ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์

บทภาชนีย์
มาติกา
[๑๗๓] ทำเอง ยืนอยู่ใกล้ สั่งทูต สั่งทูตต่อ ทูตไม่สามารถ ทูตไปแล้วกลับมา ที่ไม่ลับสำคัญว่าที่ลับ ที่ลับสำคัญว่าที่ไม่ลับ ที่ไม่ลับสำคัญว่าที่ไม่ลับ ที่ลับสำคัญว่า ที่ลับ พรรณนาด้วยกาย พรรณนาด้วยวาจา พรรณนาด้วยกายและวาจา พรรณนา ด้วยทูต พรรณนาด้วยหนังสือ หลุมพราง ที่พิง การลอบวาง เภสัช การนำรูปเข้า ไปใกล้ การนำเสียงเข้าไปใกล้ การนำกลิ่นเข้าไปใกล้ การนำรสเข้าไปใกล้ การนำ โผฏฐัพพะเข้าไปใกล้ การนำธัมมารมณ์เข้าไปใกล้ การบอก การแนะนำ การ นัดหมาย การทำนิมิต
ทำเอง
[๑๗๔] คำว่า ทำเอง คือ ลงมือฆ่าเองด้วยกาย ด้วยเครื่องประหารที่เนื่อง ด้วยกาย หรือด้วยเครื่องประหารที่ต้องซัดไป
ยืนอยู่ใกล้
คำว่า ยืนอยู่ใกล้ คือ ยืนสั่งอยู่ที่ใกล้ๆ ว่า “จงแทงอย่างนี้ จงประหารอย่างนี้ จงฆ่าอย่างนี้”
สั่งทูต
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงฆ่าผู้ชื่อนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งสำคัญ ผู้นั้นว่าเป็นผู้นั้น จึงฆ่าผู้นั้นตาย ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงฆ่าผู้ชื่อนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งสำคัญ ผู้นั้นว่าเป็นผู้นั้น แต่ฆ่าผู้อื่นตาย ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่าต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงฆ่าผู้ชื่อนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งสำคัญ ผู้นั้นว่าเป็นผู้อื่น แต่ฆ่าผู้นั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงฆ่าผู้ชื่อนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งสำคัญ ผู้นั้นว่าเป็นผู้อื่น และฆ่าผู้อื่น ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่าต้องอาบัติปาราชิก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๔๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์

สั่งทูตต่อ
ภิกษุ (ผู้เป็นอาจารย์) สั่งภิกษุ (ชื่อว่าพุทธรักขิต) ว่า “ท่านจงบอกภิกษุชื่อ (ธัมมรักขิต)นี้ว่า จงบอกภิกษุชื่อ(สังฆรักขิต)นี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงฆ่าบุคคลนี้” ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งไปบอกภิกษุอีกรูปหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ฆ่า รับคำสั่ง ภิกษุผู้สั่งครั้งแรก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุผู้ฆ่าฆ่าบุคคลนั้นสำเร็จ ต้อง อาบัติปาราชิกทุกรูป ภิกษุ (ผู้เป็นอาจารย์) สั่งภิกษุ (ชื่อพุทธรักขิต)ว่า “ท่านจงบอกภิกษุชื่อ (ธัมมรักขิต)นี้ว่า จงบอกภิกษุชื่อ(สังฆรักขิต)นี้ว่า ‘จงฆ่าบุคคลนี้” ดังนี้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งไปบอกภิกษุรูปอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้ฆ่ารับคำสั่ง ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุผู้ฆ่าฆ่าบุคคลนั้นสำเร็จ ภิกษุผู้สั่งครั้งแรกไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้สั่งต่อ และภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก
ทูตไม่สามารถ
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงฆ่าบุคคลชื่อนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งไปแล้ว กลับมาบอกว่า “กระผมไม่สามารถฆ่าผู้นั้นได้” ผู้สั่งจึงสั่งอีกว่า “จงฆ่าผู้นั้นในเวลา ที่ท่านสามารถจะฆ่าได้” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งฆ่าบุคคลนั้นสำเร็จ ต้อง อาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป
ทูตไปแล้วกลับมา
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงฆ่าบุคคลชื่อนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ เธอสั่งแล้วเกิดความ เดือดร้อนใจ แต่ไม่ได้กล่าวให้ผู้รับคำสั่งได้ยินว่า “อย่าฆ่า” ภิกษุผู้รับคำสั่งฆ่าบุคคล นั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงฆ่าบุคคลชื่อนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ เธอสั่งแล้วเกิดความ เดือดร้อนใจจึงกล่าวให้ผู้รับคำสั่งได้ยินว่า “อย่าฆ่า” แต่ภิกษุผู้รับคำสั่งกล่าวว่า “ท่านสั่งผมแล้ว” ฆ่าบุคคลนั้น ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๔๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์

ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงฆ่าบุคคลชื่อนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ เธอสั่งแล้วเกิดความ เดือดร้อนใจจึงกล่าวให้ผู้รับคำสั่งได้ยินว่า “อย่าฆ่า” ภิกษุผู้รับคำสั่งนั้นรับว่า “ดีละ” จึงงดเว้น ไม่ต้องอาบัติทั้ง ๒ รูป
ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ลับ
[๑๗๕] ที่ไม่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ลับ กล่าวขึ้นว่า “ทำอย่างไร บุคคลชื่อนี้จะ ถูกฆ่า” ต้องอาบัติทุกกฏ
ที่ลับ สำคัญว่าที่ไม่ลับ
ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ไม่ลับ กล่าวขึ้นว่า “ทำอย่างไร บุคคลชื่อนี้จะถูกฆ่า” ต้องอาบัติทุกกฏ
ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ไม่ลับ
ที่ไม่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ไม่ลับ กล่าวขึ้นว่า “ทำอย่างไร บุคคลชื่อนี้จะถูกฆ่า” ต้องอาบัติทุกกฏ
ที่ลับ สำคัญว่าที่ลับ
ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ลับ กล่าวขึ้นว่า “ทำอย่างไร บุคคลชื่อนี้จะถูกฆ่า” ต้อง อาบัติทุกกฏ
พรรณนาด้วยกาย
ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยกาย ได้แก่ ภิกษุแสดงอาการต่างๆ ด้วยกายเป็นเหตุ ให้รู้ว่า “ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศหรือได้ไปสวรรค์” ต้องอาบัติทุกกฏ มีผู้ใดผู้หนึ่งคิดจะตายแล้วทำให้เกิดทุกขเวทนาตามการพรรณนานั้น ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
พรรณนาด้วยวาจา
ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยวาจา ได้แก่ ภิกษุกล่าวด้วยวาจาว่า “ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือได้ไปสวรรค์” ต้องอาบัติทุกกฏ มีผู้ใดผู้หนึ่งคิดจะตาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๔๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์

แล้วทำให้เกิดทุกขเวทนาตามการพรรณนานั้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้อง อาบัติปาราชิก
พรรณนาด้วยกายและวาจา
ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยกายและวาจา ได้แก่ ภิกษุแสดงอาการต่างๆ ด้วย กายและกล่าวด้วยวาจาว่า “ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือได้ไป สวรรค์” ต้องอาบัติทุกกฏ มีผู้ใดผู้หนึ่งคิดจะตายหรือทำให้เกิดทุกขเวทนาตามการ พรรณนานั้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
พรรณนาด้วยทูต
ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยทูต ได้แก่ ภิกษุสั่งทูตว่า “ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ ทรัพย์ ได้ยศ หรือได้ไปสวรรค์” ต้องอาบัติทุกกฏ มีผู้ใดผู้หนึ่งฟังสาส์นของทูตแล้ว คิดจะตาย ทำให้เกิดทุกขเวทนาตามการพรรณนานั้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
พรรณนาด้วยหนังสือ
[๑๗๖] ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยหนังสือ ได้แก่ ภิกษุเขียนหนังสือว่า “ผู้ใด ตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือได้ไปสวรรค์” ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกตัวอักษร ผู้ใดผู้หนึ่งเห็นหนังสือคิดจะตายแล้วทำให้เกิดทุกขเวทนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขา ตาย ต้องอาบัติปาราชิก
หลุมพราง
ที่ชื่อว่า หลุมพราง ได้แก่ ภิกษุขุดหลุมพรางไว้เจาะจงมนุษย์ว่า “บุคคลชื่อนี้ จะตกลงไปตาย” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อบุคคลชื่อนั้นตกลงไปได้รับทุกขเวทนา ต้อง อาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุขุดหลุมพรางไว้ไม่เจาะจงด้วยคิดว่า “ใครก็ได้จะตกลงไปตาย” ต้อง อาบัติทุกกฏ มนุษย์ตกลงไปในหลุมนั้น ภิกษุผู้ขุดต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อมนุษย์ตกลง ไปแล้วได้รับทุกขเวทนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๔๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์

