บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บรรดาบทเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตความที่กุศลเป็นปัจจัย ด้วยคำว่า กุสลํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ ทรงห้ามความเกิดขึ้นแห่งกุศลด้วยคำว่า นกุสโล ธมฺโม อุปฺปชฺชติ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงแสดงวิสัชนาไว้โดยนัยเป็นต้นว่า รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยกุศลขันธ์เกิดขึ้น. วิสัชนานั้นทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงตรวจดูบาลีแล้วกำหนดดูให้ดี ก็วิสัชนาใด เหมือนกับปัจจัยใด มีได้ในปัจจัยใด และวิสัชนาเหล่าใดมีการกำหนดวิธีนับในปัจจัยเหล่าใด ทั้งหมดนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้วในบาลี. เพราะฉะนั้นในอธิการนี้จึงมีเนื้อความอยู่ในบาลีนั่นเอง. ก็ในอธิการนี้ฉันใด แม้ในทุกปัฏฐานเป็นต้นก็ฉันนั้น. นัย ๖ ในธัมมานุโลมปัจจนียปัฏฐาน อันท่านแสดงไว้ด้วยคาถาที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า นัย ๖ ในอนุโลมปัจจนียปัฏฐาน คือติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด ทุกติกปัฏฐาน ติกทุกปัฏฐาน ติกติกปัฏฐานและทุกทุกปัฏฐาน อันลึกซึ้งนัก ดังนี้ เป็นอันข้าพเจ้าแสดงแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ก็ในอธิการนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบอนุโลมปัจจนียปัฏฐาน อันประดับด้วยนัย ๒๔ โดยปริยายหนึ่ง คือในปัฏฐานหนึ่งๆ ว่าด้วยอำนาจของปัจจัยมีอย่างละ ๔ นัย มีอนุโลมนัยเป็นต้น. อรรถกถาอนุโลมปัจจนียปัฏฐาน จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๖ อนุโลมปัจจนียทุกทุกปัฏฐาน สรณทุกเหตุทุกนสรณทุกนเหตุทุกะเป็นต้น จบ. |