ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๓. ธัมมทายาทสูตร

๓. ธัมมทายาทสูตร
ว่าด้วยทายาทแห่งธรรม
[๒๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้พระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเรา อย่าเป็นอามิส- ทายาทเลย เรามีความเอ็นดูในพวกเธออยู่ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ สาวกทั้งหลาย ของเราจะพึงเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท’ หากเธอทั้งหลายเป็นอามิส- ทายาทของเรา ไม่เป็นธรรมทายาท เพราะข้อนั้น เธอทั้งหลายจะพึงถูกวิญญูชน ทั้งหลายติเตียนว่า ‘สาวกของพระศาสดาเป็นอามิสทายาทอยู่ ไม่เป็นธรรมทายาท’ แม้เราก็จะพึงถูกวิญญูชนทั้งหลายติเตียนว่า ‘สาวกของพระศาสดาเป็นอามิสทายาทอยู่ ไม่เป็นธรรมทายาท’ หากเธอทั้งหลายจะพึงเป็นธรรมทายาทของเรา ไม่เป็น อามิสทายาท เพราะข้อนั้น เธอทั้งหลายจะไม่พึงถูกวิญญูชนทั้งหลายติเตียนว่า ‘สาวกของพระศาสดาเป็นธรรมทายาทอยู่ ไม่เป็นอามิสทายาท’ แม้เราก็จะไม่พึง ถูกวิญญูชนทั้งหลายติเตียนว่า ‘สาวกของพระศาสดาเป็นอามิสทายาทอยู่ ไม่เป็น ธรรมทายาท’ ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย เพราะเราก็มีความเอ็นดูในเธอทั้งหลายอยู่ว่า ‘ทำ อย่างไรหนอ สาวกทั้งหลายของเราจะพึงเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท’ [๓๐] ภิกษุทั้งหลาย หากเราจะพึงเป็นผู้ฉันเสร็จห้ามภัตเรียบร้อยแล้ว สิ้นสุดภัตกิจ มีความสุขตามความต้องการแล้ว แต่บิณฑบาตของเรายังมีเหลือ จะต้องทิ้ง ในเวลานั้น ภิกษุ ๒ รูปถูกความหิวและความอ่อนเพลียครอบงำพากันมา เราควรกล่าวกับภิกษุทั้ง ๒ รูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราเป็นผู้ฉันเสร็จ ห้ามภัตเรียบร้อยแล้ว สิ้นสุดภัตกิจ มีความสุขตามความต้องการแล้ว แต่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๓. ธัมมทายาทสูตร

บิณฑบาตนี้ของเรายังมีเหลือจะต้องทิ้ง หากเธอทั้งหลายประสงค์ ก็จงฉันเถิด หากเธอทั้งหลายจะไม่ฉัน บัดนี้ เราจะทิ้งลงบนพื้นที่ปราศจากของสดเขียว หรือ เทลงในน้ำที่ปราศจากตัวสัตว์’ ภิกษุ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้เสวยเสร็จห้ามภัตเรียบร้อยแล้ว สิ้นสุดภัตกิจ มีความสุขตาม ความต้องการแล้ว แต่บิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคนี้ ยังมีเหลือจะต้องทิ้ง หาก เราจะไม่ฉัน บัดนี้ พระผู้มีพระภาคก็จะทรงทิ้งลงบนพื้นที่ปราศจากของสดเขียว หรือทรงเทลงในน้ำที่ปราศจากตัวสัตว์ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเรา อย่าเป็นอามิสทายาทเลย’ บิณฑบาตนี้ เป็นอามิสอย่างหนึ่ง ทางที่ดี เราจะไม่ฉันบิณฑบาตนี้แล้วให้วันคืนผ่านพ้นไปอย่างนี้ ด้วยความหิวและความอ่อนเพลียนี้แล’ เธอจึงไม่ฉันบิณฑบาตนั้น แล้วให้วันคืน นั้นผ่านพ้นไปอย่างนี้ ด้วยความหิวและความอ่อนเพลียนั้นแล ลำดับนั้น ภิกษุรูปที่ ๒ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้เสวย เสร็จห้ามภัตเรียบร้อยแล้ว สิ้นสุดภัตกิจ มีความสุขตามความต้องการแล้ว แต่ บิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคนี้ยังมีเหลือจะต้องทิ้ง หากเราจะไม่ฉัน บัดนี้ พระผู้มี พระภาคก็จะทรงทิ้งลงบนพื้นที่ปราศจากของสดเขียว หรือทรงเทลงในน้ำที่ปราศจาก ตัวสัตว์ ทางที่ดี เราควรฉันบิณฑบาตนี้บรรเทาความหิวและความอ่อนเพลีย แล้วให้วันคืนผ่านพ้นไปอย่างนี้’ เธอจึงฉันบิณฑบาตนั้นบรรเทาความหิวและความ อ่อนเพลียแล้วให้วันคืนนั้นผ่านพ้นไปอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ (รูปที่ ๒) นั้นฉันบิณฑบาตนั้นบรรเทาความหิวและความ อ่อนเพลียแล้วให้วันคืนนั้นผ่านพ้นไปอย่างนี้ แต่ภิกษุรูปแรกนั้นก็ยังเป็นผู้ควรบูชา และสรรเสริญกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะการไม่ฉันบิณฑบาตของภิกษุรูปแรกนั้น จักเป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา เลี้ยงง่าย ปรารภความเพียร สิ้น กาลนาน เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด อย่าเป็นอามิส- ทายาทเลย เพราะเราก็มีความเอ็นดูในเธอทั้งหลายอยู่ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ สาวก ทั้งหลายของเราจะพึงเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว พระสุคตครั้นตรัสพระดำรัสนี้แล้ว ก็เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๓. ธัมมทายาทสูตร