ยักษ์ เปรต หรือสัตว์ดิรัจฉานมีกายเป็นมนุษย์ ตกลงไปในหลุมนั้น ต้อง อาบัติทุกกฏ เมื่อตกลงไปแล้วได้รับทุกขเวทนา ต้องอาบัติทุกกฏ ยักษ์เป็นต้นนั้นตาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย สัตว์ดิรัจฉาน ตกลงไปในหลุมนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อตกลงไป แล้วได้รับทุกขเวทนา ต้องอาบัติทุกกฏ สัตว์ดิรัจฉานตาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่พิง
[๑๗๗] ที่ชื่อว่า ที่พิง ได้แก่ ภิกษุวางศัสตราไว้ในที่พิง หรือทายาพิษ ทำให้ ชำรุด หรือวางไว้ที่ริมบ่อ เหวหรือที่ลาดชันด้วยหมายใจว่า จะมีผู้ตกลงไปตายด้วยวิธีนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ มีผู้ได้รับทุกขเวทนา เพราะต้องศัสตรา ถูกยาพิษหรือตกลงไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
การลอบวาง
ที่ชื่อว่า การลอบวาง ได้แก่ ภิกษุวางดาบ หอก ฉมวก หลาว ไม้ค้อน หิน มีด ยาพิษ หรือเชือกไว้ใกล้ๆ ด้วยตั้งใจว่า จะมีผู้ตายด้วยของสิ่งนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ มีผู้ คิดว่า เราจะตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิดด้วยสิ่งของนั้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
เภสัช
ที่ชื่อว่า เภสัช ได้แก่ ภิกษุให้เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย ด้วย ตั้งใจว่า เขาลิ้มเภสัชนี้แล้วจะตาย ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาลิ้มเภสัชนั้นแล้วได้รับ ทุกขเวทนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
การนำรูปเข้าไปใกล้
[๑๗๘] ที่ชื่อว่า นำรูปเข้าไปใกล้ ได้แก่ ภิกษุนำรูปที่ไม่น่าพอใจ น่ากลัว น่าหวาดเสียวเข้าไปใกล้ด้วยตั้งใจว่า เขาเห็นรูปนี้แล้วจะตกใจตาย ต้องอาบัติทุกกฏ เขาเห็นรูปนั้นแล้วตกใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๔๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์

ภิกษุนำรูปที่น่าพอใจ น่ารัก น่าจับใจเข้าไปใกล้ด้วยตั้งใจว่า เขาเห็นรูปนี้ แล้วจะซูบผอมตายไป เพราะไม่ได้(รูปนั้น) ต้องอาบัติทุกกฏ เขาเห็นรูปนั้นแล้วซูบ ผอมเพราะไม่ได้(รูปนั้น) ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
การนำเสียงเข้าไปใกล้
ที่ชื่อว่า นำเสียงเข้าไปใกล้ ได้แก่ ภิกษุนำเสียงที่ไม่น่าพอใจ น่ากลัว น่า หวาดเสียวเข้าไปใกล้ ด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเสียงนี้แล้วจะตกใจตาย ต้องอาบัติทุกกฏ เขาได้ยินเสียงนั้นแล้วตกใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนำเสียงที่น่าพอใจ ไพเราะจับใจ เข้าไปใกล้ด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเสียงนี้แล้ว จะซูบผอมตายไป เพราะไม่ได้(เสียงนั้น) ต้องอาบัติทุกกฏ เขาเห็นรูปนั้นแล้ว ซูบผอมเพราะไม่ได้(เสียงนั้น) ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
การนำกลิ่นเข้าไปใกล้
ที่ชื่อว่า นำกลิ่นเข้าไปใกล้ ได้แก่ ภิกษุนำกลิ่นที่ไม่น่าชอบใจ น่ารังเกียจ น่าคลื่นไส้เข้าไปใกล้ด้วยตั้งใจว่า เขาสูดกลิ่นนี้แล้วจะตายไป เพราะรังเกียจ เพราะ คลื่นไส้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาสูดกลิ่นแล้วเกิดทุกขเวทนาเพราะรังเกียจ เพราะ คลื่นไส้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนำกลิ่นที่น่าพอใจ เข้าไปใกล้ ด้วยตั้งใจว่า เขาสูดกลิ่นนี้แล้ว จะซูบผอม ตายไป เพราะไม่ได้(กลิ่นนั้น) ต้องอาบัติทุกกฏ เขาเห็นรูปนั้นแล้วซูบผอมเพราะไม่ ได้(กลิ่นนั้น) ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
การนำรสเข้าไปใกล้
ที่ชื่อว่า การนำรสเข้าไปใกล้ ได้แก่ ภิกษุนำรสที่ไม่น่าชอบใจ น่ารังเกียจ น่า สะอิดสะเอียน เข้าไปใกล้ ด้วยตั้งใจว่า เขาลิ้มรสนี้แล้วจะตาย เพราะรังเกียจ เพราะ สะอิดสะเอียน ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาได้ลิ้มรสนั้นแล้ว ยังทุกขเวทนาให้เกิด เพราะรังเกียจ เพราะสะอิดสะเอียน ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๔๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์

ภิกษุนำรสที่น่าชอบใจเข้าไปใกล้ ด้วยตั้งใจว่า เขาลิ้มรสนี้แล้วจะซูบผอมตาย เพราะไม่ได้(รสนั้น) ต้องอาบัติทุกกฏ เขาเห็นรูปนั้นแล้วซูบผอมเพราะไม่ได้(รสนั้น) ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
การนำโผฏฐัพพะเข้าไปใกล้
ที่ชื่อว่า การนำโผฏฐัพพะเข้าไปใกล้ ได้แก่ ภิกษุนำโผฏฐัพพะที่ไม่น่าพอใจ มีสัมผัสไม่สบายและแข็งกระด้างเข้าไปใกล้ ด้วยตั้งใจว่า เขาถูกต้องสิ่งนี้แล้วจะตาย ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาถูกต้องสิ่งนั้นแล้วเกิดทุกขเวทนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขา ตาย ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนำโผฏฐัพพะที่น่าพอใจ มีสัมผัสสบาย อ่อนนุ่ม เข้าไปใกล้ ด้วยตั้งใจว่า เขาถูกต้องสิ่งนี้แล้ว จะซูบผอมตายเพราะไม่ได้(โผฏฐัพพะนั้น) ต้องอาบัติทุกกฏ เขาถูกสิ่งนั้นแล้ว ซูบผอมเพราะไม่ได้(โผฏฐัพพะนั้น) ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
การนำธรรมารมณ์เข้าไปใกล้
ที่ชื่อว่า การนำธรรมารมณ์เข้าไปใกล้ ได้แก่ ภิกษุแสดงเรื่องนรกแก่คนผู้ ควรจะเกิดในนรกด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเรื่องนรกนี้แล้ว จะตกใจตาย ต้องอาบัติทุกกฏ เขาฟังเรื่องนั้นแล้ว ตกใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุแสดงเรื่องสวรรค์แก่บุคคลผู้กระทำความดี ด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเรื่องนี้ แล้ว จะสมัครใจตาย ต้องอาบัติทุกกฏ เขาฟังเรื่องนั้นแล้ว คิดว่า เราจะยอมตายละ แล้วทำทุกขเวทนาให้เกิดขึ้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
การบอก
[๑๗๙] ที่ชื่อว่า การบอก ได้แก่ ภิกษุถูกถามแล้วบอกว่า “ท่านจงตาย อย่างนี้ ผู้ตายอย่างนี้จะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือได้ไปสวรรค์” ต้องอาบัติทุกกฏ เขา คิดว่า จะตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิดตามการบอกนั้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขา ตาย ต้องอาบัติปาราชิก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๔๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร

การแนะนำ
ที่ชื่อว่า การแนะนำ ได้แก่ ภิกษุที่เขาไม่ได้ถามแต่แนะนำให้เขาตายว่า “ท่านจงตายอย่างนี้ ผู้ตายอย่างนี้จะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือได้ไปสวรรค์” ต้องอาบัติ ทุกกฏ เขาคิดว่า “จะตาย” แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิดตามการแนะนำนั้น ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
การนัดหมาย
ที่ชื่อว่า การนัดหมาย ได้แก่ ภิกษุทำการนัดหมายว่า “จงฆ่าเขา ตามเวลา นัดหมายนั้น คือ ในเวลาก่อนอาหาร หรือในเวลาหลังอาหาร ในเวลากลางคืน หรือ ในเวลากลางวัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้รับคำสั่งฆ่าเขาสำเร็จตามเวลานัดหมายนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ฆ่าเขาได้ก่อนหรือหลังเวลานัดหมายนั้น ผู้นัดหมาย ไม่ต้องอาบัติ ผู้ฆ่าต้องอาบัติปาราชิก
การทำนิมิต
ที่ชื่อว่า การทำนิมิต ได้แก่ ภิกษุทำนิมิตว่า “เราจักขยิบตา ยักคิ้ว หรือผงก ศีรษะ ท่านจงฆ่าเขาตามที่เราทำนิมิตนั้น” ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้รับสัญญาณ ฆ่าเขา สำเร็จตามนิมิตนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ฆ่าเขาได้ก่อนหรือหลังการทำนิมิต ผู้ทำนิมิตไม่ต้องอาบัติ ผู้ฆ่าต้องอาบัติปาราชิก


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๔๓-๑๕๐. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=1&siri=24              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=1&A=7673&Z=7851                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=187              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=187&items=16              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=1&A=11370              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=187&items=16              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=1&A=11370                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pj3/en/brahmali#pli-tv-bu-vb-pj3:4.1.0.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :