ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 5 / 1อ่านอรรถกถา 5 / 67อรรถกถา เล่มที่ 5 ข้อ 71อ่านอรรถกถา 5 / 77อ่านอรรถกถา 5 / 261
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ เภสัชชขันธกะ
เรื่องสุนีธะวัสสการะมหาอำมาตย์

               ว่าด้วยทรงอนุญาตยาคูเป็นต้น               
               บทว่า สุนีธวสฺสการา ได้แก่ พราหมณ์ ๒ คน คือ สุนีธะ ๑ วัสสการะ ๑ เป็นมหาอำมาตย์ของพระเจ้าแผ่นดินมคธ.๑-
____________________________
๑- ดูความพิสดารในมหาปรินิพพานสูตร ที. มหา. ๑๐/๘๕.

               สองบทว่า วชฺชีนํ ปฏิพาหาย มีความว่า เพื่อต้องการตัดทางเจริญแห่งราชสกุลแคว้นวัชชีเสีย.
               บทว่า วตฺถูนิ ได้แก่ ที่ปลูกเรือน.
               หลายบทว่า จิตฺตานิ นมนฺติ นิเวสนานิ มาเปตุํ มีความว่า ได้ยินว่า เทวดาเหล่านั้นสิงในสรีระของชนทั้งหลาย ผู้รู้ทำนายชัยภูมิ แล้วน้อมจิตไปอย่างนั้น.
               ถามว่า เพราะเหตุไร?
               แก้ว่า เพราะเทวดาทั้งหลายนั้นจักกระทำสักการะตามสมควรแก่เราทั้งหลาย.
               บทว่า ตาวตึเสหิ มีความว่า ได้ยินว่า เสียงที่ว่า บัณฑิตทั้งหลาย ชาวดาวดึงส์หมายเอาท้าวสักกเทวราชและพระวิสสุกรรมเฟื่องฟุ้งไปในโลก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตาวตึเสหิ.
               อธิบายว่า สุนีธอมาตย์และวัสสการอมาตย์นั้นราวกับได้หารือเทพเจ้าชาวดาวดึงส์แล้วจึงได้สร้าง.
               บทว่า ยาวตา อริยานํ อายตนํ มีความว่า ชื่อว่าสถานเป็นที่ประชุมแห่งมนุษย์ผู้เป็นอริยะทั้งหลาย มีอยู่เท่าใด.
               บทว่า ยาวตา วณิชฺชปโถ มีความว่า ชื่อว่า สถานเป็นที่ซื้อและขาย ด้วยอำนาจแห่งกองสินค้าที่นำมาแล้วนั่นเทียว ของพ่อค้าทั้งหลาย มีอยู่เท่าใด.
               สองบทว่า อิทํ อคฺคนครํ มีความว่า เมืองปาฏลีบุตรซึ่งเป็นแดนแห่งพระอริยะ เป็นสถานแห่งการค้าขายของมนุษย์เหล่านั้น นี้จักเป็นเมืองยอด.
               บทว่า ปุฏเภทนํ ได้แก่ เป็นสถานที่แก้ห่อสินค้า.
               มีคำอธิบายว่า จักเป็นสถานที่แก้มัดสินค้าทั้งหลาย.
               วินิจฉัยบทว่า อคฺคิโต วา เป็นต้น พึงทราบดังนี้ :-
               วา ศัพท์ ใช้ในสมุจจยัตถะ จริงอยู่ บรรดาส่วนเหล่านั้น อันตรายจักมีแก่ส่วนหนึ่งจากไฟ, แก่ส่วนหนึ่งจากน้ำ, แก่ส่วนหนึ่งจากภายใน คือความแตกแยกแห่งกันและกัน.
               บทว่า อุฬุมฺปํ ได้แก่ ชลพาหนะที่เขาทำตอกลิ่มสลัก เพื่อประโยชน์แก่การข้ามฟาก.
               บทว่า กุลฺลํ ได้แก่ ชลพาหนะที่เขาทำผูกมัดด้วยเถาวัลย์เป็นต้น.
               คำว่า อณฺณว นี้ เป็นชื่อของอุทกสถาน ทั้งลึกทั้งกว้าง ราวโยชน์หนึ่ง โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุดแห่งกำหนดทั้งปวง.
               แม่น้ำ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ในบทว่า สรํ นี้.
               มีคำอธิบายว่า ชนเหล่าใดจะข้ามสระ คือตัณหา ทั้งลึกทั้งกว้าง ชนเหล่านั้นทำสะพาน กล่าวคืออริยมรรค สละคือไม่แตะต้องเลยซึ่งสระน้อยทั้งหลาย จึงข้ามสถานอันลุ่มเต็มด้วยน้ำได้, ก็ชนนี้ แม้ปรารถนาจะข้ามน้ำมีประมาณน้อยนี้ ย่อมผูกแพแล, ส่วนพระพุทธเจ้าและพระพุทธสาวกทั้งหลายเป็นชนผู้มีปัญญา เว้นแพเสียทีเดียว ก็ข้ามได้.
               บทว่า อนนุโพธา มีความว่า เพราะไม่ตรัสรู้.
               บทว่า สนฺธาวิตํ มีความว่า แล่นไปแล้ว ด้วยอำนาจที่ออกจากภพไปสู่ภพ.
               บทว่า สํสริตํ มีความว่า ท่องเที่ยวไปแล้ว ด้วยอำนาจการไปบ่อยๆ.
               สองบทว่า มมญฺเจว ตุมฺหากญฺจ คือ เราด้วย ท่านทั้งหลายด้วย.
               อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความในคำว่า สนฺธาวิตํ สํสริตํ นี้ อย่างนี้ว่า ความแล่นไป ความท่องเที่ยวไป ได้มีแล้วแก่เราด้วย แก่ท่านทั้งหลายด้วย.
               บทว่า สํสิตํ ได้แก่ ท่องเที่ยว.
               สองบทว่า ภวเนตฺตี สมูหตา มีความว่า เชือกคือตัณหาเป็นเหตุไป คือแล่นจากภพ (ไปสู่ภพ) อันเราทั้งหลายกำจัด คือตัด ได้แก่ทำให้เป็นไปไม่ได้ด้วยดีแล้ว.

               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ เภสัชชขันธกะ เรื่องสุนีธะวัสสการะมหาอำมาตย์ จบ.
อ่านอรรถกถา 5 / 1อ่านอรรถกถา 5 / 67อรรถกถา เล่มที่ 5 ข้อ 71อ่านอรรถกถา 5 / 77อ่านอรรถกถา 5 / 261
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=5&A=1778&Z=1861
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4006
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4006
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๕  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :