ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 6 / 1อ่านอรรถกถา 6 / 105อรรถกถา เล่มที่ 6 ข้อ 129อ่านอรรถกถา 6 / 159อ่านอรรถกถา 6 / 682
อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๑ กัมมขันธกะ
ปฏิสารณียกรรมที่ ๔ เรื่องพระสุธรรมเป็นต้น

               ปฏิสารณียกรรม               
               ก็แลวินิจฉัยในเรื่องพระสุธรรม พึงทราบดังนี้ :-
               บทว่า อนปโลเกตฺวา ได้แก่ ไม่บอกเล่า.
               บทว่า เอตทโวจ มีความว่า พระสุธรรมถามว่า คหบดีขาทนียโภชนียะนั้น ท่านจัดเอาไว้เพื่อพระเถระทั้งหลายหรือ? ดังนี้แล้วให้เปิดทั้งหมดเห็นแล้ว จึงได้กล่าวคำนี้.
               คำว่า เอกา จ โข อิธ นตฺถิ, ยทิทํ ติลสงฺคุฬิกา มีความว่า ขนมนี้ใด เขาเรียกกันว่า ขนมแดกงา, ขนมนั้นไม่มี.
               ได้ยินว่า ขนมแปลกชนิดหนึ่ง ได้มีในต้นวงศ์ของคหบดีนั้น. เพราะเหตุนั้น พระเถระประสงค์จะด่าคหบดีนั้นกระทบชาติ จึงกล่าวอย่างนั้น.
               คำว่า ยเทว กิญฺจิ เป็นต้น มีความว่า เมื่อพุทธวจนะมีมากอย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้าสุธรรมละพุทธวจนะเป็นอันมากซึ่งเป็นรัตนะเสีย กล่าวคำว่าขนมแดกงาซึ่งเป็นคำหยาบนั่นแล.
               คหบดีแสดงเนื้อความนี้ ด้วยอุทาหรณ์เรื่องลูกไก่ว่า ลูกไก่นั้นไม่ได้ขันอย่างกา ไม่ได้ขันอย่างไก่ฉันใด, ท่านไม่ได้กล่าวคำของภิกษุ ไม่ได้กล่าวคำของคฤหัสถ์ฉันนั้น.
               ติกะทั้งหลาย มีคำว่า อสมฺมุขา กตํ เป็นต้น มีประการดังกล่าวแล้วนั่นแล. ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ไม่เหมือนกับภิกษุรูปก่อนๆ.
               บรรดาองค์เหล่านั้น มีคำว่า คิหีนํ อลาภาย เป็นต้นความว่า คฤหัสถ์ทั้งหลายจะไม่ได้ลาภด้วยประการใด, เมื่อภิกษุขวนขวายคือ พยายามด้วยประการนั้น ชื่อว่าขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภ. ในอนัตถะเป็นต้นก็นัยนี้.
               บรรดาคำเหล่านั้น ความเสียประโยชน์ ชื่อ อนัตถะ.
               บทว่า อนตฺถาย ได้แก่ เพื่อความเสียประโยชน์.
               ความอยู่ในที่นั้นไม่ได้ ชื่อว่าความอยู่ไม่ได้.
               ข้อว่า คิหีนํ พุทฺธสฺส อวณฺณํ มีความว่า กล่าวติพระพุทธเจ้าในสำนักคฤหัสถ์.
               ข้อว่า ธมฺมิกํ ปฏิสฺสวํ น สจฺจาเปติ มีความว่า ความรับจะเป็นจริงได้ด้วยประการใด, เธอไม่ทำด้วยประการนั้น ; คือรับการจำพรรษาแล้วไม่ไป หรือไม่ทำกรรมเห็นปานนั้นอย่างอื่น.
               คำว่า ปญฺจนฺนํ ภิกฺขเว เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อแสดงข้อที่ภิกษุผู้ควรแก่กรรม แม้ด้วยองค์อันเดียว.
               คำที่เหลือในเรื่องนี้มีความตื้น และมีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมทั้งนั้น.

               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๑ กัมมขันธกะ ปฏิสารณียกรรมที่ ๔ เรื่องพระสุธรรมเป็นต้น จบ.
อ่านอรรถกถา 6 / 1อ่านอรรถกถา 6 / 105อรรถกถา เล่มที่ 6 ข้อ 129อ่านอรรถกถา 6 / 159อ่านอรรถกถา 6 / 682
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=6&A=1500&Z=1773
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=5722
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=5722
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :