![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ได้ยินว่า อำมาตย์ผู้นั้นมีอุปการะเป็นอันมากแก่พระราชา ได้เป็นผู้จัดสรรพกิจทั้งปวงให้สำเร็จ. พระราชาทรงพระดำริว่า อำมาตย์นี้มีอุปการะเป็นอันมากแก่เรา จึงได้ประทานยศใหญ่โตแก่อำมาตย์นั้น อำมาตย์พวกอื่นอดทนอำมาตย์นั้นไม่ได้ ก็คอยส่อ อำมาตย์นั้นตัวคนเดียวแท้อยู่ในเรือนจำนั้น อาศัยศีลสมบัติได้เอกัคคตาจิตแน่วแน่ในอารมณ์เดียว พิจารณาสังขารทั้งหลายก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล. ครั้นในกาลต่อมา พระราชาทรงทราบว่าอำมาตย์นั้นไม่มีโทษ จึงรับสั่งให้ พระศาสดา เมื่อจะทรงกระทำปฏิสันถารกับอำมาตย์นั้น จึงตรัสว่า เราตถาคตได้ยินว่า ราช อำมาตย์กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราชทัณฑ์อันหาประโยชน์มิได้เกิดขึ้นแล้ว แต่ข้าพระองค์ได้กระทำประโยชน์จากสิ่งที่หาประโยชน์มิได้นั้น ข้าพระองค์นั้นนั่งอยู่ในเรือนจำแล้วทำโสดาปัตติผลให้เกิดขึ้นแล้ว. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก มิใช่ท่านเท่านั้น ที่นำเอาประโยชน์มาจากสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ก็นำเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์มาจากสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนเหมือนกัน อันอำมาตย์นั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :- ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระ ลำดับนั้น อำมาตย์ผู้หนึ่งของพระองค์ก่อการประทุษร้ายขึ้นภายในพระราชวัง ข้าราชบริพาร เรื่องทั้งปวงได้กล่าวไว้ใน มหาสีลวชาดก ในหนหลังนั่นแหละ แม้ในชาดกนี้ พระราชานั้นทรงทดลองถึง ๓ ครั้ง จึงเชื่อคำของอำมาตย์นั้น ทรงดำริว่าจักยึดราชสมบัติในเมืองพาราณสี จึงพร้อมด้วยบริวารอันใหญ่หลวง ประชิด พระราชาโจรเสด็จมาล้อมพระนครไว้ อำมาตย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระราชาอีกทราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าทรงกระทำอย่างนี้ พวกข้าพระองค์จะจับพระราชาโจรนั้น. พระราชา พระราชาโจรโบยตีพวกมนุษย์ที่ประตูทั้ง ๔ เข้าเมืองได้แล้วขึ้นยังปราสาท ให้จับพระราชาผู้แวดล้อมด้วยอำมาตย์ ๑๐๐ คน จองจำด้วยโซ่ตรวนทั้งหลาย แล้วให้ขังไว้ในเรือนจำ. พระราชาประทับนั่งในเรือนจำนั่นแล ทรงแผ่เมตตาไปยังพระราชาโจร ทรงยังฌานมีเมตตาเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาของพระเจ้าพาราณสีนั้น ความเร่าร้อนจึงเกิดขึ้นในกายของพระราชาโจร. พระสรีระกายทั้งสิ้นของพระราชาโจรนั้น เป็นประหนึ่งถูกคบเพลิงในยมโลกลวกลน. พระราชาโจรนั้นถูกมหันตทุกข์ครอบงำ จึงตรัสถามว่า มีเหตุอะไรหนอ. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า พระองค์ให้จำขังพระราชาผู้มีศีลไว้ในเรือนจำ ด้วยเหตุนั้น ทุกข์อันนี้จักเกิดขึ้นแก่พระองค์. ราชาโจรนั้นจึงเสด็จไปขอขมาพระโพธิสัตว์ ตรัสว่า ราชสมบัติของพระองค์จงเป็นของพระองค์เถิด แล้วทรงมอบราชสมบัติแก่พระเจ้าพาราณสีนั้นแล แล้วทูลว่า ตั้งแต่ พระโพธิสัตว์ประทับนั่งบนบัลลังก์ซึ่งยกเศวตฉัตรขึ้นแล้วในท้องพระโรงอันอลงกต เมื่อจะทรงปราศัยกับหมู่อำมาตย์ที่นั่งห้อมล้อมอยู่ จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถาแรกว่า :- ผู้ใดคบหากับบุคคลผู้ประเสริฐ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นส่วนอันประเสริฐด้วย เราสมานไมตรีกับพระยา เพราะฉะนั้น บุคคลคนเดียวสมานไมตรีกับโลกทั้งมวล สิ้นชีพแล้วก็พึงเข้าถึงสวรรค์ ท่านชาวกาสิกรัฐทั้งหลายจงฟังคำของเราเถิด. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺยํโส เสยฺยโส โหติ โย เสยฺยมุปเสวติ ความว่า บุคคลชื่อว่าผู้มีส่วนอันประเสริฐ เพราะมีส่วน คือโกฏฐาสอันประเสริฐ กล่าวคือธรรมสูงสุดอันหาโทษมิได้ ได้แก่ บุคคลผู้อาศัยกุศลธรรม. บุคคลใดเข้าเสพกุศลธรรมภาวนาอันประเสริฐนั้น หรือบุคคลผู้สูงสุดผู้ยินดียิ่งในกุศลธรรมอันประเสริฐนั้นบ่อยๆ บุคคลนั้นเป็นผู้มีส่วนอันประเสริฐ คือเป็นผู้น่าสรรเสริญกว่าและเป็นผู้ยิ่งกว่า. ก็ด้วยบทว่า เอเกน สนฺธึ กตฺวาน สตํ วชฺเฌ อโมจยึ แม้นี้ พึงทราบดังนี้ว่า ก็เมื่อเราซ่องเสพเมตตาภาวนาอันประเสริฐ ได้กระทำการติดต่อคือสืบต่อเมตตาภาวนากับพระยาโจรคนเดียวด้วยเมตตาภาวนานั้น ได้ปลดเปลื้องท่านทั้งหลายผู้จะถูกฆ่าได้ตั้งร้อยคน. ในคาถาที่ ๒ มีเนื้อความต่อไปนี้ เพราะเหตุที่เรากระทำการติดต่อด้วยเมตตาภาวนา โดยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระยาโจรคนเดียว จึงปลดเปลื้องท่านทั้งหลายผู้จะถูกฆ่าได้ตั้งร้อยคน เพราะฉะนั้น พึงทราบข้อนั้นว่าเพราะบุคคลผู้เดียวกระทำการติดต่อกับโลกทั้งปวง ด้วยเมตตาภาวนา ละไปแล้วจะเข้าถึงสวรรค์ในโลกหน้า เพราะเมตตาภาวนาอันเป็นอุปจารฌานให้ปฏิสนธิในกามาวจรภพ เมตตาภาวนาอันเป็นอัปปนาฌาน ย่อมให้ปฏิสนธิในพรหม ท่านแม้ทั้งปวงผู้เป็นชาวกาสิกรัฐ จงฟังคำของเรานี้ไว้. พระมหาสัตว์พรรณนาคุณของภาวนาอันประกอบด้วยเมตตาแก่มหาชนอย่างนี้แล้ว ทรงสละ พระศาสดาทรงเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว ทรงตรัสพระคาถาที่ ๓ ว่า :- พระเจ้ากังสมหาราชครอบครองราชสมบัติเมืองพาราณสี ได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว ก็ทรงสละทิ้งธนูและลูกศรเสีย เข้าถึงความสำรวม. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาราชา แปลว่า พระราชาผู้ใหญ่. คำว่า กงฺโส เป็นพระนามของพระราชาผู้ใหญ่นั้น. บทว่า พาราณสิคฺคโห ได้แก่ ผู้ยึดครองพระนครพาราณสี เพราะยึดพระนครพาราณสีครอบครองอยู่ พระราชานั้นตรัสพระดำรัสนี้แล้ว ทรงวางคือละทิ้งธนู และลูกธนูกล่าวคือลูกศร เข้าถึงความสำรวมในศีล คือบวช. ก็แหละครั้นบวชแล้วก็ยังฌานให้เกิดขึ้น เป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมจึงได้เกิดขึ้นในพรหมโลก. พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาผู้เป็นโจรในครั้งนั้น ได้เป็น พระอานนท์ ในบัดนี้ ส่วนพระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น ได้เป็น เราตถาคต ฉะนี้แล. จบ อรรถกถาเสยยชาดกที่ ๒ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา เสยยชาดก จบ. |