บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ในโปฏฐปาทสูตรนั้น มีคำพรรณนาตามลำดับบทดังต่อไปนี้. บทว่า สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ความว่า ประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีให้สร้างในสวนของกุมารพระนามว่า เชต ใกล้กรุงสาวัตถี. บทว่า โปฏฺฐปาโท ปริพฺพาชโก ความว่า ฉันนปริพาชก ชื่อโปฏฐปาทะ. ได้ยินว่า ในกาลเป็นคฤหัสถ์เขาเป็นพราหมณ์มหาศาล เห็นโทษในกามทั้งหลายแล้ว ละกองโภคทรัพย์จำนวนสี่สิบโกฏิ บวชเป็นคณาจารย์ของเดียรถีย์ทั้งหลาย. พราหมณ์และบรรพชิตทั้งหลายย่อมโต้ตอบลัทธิในสถานที่นั่น เพราะฉะนั้น สถานที่นั้นจึงชื่อว่า สมยปฺปวาทกํ สถานที่สำหรับโต้ตอบลัทธิ. นัยว่า พราหมณ์ทั้งหลายมีจังกีพราหมณ์ตารุกขพราหมณ์ และโปกขรสาติพราหมณ์เป็นต้น และบรรพชิตทั้งหลายมีนิคัณฐปริพาชก และอเจลกปริพาชกเป็นต้น ประชุมกันในสถานที่นั้นแล้ว โต้ตอบ กล่าวแสดงลัทธิของตนๆ ในสถานที่นั้น เพราะฉะนั้น อารามนั้น จึงเรียกว่า สมยปฺปวาทโก. อารามนั้นเทียว ชื่อว่า แถวป่าไม้มะพลับ เพราะเป็นอารามที่แนวต้นมะพลับคือแถวต้นมะพลับล้อมรอบ. ก็เพราะในอารามนั้นในชั้นแรก มีศาลาเพียงหลังเดียวเท่านั้น ภายหลังชนทั้งหลายอาศัยปริพาชกผู้มีบุญมากสร้างศาลาหลายหลัง เพราะฉะนั้น อารามนั้นจึงเรียกว่า เอกสาลโก ด้วยอำนาจแห่งชื่อที่ได้มา เพราะอาศัยศาลาหลังเดียวนั้นเอง. ก็อารามนั้นสมบูรณ์ด้วยดอกและผล เป็นสวนพระนางมัลลิการาชเทวีของพระเจ้าปเสนทิโกศลสร้างถวาย จึงถึงอันนับว่า มัลลิกายาราม. ในสถานที่สำหรับโต้ตอบลัทธิ แถวป่าไม้มะพลับ มีศาลาที่พักหลังเดียว เป็นอารามของพระนางมัลลิกานั้น. บทว่า ปฏิวสติ ความว่า พักอยู่เพราะเป็นสถานที่อยู่ผาสุก. ต่อมาวันหนึ่ง ในปัจจุสสมัยใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่พระสัพพัญญุตญาณ ทรงพิจารณาดูโลก ทรงเห็นปริพาชกเข้ามาภายในข่ายคือพระญาณ ทรงใคร่ครวญว่า โปฏฐปาทะนี้ย่อมปรากฏในข่ายคือญาณของเรา จักมีอะไรหนอดังนี้ ทรงเห็นว่า ในวันนี้ เราจักไปในอารามนั้น ลำดับนั้น โปฏ แต่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระแต่เช้าตรู่ ทรงครอง ท่านหมายถึงอรรถนี้ จึงกล่าวว่า อถโข ภควา เป็นต้น บทว่า เอตทโหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปใกล้ประตูพระนครแล้ว ทรงมองดูพระอาทิตย์ด้วยอำนาจความพอพระฤทัยของพระองค์ ทรงเห็นว่า เวลายังเช้านัก จึงมีพระดำรินั่น. บทว่า ยนฺนูนาหํ ความว่า เป็นนิบาตเหมือนแสดงความสงสัย. ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีความสงสัย. แต่นั้นเป็นส่วนเบื้องต้นของพระ บทว่า อุนฺนาทินิยา ความว่า อันดังลั่น. ก็เสียงนั้นซึ่งบันลืออย่างนี้ ชื่อว่าสูง ด้วยสามารถไปในส่วนเบื้องสูง ชื่อว่าเสียงดัง ด้วยสามารถกระจายไปในทิศทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ด้วยเสียงอันดังลั่น. จริงอยู่ เจติยวัตร โพธิวัตร อาจริยวัตร อุปัชฌายวัตร หรือ โยนิโสมนสิการ อันชื่อว่าควรลุกขึ้นทำแต่เช้า ย่อมไม่มีแก่ปริพาชกเหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น ปริพาชกเหล่านั้นลุกขึ้นแต่เช้าตรู่แล้วนั่งในที่มีแสงแดดอ่อน ปรารภถึงอวัยวะ มีมือและเท้าเป็นต้นของกันและกันอย่างนี้ว่า มือของคนนี้งาม เท้าของคนนี้งาม หรือปรารภถึงผิวพรรณของหญิงชาย เด็กชายและเด็กหญิงทั้งหลาย หรือปรารภถึงวัตถุอื่นที่มีความยินดีในกามและความยินดีในภพเป็นต้น ตั้งถ้อยคำขึ้นแล้ว กล่าวติรัจฉานกถาต่างๆ มีพูดถึงพระเจ้าแผ่นดินเป็นต้นโดยลำดับ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กล่าวติรัจฉานกถาต่างๆ ด้วยเสียงอันดังลั่นดังนี้. ต่อแต่นั้น โปฏฐปาทปริพาชกมองดูปริพาชกพวกนั้นคิดว่า ปริพาชกเหล่านี้ไม่เคารพต่อกันและกันเลย และพวกเราก็จะเป็นเหมือนหิ่งห้อยเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น จำเดิมแต่พระสมณโคดมเสด็จมาปรากฏ แม้ลาภสักการของพวกเราก็เสื่อมไป ก็ถ้าสมณโคดม สาวกของพระโคดม หรือคฤหัสถ์ผู้บำรุงสมณโคดมนั้น จะพึงมาสู่สถานที่นี้ไซร้ ก็จักมีความน่าละอายเหลือเกิน อนึ่ง โทษของบริษัทแล จะตกอยู่กับหัวหน้าบริษัทเท่านั้น ดังนี้ เหลียวมองรอบๆ ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โปฏฐปาทปริพาชกได้เห็นแล้วแล ฯลฯ ปริพาชกเหล่านั้นได้พากันนิ่ง. ในบทเหล่านั้น บทว่า สณฺฐเปสิ อธิบายว่า ให้สำเหนียกถึงโทษแห่งเสียงนั้น คือให้เงียบเสียง พักเสียงนั้นโดยประการที่เสียงจะต้องเงียบอย่างดี. เพื่อปกปิดโทษของเสียงนั้น เหมือนอย่างบุรุษเข้ามาสู่ท่ามกลางบริษัท ย่อมนุ่งผ้าเรียบร้อย ห่มผ้าเรียบร้อย เช็ดถูสถานที่สกปรกด้วยธุลีเพื่อปกปิดโทษฉะนั้น. บทว่า อปฺปสทฺทา โภนฺโต ความว่า เมื่อให้สำเหนียก ก็ให้เงียบเสียงนั้นโดยประการที่เสียงจะเงียบอย่างดี. บทว่า อปฺปสทฺทกาโม ความว่า โปรดเสียงเบา คนหนึ่งนั่ง คนหนึ่งยืน ย่อมไม่ให้เป็นไปด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่. บทว่า อุปสงฺกมิตพฺพํ มณฺเญยฺย ความว่า สำคัญว่าจะเสด็จเข้ามาในสถานนี้. ถามว่า ก็เพราะเหตุอะไร โปฏฐปาทปริพาชกนั่นจึงหวังการเสด็จเข้ามาของพระผู้มีพระภาคเจ้า. แก้ว่า เพราะปรารถนาความเจริญแก่ตน. ได้ยินว่า ปริพาชกทั้งหลาย ครั้นพระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธเจ้ามาสู่สำนักของตนแล้ว ย่อมยกตนขึ้นในสำนักของผู้บำรุงทั้งหลายของตน ย่อมตั้งตนไว้ในที่สูงว่า ในวันนี้สมณโคดมเสด็จมาสู่สำนักของพวกเรา พระสารีบุตรก็มา ท่านไม่ไปยังสำนักของใครเลย ท่านทั้งหลายพึงดูความยิ่งใหญ่ของพวกเรา ดังนี้. ย่อมพยายามเพื่อคบอุปัฏฐากทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย. ได้ยินว่า ปริพาชกเหล่านั้นเห็นอุปัฏฐากทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ครูของพวกท่านจะเป็นพระโคดมก็ตาม จะเป็นสาวกของพระโคดมก็ตาม เป็นผู้เจริญย่อมมาสู่สำนักของพวกเรา พวกเราพร้อมเพรียงกัน แต่ท่านทั้งหลายไม่อยากมองดูพวกเราเลย ไม่ทำ อนึ่ง มนุษย์บางพวกคิดว่า แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไปสู่สำนักของปริพาชกเหล่านั้นได้ ก็จะไปสู่สำนักของพวกเราได้มิใช่หรือ จำเดิมแต่นั้น ครั้นเห็นพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้วก็ไม่ประมาท. บทว่า ตุณฺหี อเหสํ ความว่า พวกปริพาชกเหล่านั้นล้อมโปฏฐปาทะแล้ว พากันนั่งเงียบ. บทว่า สฺวาคตํ ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นการดี. ท่านแสดงไว้ว่า ก็ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา ก็มีความยินดี ครั้นเสด็จไปก็เศร้าโศก. ถามว่า เพราะเหตุอะไร โปฏฐปาทะจึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเวลานานแล แม้ในกาลก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าเคยเสด็จไปในที่นั้นหรือ. ตอบว่า ไม่เคยเสด็จไป. ก็มนุษย์ทั้งหลายย่อมทักทายด้วยคำน่ารักเป็นต้นอย่างนี้ว่า ท่านจะไปไหน ไปไหนมา ท่านหลงทางหรือ ท่านมานานแล้วหรือ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น โปฏฐปาทะจึงทูลอย่างนั้น. ก็ครั้นทูลอย่างนี้แล้ว เป็นผู้ไม่กระด้างด้วยมานะนั่ง แต่ลุกจากอาสนะแล้วทําการต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยว่า เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไป แล้วไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ หรือไม่ทําการอ่อนน้อม เป็นการได้ยาก. เพราะเหตุอะไร. เพราะความเป็นผู้มีตระกูลสูง. ปริพาชกแม้นี้ตบอาสนะที่ตนนั่งแล้ว เมื่อทูลเชื้อเชิญ พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยอาสนะได้ทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเถิด พระเจ้าข้า นี่อาสนะได้แต่งไว้แล้ว ดังนี้. บทว่า อนฺตรากถา วิปฺปกตา ความว่า ทรงเปิดเผยอย่างพระสัพพัญญูว่า ตั้ง อภิสญฺญานิโรธกถาวณฺณนา บทว่า ติฏฺฐเตสา ภนฺเต ความว่า ปริพาชกแสดงว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักประสงค์จะฟังไซร้ กถานั่นจะทรงสดับภายหลังก็ได้ไม่ยาก ก็ประโยชน์ด้วยกถานี้ไม่มีแก่พวกข้าพระองค์ แต่พวกข้าพระองค์ได้การเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จะทูลถามถึงเหตุการณ์ดีอย่างอื่นเทียว. ต่อแต่นั้น เมื่อจะทูลถามเหตุการณ์นั้น จึงทูลคำเป็นต้นว่า ปุริมานิ ภนฺเต ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า โกตูหลสาลายํ ความว่า ศาลาแต่ละหลังชื่อว่าศาลาอลหม่าน ไม่มี แต่สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายผู้ถือลัทธิต่างๆ กล่าวถ้อยคำชนิดต่างๆ ให้เป็นไปในศาลาใด ศาลานั้นเรียกว่า โกตูหลสาลา เพราะเป็นสถานที่เกิดความอลหม่านสับสนแก่ชนมากว่า คนนี้กล่าวอะไร คนนี้กล่าวอะไร. คำว่า อภิ ในบทว่า อภิสญฺญานิโรเธ นั้นเป็นเพียงอุปสรรค. บทว่า สญฺญานิโรเธ ความว่า กถาเกิดขึ้นแล้วในจิตต ได้ยินว่า ในกาลใดพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงชาดกหรือทรงบัญญัติสิกขาบท ในกาลนั้น เสียงสรรเสริญเกียรติคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็แผ่กระจายไปทั่วชมพูทวีป. พวกเดียรถีย์ได้ฟังเกียรติคุณนั้นแล้ว ก็กระทำกริยาตรงข้ามกับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า นัยว่า พระโคดมผู้เจริญทรงแสดงบุรพจริยา พวกเราไม่สามารถเพื่อแสดงบุรพจริยาบางอย่างเช่นนั้นบ้างหรือ แสดงลัทธิระหว่างภพหนึ่ง บัญญัติสิกขาบทบางอย่างแก่สาวกของตนว่า พระโคดมผู้เจริญได้บัญญัติสิกขาบทแล้ว พวกเราจะไม่สามารถบัญญัติหรือ. ก็ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในท่ามกลางบริษัททั้ง ๘ ทรงแสดงนิโรธกถา. พวกเดียรถีย์ไดัฟังนิโรธกถานั้นแล้วพากันประชุมกล่าวว่า นัยว่า พระโคดมผู้เจริญทรงแสดงกถาชื่อนิโรธ แม้พวกเราก็จักแสดง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กถาได้เกิดแล้วในอภิสัญญานิโรธ ดังนี้. บทว่า ตเตฺรกจฺเจ ความว่า ในบรรดาสมณพราหมณ์นั้น บางพวก. ก็ในเรื่องนี้ บรรพชิตในลัทธิเดียรถีย์ภายนอกคนแรกบางคนเห็นโทษในความเป็นไปของจิต เจริญสมาบัติว่า ความไม่มีจิตสงบแล้ว จุติจากโลกนี้ไปตกอยู่ในอสัญญีภพสิ้น ๕๐๐ กัลป์ ก็มาเกิดในโลกนี้อีก เมื่อไม่เห็นความเกิดขึ้นของสัญญาและเหตุในความดับของคนนั้น จึงกล่าวว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย. คนที่สองปฏิเสธคำกล่าวนั้น ถือเอาความที่มิคสิงคิดาบสไม่มีสัญญา จึงกล่าวว่า มาสู่บ้าง ไปปราศบ้าง. นัยว่า มิคสิงคิดาบสมีตบะร้อน มีตบะกล้า มีอินทรีย์ตั้งมั่นอย่างยิ่ง. ด้วยเดชแห่งศีลของดาบสนั้น ทำให้วิมานของท้าวสักกะร้อนได้. ท้าวสักกะเทวราชทรงคิดว่า ดาบสต้องการตำแหน่งท้าวสักกะหนอแล จึงส่งเทพกัญญานามว่า อลัมพุสา ด้วยเทพบัญชาว่า เธอจงมาทำลายตบะของดาบส. เทพกัญญานั้นไปแล้วในที่นั้น. ดาบสเห็นเทพกัญญาในวันแรก ก็หลีกไปสู่บรรณศาลา. ในวันที่สอง ดาบสถูกนิวรณ์คือกามฉันทะกลุ้มรุม จึงจับมือเทพกัญญานั้น. ดาบสนั้นถูกต้องทิพยสัมผัสนั้น ก็สิ้นสัญญา ต่อเมื่อล่วงไปสามปี จึงกลับได้สัญญา. เขาเห็นมิคสิงคิดาบสนั้นแล้วมีความเห็นแน่วแน่สำคัญว่า ออกจากนิโรธโดยล่วงไปสามปี จึงกล่าวอย่างนั้น. คนที่สามปฏิเสธคำกล่าวของคนที่สองนั้น มุ่งถึงการประกอบอาถรรพณ์ จึงกล่าวว่าสวมใส่บ้าง พรากออกบ้าง ดังนี้. ได้ยินว่า พวกอาถรรพณ์ประกอบอาถรรพณ์ กระทำสัตว์แสดงเหมือนศีรษะขาดมือขาดและเหมือนตายแล้ว. เขาเห็นสัตว์นั้นเป็นปกติอีก จึงมีความเห็นแน่วแน่ว่า สัตว์นี้ออกจากนิโรธ จึงกล่าวอย่างนั้น. คนที่สี่คัดค้านคนที่สามมุ่งถึงการเมาและการหลับใหลของนางยักษ์ทาสีทั้งหลาย จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ดูก่อนผู้เจริญ ก็เทวดาทั้งหลายมีอยู่ ดังนี้. ได้ยินว่า พวกนางยักษ์ทาสีทำการบำรุงเทวดาตลอดทั้งคืน ฟ้อนรำ ร้องเพลงในวันอรุณขึ้น ก็ดื่มสุราถาดหนึ่ง กลิ้งไปมาหลับแล้วตื่นในกลางวัน. เขาเห็นเหตุการณ์นั้นก็มีความเห็นแน่วแน่สำคัญว่า ในเวลาหลับประกอบด้วยนิโรธ ในเวลาตื่นออกจากนิโรธ ดังนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น. ก็โปฏฐปาทปริพาชกนี้เป็นชาติบัณฑิต ด้วยเหตุนั้น เขามีความเดือดร้อนเพราะฟังกถานี้ กถาของพวกนั้นเป็นเหมือนถ้อยคำของแพะใบ้ ย่อมถึงนิโรธสี่นั่น และธรรมดานิโรธนี้พึงมีอย่างเดียว ไม่พึงมีมาก แม้นิโรธนั้นพึงเป็นอย่างอื่นอย่างเดียวเท่านั้น ก็เขาอันคนอื่นไม่อาจจะให้รู้ได้ นอกจากพระสัพพัญญู จึงระลึกถึงพระทศพลเท่านั้นว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักมีในที่นี้ ก็จักกระทำนิโรธให้ปรากฏในวันนี้ทีเดียว เหมือนตามประทีปตั้งพันดวงให้โชติช่วงชัชวาลว่า นี้นิโรธ นี้มิใช่นิโรธ เพราะฉะนั้น จึงทูลคำเป็นต้นว่า สติของข้าพระองค์นั้น พระเจ้าข้า. ในบทเหล่านั้น คำว่า อโห นูน ทั้งสองเป็นนิบาตลงในอรรถว่าระลึกถึง. ด้วยเหตุนั้น เขาเมื่อระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงมีสติอย่างนี้ว่า น่าเลื่อมใสจริงหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้า น่าเลื่อมใสจริงหนอ พระสุคต. ในบทว่า โย อิเมสํ นั่นมีอธิบายอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงฉลาดดี คือฉลาดด้วยดี เฉียบแหลม เฉลียวฉลาดในนิโรธธรรมเหล่านั้น โอหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นพึงตรัส โอหนอ พระสุคตพระองค์นั้นพึงตรัส. บทว่า ปกตญฺญู ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าทรงรู้ปกติ คือสภาพ เพราะความที่พระองค์ทรงฉลาดเป็นเนืองนิตย์ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงชื่อว่า ปกตัญญู ทรงรู้ช่ำชอง. ปริพาชกเมื่อจะทูลขอว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ไม่รู้ พระองค์ทรงรู้ โปรดตรัสบอกแก่ข้าพระองค์เถิด จึงกล่าวคำนี้ว่า ก็อภิสัญญานิโรธเป็นไฉนหนอ พระเจ้าข้า. อเหตุกสญฺญุปฺปาทนิโรธกถาวณฺณนา ในบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร ความว่า ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น. บทว่า อาทิโต ว เตสํ อปรทฺธํ ความว่า ความเห็นของพวกนั้นผิดแต่ต้นทีเดียว. ท่านแสดงว่า ผิดพลาดในท่ามกลางเรือนทีเดียว. เหตุก็ดี ปัจจัยก็ดี ในบทนี้ว่า สเหตุสปฺปจฺจยา เป็นชื่อของเหตุการณ์นั้นเทียว. ความว่า มีการณ์. ก็เมื่อจะทรงแสดงการณ์นั้น จึงตรัสว่า สิกฺขา เอกา. ในบทเหล่านั้น บทว่า สิกฺขา เอกา สญฺญา อุปฺปชฺชติ ความว่า สัญญาบางอย่างย่อมเกิดขึ้นเพราะศึกษา. บทว่า กา จ สิกฺขาติ ภควา อโวจ ความว่า ก็สิกขานั้นเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสด้วยอำนาจการถาม เพราะมีพระประสงค์จะให้สิกขานั้นพิสดาร. อนึ่ง เพราะสิกขามีสามประการคือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงสิกขาเหล่านั้น จึงทรงตั้งตันติธรรมจำเดิมแต่การเสด็จอุบัติของพระพุทธเจ้า เพื่อทรงแสดงนิโรธเกิดขึ้นอย่างมีเหตุเพราะสัญญา จึงตรัสว่าดูก่อนโปฏฐปาทะ พระตถาคตอุบัติขึ้นโลกนี้เป็นต้น. บรรดาสิกขาทั้งสามนั้น สิกขาสองอย่างนี้คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา เท่านั้น มาโดยย่อ. ส่วนสิกขาที่สามพึงทราบว่ามาแล้ว เพราะเป็นสิกขาที่เกี่ยวเนื่องด้วยอำนาจแห่งสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะในพระบาลีนี้ว่า ดูก่อนโปฏฐปาทะ ธรรมโดยส่วนเดียวอันเราแสดงแล้วว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้แล. บทว่า กามสญฺญา ได้แก่ราคะอันระคนด้วยกามคุณห้าบ้าง กามราคะอันเกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอบ้าง. ในสองอย่างนั้น ราคะอันระคนด้วยกามคุณห้า ย่อมถึงการกำจัดด้วยอนาคามิมรรค ส่วนกามราคะอันเกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอย่อมเป็นไปในฐานะนี้ เพราะฉะนั้น บทว่า ตสฺส ยา ปุริมา กามสญฺญา จึงมีอรรถว่า สัญญาใดของภิกษุนั้นผู้ประกอบพร้อมด้วยปฐมฌาน พึงเรียกว่า สัญญาเกี่ยวด้วยกามมีในก่อน เพราะเป็นเช่นกับกามสัญญาที่เคยเกิดในกาลก่อน สัญญานั้นย่อมดับ และที่ไม่เกิดแล้ว ก็ย่อมไม่เกิด. บทว่า วิเวกชปีติสุขสุขุมสจฺจสญฺญา ตสฺมึ สมเย โหติ ความว่า สัญญาอันละเอียด กล่าวคือมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกในสมัยปฐมฌานนั้นเป็นสัจจะ คือมีจริง. อนึ่ง สัญญานั้นอันละเอียดด้วยสามารถละองค์อันหยาบมีกามฉันทะเป็นต้น และชื่อว่าเป็นสัจจะ เพราะเป็นของมีจริง เพราะฉะนั้น สัญญานั้นจึงเป็นสัญญาในสัจจะอันละเอียด สัญญาในสัจจะอันละเอียดที่สัมปยุตด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิเวกปีติสุขสุขุมสัจจสัญญา. สัญญานั้นของภิกษุมีอยู่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้น จึงชื่อว่ามีสัญญาในสัจจะอันละเอียดมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก พึงเห็นอรรถในบทนั้นเพียงเท่านี้. ในบททั้งปวงก็มีนัยเช่นนั้น. ในบทว่า เอวํปิ สิกฺขา นั้น ความว่า เพราะภิกษุเข้าถึงและอธิษฐานปฐมฌานศึกษาอยู่ เพราะฉะนั้น ปฐมฌานนั้นเรียกว่า สิกขา เพราะเป็นกิจที่ควรศึกษาอย่างนี้ สัญญาในสัจจะอันละเอียดมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกบางอย่าง ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ด้วยปฐมฌานกล่าวคือสิกขาแม้นั้น กามสัญญาบางอย่างย่อมดับ อย่างนี้. บทว่า อยํ สิกฺขาติ ภควา อโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นี้ก็เป็นสิกขาอย่างหนึ่งคือ ปฐมฌาน. พึงเห็นเนื้อความในบททั้งปวง โดยทำนองนั้น. ก็เพราะการพิจารณาโดยองค์แห่งสมาบัติที่แปดย่อมมีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ย่อมไม่มีแก่สาวกทั้งหลาย แม้เช่นกับพระสารีบุตร แต่การพิจารณาโดยรวมกลุ่มเท่านั้นย่อมมีแก่สาวกทั้งหลาย และการพิจารณาโดยองค์อย่างนี้ว่า สัญญา สัญญา นี้ได้ยกขึ้นแล้ว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนโปฏฐปาทะ เพราะภิกษุ ฯลฯ ถึงยอดสัญญา ดังนี้ เพื่อทรงแสดงอากิญจัญญายตนสัญญาอันยอดเยี่ยมแท้ แล้วแสดงสัญญานั้นอีกว่ายอดสัญญา. ในบทเหล่านั้น บทว่า ยโตโข โปฏฺฐปาท ภิกขุ ความว่า ดูก่อนโปฏฐปาทะ ภิกษุชื่อใด. บทว่า อิธ สกสญฺญี โหติ ความว่า ภิกษุในพระศาสนานี้มีสกสัญญา. อีกประการหนึ่ง บาลีก็เป็นอย่างนี้ ความว่า ภิกษุมีสัญญาด้วยสัญญา ในปฐมฌานของตน. บทว่า โส ตโต อมุตฺร ตโต อมุตฺร ความว่า ภิกษุนั้นมีสกสัญญาด้วยฌานสัญญานั้นๆ อย่างนี้ คือออกจากปฐมฌานนั้นแล้ว มีสัญญาในทุติยฌานโน้น ออกจากทุติยฌานนั้นแล้ว มีสัญญาในตติยฌานโน้น โดยลำดับไปถึงยอดสัญญา. อากิญจัญญายตนะ เรียกว่าสัญญัคคะยอดสัญญา. เพราะเหตุอะไร. เพราะเป็นองค์ที่สุดแห่งสมาบัติที่มีหน้าที่ทำกิจอันเป็นโลกีย์. ก็ภิกษุตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว ย่อมเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง นิโรธสมาบัติบ้าง. อากิญจัญญายตนสัญญานั้นเรียกว่า ยอดสัญญา เพราะเป็นองค์ที่สุดแห่งสมาบัติที่มีหน้าที่ทำกิจอันเป็นโลกีย์ ด้วยประการฉะนี้. ความว่า พระภิกษุถึงคือบรรลุยอดสัญญานั้น. บัดนี้ เพื่อทรงแสดงอภิสัญญานิโรธ จึงตรัสว่า เมื่อเธอตั้งอยู่ในยอดสัญญาเป็นต้น. ในบทเหล่านั้นความว่า ภิกษุเข้าถึงฌานในสองบทว่า เราพึงจำนง เราพึงมุ่งหวัง ชื่อว่าย่อมคิด คือให้สำเร็จบ่อยๆ. ภิกษุกระทำความใคร่ เพื่อประโยชน์แก่สมาบัติชั้นสูงขึ้นไป ชื่อว่า พึงมุ่งหวัง. บทว่า อิมา จ เม สญฺญา นิรุชฺเฌยฺยุํ ความว่า อากิญจัญญายตนสัญญานี้ พึงดับ. บทว่า อญฺญา จ โอฬาริกา ความว่า และภวังคสัญญา อันหยาบอย่างอื่นพึงเกิดขึ้น. ในบทนี้ว่า เธอจึงไม่จำนงด้วยทั้งไม่มุ่งหวังด้วย ภิกษุนั้นเมื่อจำนง ชื่อว่าไม่จำนง เมื่อมุ่งหวัง ชื่อว่าไม่มุ่งหวังแน่แท้ การพิจารณาโดยผูกใจว่า เราออกจากอากิญจัญญายตนแล้ว เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตน ตั้งอยู่ชั่ววาระจิตหนึ่งสอง ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ แต่ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่นิโรธสมาบัติชั้นสูงเท่านั้น. เนื้อความนี้นั้น พึงแสดงด้วยการมองดูเรือนของบุตร. ได้ยินว่า พระเถระถามภิกษุหนุ่มผู้ไปโดยท่ามกลางเรือนของบิดาแล้ว นำเอาโภชนะอันประณีตจากเรือนของบุตรในภายหลังมาสู่อาสนศาลาว่า บิณฑบาตซึ่งน่าพอใจอันเธอนำมาจากที่ไหน. เธอจึงบอกเรือนที่ได้โภชนะว่าจากเรือนคนโน้น. ก็เธอไปแล้วก็ดี มาแล้วก็ดี โดยท่ามกลางเรือนบิดาใด แม้ความผูกใจของเธอในท่ามกลางเรือนนั้น ย่อมไม่มี. ในเรื่องนั้น พึงเห็นอากิญจัญญายตนสมาบัติ เหมือนอาสนศาลา. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเหมือนเรือนของบิดา นิโรธสมาบัติเหมือนเรือนของบุตร การที่ไม่พิจารณาโดยแยบคายว่า เราออกจากอากิญจัญญายตนแล้ว เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนจักตั้งอยู่ชั่ววาระจิตหนึ่งสองแล้วมนสิการ เพื่อประโยชน์แก่นิโรธสมาบัติชั้นสูงเท่านั้น เปรียบเหมือนการยืนอยู่ในอาสนศาลา ไม่สนใจถึงเรือนของบิดาแล้วบอกเรือนของบุตรฉะนั้น. ภิกษุนั้น เมื่อจำนงก็ชื่อว่าย่อมไม่จำนง เมื่อมุ่งหวังก็ชื่อว่าย่อมไม่มุ่งหวัง ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ตา เจว สญฺญา ความว่า ฌานสัญญานั้นย่อมดับ. บทว่า อญฺญา จ ความว่า ทั้งภวังคสัญญาอย่างหยาบอื่น ย่อมไม่เกิดขึ้น. บทว่า โส นิโรธํ ผุสติ ความว่า ภิกษุนั้นปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมถึง คือย่อมได้ ย่อมได้รับสัญญาเวทยิตนิโรธ. คำว่า อภิ ในบทว่า อนุปุพฺพาภิสญฺญานิโรธสมฺปชานสมาปตฺตนั้น เป็นเพียงอุปสรรค. บทว่า สมฺปชาน ได้กล่าวไว้ในระหว่างนิโรธบท. ก็ในบทว่า สมฺปชานสญฺญานิโรธสมาปตฺติ นั้นมีเนื้อความตามลำดับดังนี้. แม้ในบทนั้น บทว่า สมฺปชานสญฺญานิโรธสมาปตฺติ มีอรรถพิเศษอย่างนี้ว่า สัญญานิโรธสมาบัติในที่สุด ย่อมมีแก่ภิกษุผู้รู้ตัวอยู่ หรือแก่ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตรู้ตัวอยู่. บัดนี้ ท่านที่อยู่ในที่นี้ พึงแสดงนิโรธสมาบัติกถา. ก็นิโรธสมาบัติกถานี้นั้น ได้แสดงไว้แล้วในหัวข้อว่าด้วยอานิสงส์แห่งการเจริญปัญญา ในวิสุทธิมรรคโดยอาการทั้งปวง. เพราะฉะนั้น พึงถือเอาจากที่กล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิโรธกถาแก่โปฏฐปาทปริพาชกอย่างนี้แล้ว ต่อมาเพื่อให้โปฏฐปาทปริพาชกนั้นรับรู้ถึงกถาเช่นนั้นไม่มีในที่อื่น จึงตรัสว่า เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนเป็นต้น. ฝ่ายปริพาชกเมื่อจะทูลรับรู้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในวันนี้ นอก ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงอนุญาตแก่ปริพาชกนั้นว่า เธอจงรับไว้ด้วยดีเถิด จึงตรัสว่า อย่างนั้น โปฏฐปาทะ. ครั้งนั้น ปริพาชกคิดว่า อากิญจัญญายตนะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ายอดสัญญา อากิญจัญญายตนะเท่านั้นหนอแล เป็นยอดสัญญา หรือว่า ยังมียอดสัญญาแม้ในสมาบัติที่เหลืออีก เมื่อจะทูลถามอรรถนั้น จึงทูลว่า อย่างเดียวเท่านั้นหรือหนอแล เป็นต้น. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้คำถามของปริพาชกนั้นแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุถูปิ ได้แก่ มากก็มี. บทว่า ยถา ยถา โข โปฏฺฐปาท นิโรธํ ผุสติ ความว่า ด้วยกสิณใดๆ ในบรรดากสิณทั้งหลายมีปฐวีกสิณเป็นต้น หรือด้วยฌานใดๆ บรรดาฌานทั้งหลายมีปฐมฌานเป็นต้น. ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ถ้าภิกษุเข้าถึงปฐวีกสิณสมาบัติด้วยปฐวีกสิณเป็นเหตุเพียงครั้งเดียว ย่อมถึงสัญญานิโรธอันก่อน ยอดสัญญาก็มีอันเดียว ถ้าเข้าถึงสองครั้ง สามครั้ง ร้อยครั้ง พันครั้ง หรือแสนครั้ง ก็ย่อมถึงสัญญานิโรธอันก่อน ยอดสัญญาก็มีถึงแสน. ในกสิณที่เหลือทั้งหลายก็มีนัยเช่นเดียวกัน. แม้ในฌานทั้งหลาย ถ้าเข้าถึงสัญญานิโรธอันก่อนด้วยปฐมฌานเป็นเหตุเพียงครั้งเดียว ยอดสัญญาก็มีอย่างเดียว ถ้าเข้าถึงสัญญานิโรธอันก่อนสองครั้ง สามครั้ง ร้อยครั้ง พันครั้ง หรือแสนครั้ง ยอดสัญญาก็จะมีถึงแสน. ในฌานสมาบัติที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้. ยอดสัญญาย่อมมีหนึ่ง ด้วยอำนาจการเข้าถึงเพียงครั้งเดียว หรือเพราะสงเคราะห์วารแม้ทั้งปวงด้วยลักษณะแห่งการรู้จำ. ยอดสัญญาย่อมมีมากด้วยสามารถการเข้าถึงบ่อยๆ. บทว่า สญฺญา นุโข ภนฺเต ความว่า ปริพาชกทูลถามว่า สัญญาของภิกษุผู้เข้าถึงนิโรธ ย่อมเกิดขึ้นก่อนหรือพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่ปริพาชกนั้นว่า สัญญาแลเกิดก่อน โปฏฐปาทะ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สญฺญา ได้แก่ฌานสัญญา. บทว่า ญาณํ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ. อีกนัย. บทว่า สญฺญา ได้แก่ วิปัสสนา. บทว่า ญาณํ ได้แก่ มรรคสัญญา. อีกนัย บทว่า สญฺญา ได้แก่ มรรคสัญญา. บทว่า ญาณํ ได้แก่ ผลญาณ. ก็พระมหาสิวเถระผู้ทรงไตรปิฎกกล่าวว่า ภิกษุเหล่านี้พูดอะไรกัน โปฏฐปาทะได้ทูลถามนิโรธกะพระผู้มีพระภาคเจ้ามาแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทูลถามถึงการออกจากนิโรธ จึงทูลว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อภิกษุออกจากนิโรธ อรหัตตผลสัญญาเกิดก่อน หรือว่าปัจจเวกขณญาณเกิดก่อน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ปริพาชกนั้นว่า ผลสัญญาเกิดก่อน ปัจจเวกขณญาณเกิดทีหลัง เพราะฉะนั้น สัญญาแลเกิดก่อน โปฏฐปาทะ ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า สญฺญุปฺปาทา ความว่า ความเกิดขึ้นแห่ง บัดนี้ สุกรบ้านถูกให้อาบในน้ำหอม ลูบไล้ด้วยเครื่องหอม ประดับประดาพวงมาลา แม้ยกให้นอนบนที่นอนอันเป็นสิริ ก็ไม่ได้ความสุข ปล่อยให้ไปสู่สถานคูถโดยเร็ว ย่อมได้ความสุขฉันใด ปริพาชกก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าให้อาบ ลูบไล้ ประดับประดาด้วยเทศนาที่ประกอบด้วยไตรลักษณ์อันละเอียดสุขุมบ้าง ยกขึ้นสู่ที่นอนอันเป็นสิริคือนิโรธกถา เมื่อไม่ได้ความสุขในนิโรธกถานั้น ถือเอาลัทธิของตนเช่นเดียวกับสถานคูถ เมื่อจะทูลอรรถนั้นเทียว จึงทูลว่า พระเจ้าข้า สัญญาหนอแลเป็นตนของบุรุษ ดังนี้เป็นต้น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือมติเล็กน้อยของปริพาชกนั้น มีพระประสงค์จะพยากรณ์ จึงตรัสว่า ก็เธอปรารถนาตนอย่างไร เป็นต้น. โดยที่ปริพาชกนั้น เป็นผู้มีลัทธิอย่างนี้ว่า ตนไม่มีรูป จึงคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฉลาดดีในการแสดงพระองค์คงไม่กำจัดลัทธิของเราตั้งแต่ต้นเทียว เมื่อจะนำลัทธิของตน จึงทูลว่า อันหยาบแลเป็นต้น. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงโทษในลัทธินั้นแก่ปริพาชกนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ก็ตนของเธอหยาบ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ สนฺตํ ความว่า ครั้นเมื่อเป็นอย่างนั้น. จริงอยู่ คำนั้นเป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่งในบทนี้ว่า ครั้นเมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเธอปรารถนาตนมีอรรถดังนี้. ท่านกล่าวว่า ก็เพราะความที่ขันธ์ ๔ เกิดพร้อมกับดับพร้อมกัน สัญญาใดเกิด สัญญานั้นดับ ก็เพราะอาศัยกันและกัน สัญญาอื่นเกิด และสัญญาอื่นดับ. บัดนี้ ปริพาชกเมื่อจะแสดงลัทธิอื่น จึงกล่าวคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาตนอันสำเร็จด้วยใจแล ดังนี้เป็นต้น ครั้นแม้ในลัทธินั้นให้โทษแล้ว ถือลัทธิอื่น ละลัทธิอื่น เมื่อจะกล่าวลัทธิของตนในบัดนี้ จึงทูลว่า ไม่มีรูปแล ดังนี้เป็นต้น เหมือนคนบ้าถือสัญญาอื่น สละสัญญาอื่นตราบเท่าที่สัญญาของเขาไม่ตั้งมั่น แต่จะกล่าวคำที่ควรกล่าวในกาลที่มีสัญญาตั้งมั่น. ในลัทธิแม้นั้น เพราะเขาปรารถนาความเกิดและความดับแห่งสัญญา แต่สำคัญตนว่าเที่ยง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงโทษแก่ปริพาชกอย่างนั้น จึงตรัสว่า ครั้นเป็นอย่างนั้น เป็นต้น. ลำดับนั้น ปริพาชกไม่รู้ตนต่างๆ นั้นแม้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพราะความที่ตนถูกความเห็นผิดครอบงำ จึงทูลว่า ก็ข้าพระองค์อาจทราบได้หรือไม่ว่า สัญญาเป็นตนของบุรุษ หรือสัญญาก็อย่างหนึ่ง ตนก็อย่างหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น. ลำดับนั้น เพราะปริพาชกนั้นแม้เห็นอยู่ซึ่งความเกิดและความดับแห่งสัญญา จึงสำคัญตน อันสำเร็จด้วยสัญญาเป็นของเที่ยงทีเดียว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า รู้ได้ยาก เป็นต้นแก่ปริพาชกนั้น. ในบทนั้น เนื้อความโดยย่อดังนี้. เธอมีทิฏฐิเป็นอย่างอื่น มีขันติเป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีทัสนะเป็นไปโดยประการอื่น และทัสนะอย่างอื่น ควรแก่เธอ และพอใจแก่เธอ มีความพยายามในลัทธิอื่น มีอาจารย์ในลัทธิอื่น เพราะความที่ประกอบความขวนขวายปฏิบัติอย่างอื่น คือความเป็นอาจารย์ในลัทธิเดียรถีย์อย่างอื่น ด้วยเหตุนั้น ข้อที่ว่า สัญญาเป็นตนของบุรุษ หรือสัญญาก็อย่างหนึ่ง ตนก็อย่างหนึ่ง ดังนั้นนั่น อันเธอผู้มีทิฏฐิอย่างอื่นมีขันติเป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความพยายามในลัทธิอื่น มีอาจารย์ในลัทธิอื่น รู้ได้ยากนัก. ลำดับนั้น ปริพาชกคิดว่า สัญญาเป็นตนของบุรุษ หรือว่า สัญญาเป็นอย่างอื่น เราจักทูลถามถึงความที่ตนนั้นเป็นของเที่ยงเป็นต้นนั่น จึงทูลอีกว่า กึ ปน ภนฺเต เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลโก ความว่า ปริพาชกกล่าวหมายถึงตน. บทว่า น เหตํ โปฏฺฐปาท อตฺถสญฺหิตํ ความว่า ดูก่อนโปฏฐปาทะ ข้อนั่นอิงทิฏฐิ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ในโลกนี้หรือในโลกอื่น ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ตนและประโยชน์คนอื่น. บทว่า น ธมฺมสญฺหิตํ ความว่า ไม่ประกอบด้วยโลกุตตรธรรมเก้า. บทว่า น อาทิพฺรหฺมจริยกํ ความว่า ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ในศาสนา กล่าวคือไตรสิกขา ทั้งไม่เป็นอธิสีลสิกขาด้วย. บทว่า น นิพฺพิทาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความเบื่อหน่ายในสังสารวัฏ. บทว่า น วิราคาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งการสำรอกวัฏ. บทว่า น นิโรธาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งการกระทำการดับวัฏ. บทว่า น อุปสมาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการสงบระงับวัฏ. บทว่า น อภิญฺญาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อรู้แจ้งซึ่งวัฏ คือ เพื่อกระทำให้ประจักษ์. บทว่า น สมฺโพธาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การรู้ชอบซึ่งวัฏ. บทว่า น นิพฺพานาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อกระทำให้ประจักษ์ ซึ่งอมตมหานิพพาน. ในบทว่า นี้ทุกข์ เป็นต้น มีอรรถว่า ขันธ์ห้าอันเป็นไปในภูมิสาม เว้นตัณหา เราพยากรณ์ว่าทุกข์. ตัณหาอันมีขันธ์ห้านั้นเป็นปัจจัย เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์นั้น เราพยากรณ์ว่าทุกขสมุทัย. ความไม่เป็นไปแห่งขันธ์และตัณหาทั้งสองนั้น เราพยากรณ์ว่า ทุกขนิโรธ. มรรคมีองค์แปดอันประเสริฐ เราพยากรณ์ว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงดำริว่า ชื่อว่าความปรากฏแห่งมรรคหรือการกระทำให้แจ้งซึ่งผล ไม่มีแก่ปริพาชกนี้ และเป็นเวลาภิกษาจารของเราแล้ว