกข์เท่านั้นเป็นปรินิปผันนะหรือ ดังนี้. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อจะปฏิเสธลัทธิของปรวาทีแม้นั้นอีก จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์...มิใช่หรือ. ในข้อนั้น มีอธิบายว่า สัจจะที่หนึ่งเท่านั้นเป็นทุกข์อย่างเดียวก็หาไม่ ก็ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่เที่ยง ธรรมนั้นก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น ทั้งรูปก็เป็นของไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น รูปแม้นั้นจึงเป็นปรินิปผันนะ เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรกล่าวว่า รูปเป็นอปรินิปผันนะ ทุกข์เท่านั้นเป็นปรินิปผันนะ ดังนี้. การประกอบแม้ในธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้แล. อนึ่ง ในธัมมายตนะและธัมมธาตุทั้งหลาย เว้นพระนิพพานแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่าธรรมที่เหลือทั้งหมดเป็นอนิจจัง. อินทรีย์ทั้งหลายก็เป็นอนิจจังทั้งนั้นแล. รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ ๑. เอกาธิปปายกถา ๒. อรหันตวัณณกถา ๓. อิสสริยกามการิกากถา ๔. ราคปฏิรูปกาทิกถา ๕. อปรินิปผันนกถา. วรรคที่ ๒๓ จบ. ขุททกปัณณาสก์ จบ. ----------------------------------------------------- อุทาน
กถาวัตถุปกรณ์ มี ๕ ปัณณาสก์ คือ :- (๑) มหาปัณณาสก์ (๒) นิยามปัณณาสก์ (๓) อนุสยปัณณาสก์ (๔) นิคคหปัณณาสก์ (๕) ขุททกปัณณาสก์ อันพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระทำพระสูตรให้เป็นมูลตั้งไว้ให้เป็นเครื่องย่ำยีปรับปวาท รุ่งเรืองอยู่ในพระพุทธศาสนา. นิคมคาถา พระชินพุทธเจ้าผู้ฉลาดในกถามรรคทั้งหลาย ทรงแสดงแล้วซึ่งกถาวัตถุปกรณ์ใด การพรรณ ข้าพเจ้าร้อยกรองคัมภีร์นี้ไว้ มีประมาณ ๑๓ ภาณวาร จากจำนวน ๓๕ ภาณวาร เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม เพื่อเป็นแบบแผน ฉะนี้แล. กุศลใดที่ข้าพเจ้าบรรลุแล้ว ถึงพร้อมแล้วมีอยู่ ด้วยอำนาจแห่งกุศลนั้นขอสัตว์โลก คือเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จงรับรสแห่งพระสัทธรรมของพระธรรมราชานั้น เทอญ. ____________________________ ๑- ในโยชนาว่าได้จำนวน ๒๓๐ ประเภท คือในปัณณาสก์ทั้ง ๔ ปัณณาสก์ละ ๕๐ เป็น ๒๐๐ และในวรรคทั้ง ๓ เป็นกถาอีก ๓๐ รวม ๒๓๐ ประเภท. อรรถกถาแห่งกถาวัตถุปกรณ์ จบบริบูรณ์. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๒๓ อปรินิปผันนกถา จบ. |