จึงทรงนิ่งเสีย. ฝ่ายปริพาชกรู้พระอาการนั้นเหมือนจะทูลบอกถึงการเสด็จไปของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลว่า เอวเมตํ เป็นต้น. บทว่า วาจาย สนฺนิปโตทเกน ความว่า ด้วยปฏักคือ ถ้อยคำ. บทว่า สญฺชมฺภริมภํสุ ความว่า ได้ทำการเสียดแทงโปฏฐปาทปริพาชกโดยรอบ คือกระทบ บทว่า ภูตํ ความว่า มีอยู่โดยสภาพ. บทว่า ตจฺฉํ ตถํ เป็นไวพจน์ของบทนั้นแล. บทว่า ธมฺมฏฺฐิตตํ ความว่า สภาพตั้งอยู่ในโลกุตตรธรรมเก้า. บทว่า ธมฺมนิยามตํ ความว่า แน่นอนถูกต้องตามทำนองคลองโลกุตตร จิตฺตหตฺถิสาริปุตฺตโปฏฺฐปาทวตฺถุวณฺณนา ได้ยินว่า ในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ยังมีสหายสองคนพร้อมเพรียงกันสาธยายร่วมกัน. ในสหายทั้งสองนั้น สหายคนหนึ่งไม่ความยินดี ยังจิตให้เกิดขึ้นในความเป็นคฤหัสถ์ จึงกล่าวแก่สหายอีกคน. สหายคนหนึ่งนั้นแสดงโทษในความเป็นคฤหัสถ์และอานิสงส์แห่งบรรพชา สั่งสอนเธอ. สหายคนแรกนั้นฟังสหายอีกคนนั้นแล้วยินดีในวันหนึ่งอีก ครั้นจิตเช่นนั้นเกิดขึ้นแล้ว จึงบอกกะเพื่อนว่า ท่านผู้มีอายุ จิตเห็นปานนั้นเกิดขึ้นแก่ผม ผมจักให้บาตรและจีวรนี้แก่ท่าน. สหายอีกคนนั้น เพราะมีความโลภในบาตรและจีวร จึงแสดงอานิสงส์ในความเป็นคฤหัสถ์ แสดงโทษแห่งบรรพชาอย่างเดียว. ครั้งนั้น เพราะความที่เขาฟังเพื่อนแล้วเป็นคฤหัสถ์ จิตก็เบื่อหน่ายยินดีในบรรพชาอย่างเดียว. เธอนั้นได้สึกถึงหกครั้งในบัดนี้ เพราะความที่เธอแสดงอานิสงส์ในความเป็นคฤหัสถ์แก่ภิกษุผู้มีศีล ในกาลนั้นแล้วบวชในครั้งที่ ๗ ได้โต้แย้งสอดขึ้นในระหว่างที่พระมหาโมคคัลลานะและพระมหาโกฏฐิตเถระกล่าวอภิธรรมกถา. ลำดับนั้น พระมหาโกฏฐิตเถระจึงได้รุกรานติเตียนเธอ. เธอเมื่อไม่อาจเพื่อดำรงอยู่ในวาทะที่มหาสาวกกล่าวได้จึงได้สึกเป็นฆราวาส. ก็เธอผู้นี้เป็นเพื่อนคฤหัสถ์ของโปฏฐปาทปริพาชก เพราะฉะนั้น จึงสึกไปสู่สำนักของโปฏฐปาทปริพาชกโดยล่วงไปสองสามวัน. ต่อมา โปฏฐปาทะนั้นเห็นเขาแล้ว จึงพูดว่า แน่ะเพื่อน ท่านทำอะไร ท่านจึงหลีกออกจากศาสนาของพระศาสดาเห็นปานนี้ จงมา ท่านสมควรบวชในบัดนี้ พาเขาไปสู่สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงกล่าวว่า จิตตหัตถีสารีบุตรและโปฏฐปาทปริพาชก ดังนี้. บทว่า อนฺธา ความว่า เพราะความที่จักษุคือปัญญาไม่มี. ชื่อว่าไม่มีจักษุ เพราะไม่มีจักษุคือปัญญานั้น. บทว่า ตฺวญฺเจว เนสํ เอโก จกฺขุมา ความว่า มีจักษุคือปัญญาสักว่ารู้สุภาษิตและทุพภาสิต. บทว่า เอกํสิกา ความว่า ส่วนหนึ่ง. บทว่า ปญฺญตฺตา ความว่า ตั้งแล้ว. บทว่า อเนกํสิกา ความว่า ไม่ใช่ส่วนเดียว. อธิบายว่า ไม่ได้ตรัสว่าเที่ยง หรือว่าไม่เที่ยงโดยส่วนเดียว. เอกํสิกธมฺมวณฺณนา ในบทเหล่านั้น บทนี้ว่า เอกนฺตสุขํ โลกํ ชานํ ปสฺสํ ความว่า ท่านทั้งหลาย เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ว่า ในทิศตะวันออก โลกมีสุขโดยส่วนเดียว หรือในทิศใดทิศหนึ่ง บรรดาทิศทั้งหลายมีทิศตะวันตกเป็นต้นอยู่เถิด วัตถุทั้งหลายมีทรวดทรงแห่งร่างกายเป็นต้นของมนุษย์ทั้งหลายในโลกนั้น ท่านทั้งหลายเคยเห็นแล้ว. บทว่า อปฺปาฏิหิรีกตํ ความว่า ภาษิต ไร้ผล คือเว้นจากการแจ้งให้ทราบ ท่าน บทว่า ชนปทกลฺยาณี ความว่า ไม่เป็นเช่นกับหญิงทั้งหลายอื่นที่มีผิวพรรณทรวดทรงลีลาอากัปกิริยาเป็นต้นในชนบท. ตโยอตฺตปฏิลาภวณฺณนา ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตปฏฺลาโภ ความว่า การกลับได้อัตตภาพ. ก็ในบทว่า อตฺตปฏฺลาโภ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงภพ ๓ ด้วยการกลับได้อัตตภาพ ๓ อย่าง. ทรงแสดงกามภพตั้งแต่อวีจิ มีปรนิมมิตวสวัสดีเป็นที่สุดด้วยการกลับได้อัตตภาพที่หยาบ. ทรงแสดงรูปภพตั้งแต่ชั้นปฐมฌาน ถึงอกนิฏฐพรหมโลกเป็นที่สุด ด้วยการกลับได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ. ทรงแสดงอรูปภพตั้งแต่อากาสานัญจายตนพรหมโลกมีเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมโลกเป็นที่สุด ด้วยการกลับได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป. อกุศลจิตตุปบาทสิบสองอย่าง ชื่อว่าสังกิเลสธรรม. สมถวิปัสสนา ชื่อว่าโวทานิยธรรม. บทว่า ปญฺญาปาริปูรึ เวปุลฺลตฺตํ ความว่า ซึ่งความบริบูรณ์และความไพบูลย์แห่งมรรคปัญญาและผลปัญญา. บทว่า ปามุชฺชํ ได้แก่ ปีติอย่างอ่อน. บทว่า ปีติ ได้แก่ ความยินดีมีกำลัง ท่านกล่าวอย่างไร. ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ในบทที่ท่านกล่าวว่า กระทำแจ้งด้วยอภิญญาด้วยตนเอง จักเข้าถึงอยู่นั้น เมื่อภิกษุนั้นอยู่อย่างนี้ ก็จักมีความปราโมทย์ ปีติ ความสงบใจและกาย สติดำรงดี อุดมญาณและอยู่อย่างสุข และในบรรดาการอยู่ทั้งปวง การอยู่อย่างนี้นั้นเทียว สมควรกล่าวว่าเป็นสุข คือสงบแล้ว มีความหวานอย่างยิ่ง. บรรดาฌานเหล่านั้น ในปฐมฌาน ย่อมได้ธรรมแม้หกอย่างมีความปราโมทย์เป็นต้น. ในทุติยฌาน ความปราโมทย์กล่าวคือ ปีติอย่างอ่อน ย่อมเป็นไป ย่อมได้ธรรมห้าอย่างที่เหลือ. ในตติยฌาน แม้ปีติย่อมเป็นไป ย่อมได้ธรรมสี่อย่างที่เหลือ. ในจตุตถฌานก็เหมือนกัน. ก็ในฌานเหล่านี้ ท่านกล่าวฌานที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนาบริสุทธิ์เท่านั้นไว้ในสัมปสาทสูตร. กล่าววิปัสสนาพร้อมกับมรรคสี่ในปาสาทิกสูตร. กล่าวผลสมาบัติอันเกี่ยวกับจตุตถฌานในทสุตตรสูตร. ผลสมาบัติเกี่ยวกับทุติยฌานทำปราโมทย์ให้เป็นไวพจน์ของปีติ พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้แล้วในโปฏฐปาทสูตรนี้. วา ศัพท์ในบทนี้ว่า อยํ วา โส เป็นอรรถลงในการทำให้แจ้ง. เราให้แจ่มแจ้งแล้วประกาศแล้วว่า นี้นั้น พึงพยากรณ์. ความว่า สมณพราหมณ์เหล่าอื่น บทว่า สปฺปาฏิหิรีกตํ ความว่า ภาษิตจะมีการแจ้งให้ทราบ คือเป็นที่นำออกจากทุกข์. บทว่า โมโฆ โหติ ความว่า เป็นของเปล่า. อธิบายว่า การได้อัตตภาพนั้น ย่อมไม่มีในสมัยนั้น. บทว่า สจฺโจ โหติ ความว่า เป็นของมีจริง. อธิบายว่า การได้อัตตภาพนั้นเทียว เป็นของจริงในสมัยนั้น. ก็ในข้อนี้ จิตต์บุตรควาญช้างนี้แสดงการได้อัตตภาพ ๓ อย่างเพราะความที่ตนไม่เป็นสัพพัญญู จึงไม่สามารถยกขึ้นอ้างว่าธรรมดา การได้อัตตภาพนั่นเป็นเพียงบัญญัติ จึงกล่าวเลี่ยงว่า การได้อัตตภาพเท่านั้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะแสดงแก่จิตต์บุตรควาญช้างนั้นว่า ก็ในข้อนี้ ธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น การได้อัตตภาพนั้นเป็นเพียงสักว่าชื่อ ครั้นธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นนั้นๆ มีอยู่ โวหารมีรูปปานนี้ ก็ย่อมมี เพื่อทรงจับเอาถ้อยคำของจิตต์บุตรควาญช้างนั่นแหละ เลี่ยงตรัสด้วยอำนาจแห่งนามบัญญัติจึงตรัสเป็นต้นว่า ดูก่อนจิตต์ ในสมัยใดๆ ก็ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว เพื่อจะสอบถามนำไป จึงตรัสอีกว่า ถ้าสมณ ในบทเหล่านั้น บทว่า โย เม อโหสิ ความว่า การได้อัตตภาพที่เป็นอดีต๑- ของข้าพระองค์เป็นจริงในสมัยนั้น. ในบทว่า การได้อัตตภาพที่เป็นอนาคตเป็นโมฆะ ที่เป็นปัจจุบันก็เป็นโมฆะนั้น จิตต์บุตรควาญช้างแสดงเนื้อความนี้เพียงเท่านี้ว่า ธรรม ____________________________ ๑- ที. สี. เล่ม ๙/ข้อ ๓๓๑ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงเปรียบเทียบพยากรณ์ของพระองค์กับพยากรณ์ของจิตต์บุตรควาญช้างนั้น จึงตรัสว่า เอวเมว โข จิตฺต ดังนี้เป็นต้น เมื่อจะทรงแสดงอรรถนี้โดยอุปมาอีก จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ จิตฺต ควา ขีรํ เป็นต้น. ในบทนั้น มีเนื้อความโดยย่อดังนี้ นมสดมีจากโค นมส้มเป็นต้นมีจากนมสดเป็นต้น ในข้อนี้ สมัยใดยังเป็นนมสดอยู่ สมัยนั้นก็ไม่ถึงซึ่งอันนับ คือ นิรุตติ์ นาม โวหารว่าเป็นนมส้ม หรือเป็นเนยใสเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะเหตุอะไร เพราะไม่มีธรรมทั้งหลายที่ได้โวหารเป็นต้นว่านมส้ม แต่สมัยนั้นถึงซึ่งอันนับว่าเป็นนมสดอย่างเดียว เพราะเหตุไร เพราะมีธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นอันนับคือ นิรุตติ์ นาม โวหารว่า นมสด. ในบททั้งปวงก็นัยนั้น. บทว่า อิมา โข จิตฺต ความว่า ดูก่อนจิตต์ การได้อัตตภาพอันหยาบ การได้อัตตภาพอันสำเร็จแต่ใจ และการได้อัตตภาพอันไม่มีรูป เหล่านี้แล เป็นโลกสัญญา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการได้อัตตภาพ ๓ อย่างเบื้องต่ำอย่างนี้ว่า เหล่านั้นเป็นเพียงชื่อในโลก เป็นเพียงสัญญา เหล่านั้นเป็นเพียงภาษาในโลก เป็นเพียงแนวคำพูด เป็นเพียงโวหาร เป็นเพียงนามบัญญัติ ดังนี้แล้ว บัดนี้จึงตรัสว่า นั้นทั้งหมด เป็นเพียงโวหาร. เพราะเหตุอะไร. เพราะโดยปรมัตถ์ไม่มีสัตว์ โลกนั้นสูญ ว่างเปล่า. ก็กถาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีสองอย่างคือ สัมมติกถาและปรมัตถกถา. ในกถาทั้งสองอย่างนั้น กถาว่า สัตว์ คน เทวดา พรหมเป็นต้น ชื่อว่าสัมมติกถา. กถาว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน สัมมัปปธานเป็นต้น ชื่อว่าปรมัตถกถา. ในกถาเหล่านั้น ผู้ใด ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สัตว์ คน เทวดาหรือพรหม ย่อมสามารถเพื่อรู้แจ้ง เพื่อแทงตลอด เพื่อนำออกจากทุกข์ เพื่อถือเอาซึ่งการจับธง คือพระอรหัตด้วยสัมมติเทศนา พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะตรัสว่าสัตว์ คน เทวดา หรือว่าพรหม เป็นเบื้องต้นแก่ผู้นั้น. ผู้ใดฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้นว่า อนิจจัง หรือทุกขัง ด้วยปรมัตถ แต่โดยปกติ เมื่อทรงแสดงปรมัตถกถาก่อนเทียว เทศนาก็จะมีอาการหยาบ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแสดงสัมมติกถาก่อนแล้ว จึงทรงแสดงปรมัตถ โบราณจารย์กล่าวคาถาไว้ว่า พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เมื่อจะตรัสก็ตรัสสัจจะ ๒ อย่างคือ สัมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะ จะไม่ได้สัจจะที่ ๓ สังเกตวจนะเป็นสัจจะ เป็นเหตุแห่งโลกสัมมติ ปรมัตถวจนะเป็นสัจจะ เป็นลักษณะมีจริงแห่งธรรมทั้งหลายดังนี้. บทว่า ยาหิ ตถาคโต โวหรติ อปรามสนฺโต ความว่า พระตถาคตทรงประมวลเทศนาว่า ชื่อว่าไม่ทรงเกี่ยวข้อง เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ ตรัสด้วยโลกสมัญญา ด้วยโลกนิรุตติ ทรงจบเทศนาด้วยยอดคือพระอรหัต. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล. โปฏฐปาทสุตตวัณณนาในทีฆนิกายอรรถกถาชื่อสุมังคลวิลาสินี จบเพียงเท่านี้. จบโปฏฐปาทสูตรที่ ๙ ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค โปฏฐปาทสูตร จบ. |