ความไม่สนใจศึกษาวิเวก
[๓๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ท่านพระสารีบุตร ได้เรียก ภิกษุทั้งหลายในวิหารนั้นมากล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้น รับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุ เท่าไรหนอ เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก๑- สาวกทั้งหลายไม่สนใจศึกษา วิเวก ด้วยเหตุเท่าไรหนอ เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก สาวกทั้งหลาย สนใจศึกษาวิเวก” ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกลเพื่อจะทราบ เนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของท่านพระสารีบุตร พวกกระผมขอโอกาส ขอท่าน พระสารีบุตรได้โปรดแสดงเนื้อความแห่งภาษิตนั้นเถิด เพื่อภิกษุทั้งหลายเมื่อได้ฟัง แล้วจะทรงจำไว้ได้” ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี กระผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเรื่องนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ด้วยเหตุเท่าไรหนอ เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก สาวก ทั้งหลายไม่สนใจศึกษาวิเวก เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก สาวก ทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้สนใจศึกษาวิเวก ไม่ละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสว่า ควรละ เป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน๒- เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม๓- ทอดธุระ๔- @เชิงอรรถ : @ วิเวก(ความสงัด) ในที่นี้หมายถึงวิเวก ๓ ประการ คือ (๑) กายวิเวก สงัดกาย (๒) จิตตวิเวก สงัดจิต @(๓) อุปธิวิเวก สงัดกิเลส (ม.มู.อ. ๑/๓๑/๑๐๙) @ ย่อหย่อน หมายถึงยึดถือปฏิบัติตามคำสั่งสอนหย่อนยาน (ม.มู.อ. ๑/๓๑/๑๑๐, องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓) @ โวกกมนธรรม ในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ ๕ ประการ คือ (๑) กามฉันทะ(ความพอใจในกาม) (๒) พยาบาท @(ความคิดร้าย) (๓) ถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) @(๕) วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) (ม.มู.อ. ๑/๓๑/๑๑๐, องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓) @ ทอดธุระ ในที่นี้หมายถึงไม่บำเพ็ญอุปธิวิเวกให้บริบูรณ์, อนึ่ง หมายถึงทอดทิ้งหน้าที่ในวิเวก ๓ ประการ @คือ กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก (ม.มู.อ. ๑/๓๑/๑๑๐, องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๓. ธัมมทายาทสูตร

ในปวิเวก๑- บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้เป็นเถระเป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะ๒- ๓ ประการ คือ เป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะที่ ๑ ว่า ‘เมื่อพระศาสดาประทับ อยู่อย่างมีวิเวก สาวกทั้งหลายไม่สนใจศึกษาวิเวก’ เป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะ ที่ ๒ ว่า ‘สาวกทั้งหลายไม่ละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสว่า ควรละ’ และ เป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะที่ ๓ ว่า ‘สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม ทอดธุระในปวิเวก’ ภิกษุผู้เป็นเถระเป็นผู้ควรถูก ติเตียนโดยฐานะ ๓ ประการนี้ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ฯลฯ ภิกษุผู้ป็นนวกะเป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะ ๓ ประการ คือ เป็นผู้ควรถูก ติเตียนโดยฐานะที่ ๑ ว่า ‘เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก สาวกทั้งหลาย ไม่สนใจศึกษาวิเวก’ เป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะที่ ๒ ว่า ‘สาวกทั้งหลายไม่ละ ธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสว่า ควรละ’ เป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะที่ ๓ ว่า ‘สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม ทอดธุระ ในปวิเวก’ ภิกษุผู้เป็นนวกะเป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะ ๓ ประการนี้ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุเท่านี้แล เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก สาวกทั้งหลายชื่อว่าไม่สนใจศึกษาวิเวก
ความสนใจศึกษาวิเวก
[๓๒] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุเท่าไรหนอ เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ อย่างมีวิเวก สาวกทั้งหลายสนใจศึกษาวิเวก เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่าง มีวิเวก สาวกทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้สนใจศึกษาวิเวก ละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดา ตรัสว่า ควรละ ไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม @เชิงอรรถ : @ ปวิเวก หมายถึงอุปธิวิเวก คือสภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์ ได้แก่ กาม กิเลส เบญจขันธ์ และ @อภิสังขาร กล่าวคือนิพพาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓) @ ฐานะ ในที่นี้หมายถึงเหตุ แท้จริง คำว่า ‘ฐานะ’ มีความหมาย ๔ นัย คือ (๑) อิสสริยะ (ตำแหน่ง, @ความเป็นใหญ่) (๒) ฐิติ (เป้าหมาย,ที่ตั้ง) (๓) ขณะ (กาล) (๔) การณะ (เหตุ) ในที่นี้หมายถึงเหตุ @(ม.มู.อ. ๑/๓๑/๑๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๓. ธัมมทายาทสูตร

ไม่ทอดธุระในปวิเวก บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้เป็นเถระเป็นผู้ควรสรรเสริญโดย ฐานะ ๓ ประการ คือ เป็นผู้ควรสรรเสริญโดยฐานะที่ ๑ ว่า ‘เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่อย่างมีวิเวก สาวกทั้งหลายสนใจศึกษาวิเวก’ เป็นผู้ควรสรรเสริญโดยฐานะ ที่ ๒ ว่า ‘สาวกทั้งหลายละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสว่า ควรละ’ เป็นผู้ ควรสรรเสริญโดยฐานะที่ ๓ ว่า ‘สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม ไม่ทอดธุระในปวิเวก’ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้เป็น มัชฌิมะ ฯลฯ ภิกษุผู้เป็นนวกะเป็นผู้ควรสรรเสริญโดยฐานะ ๓ ประการ คือ เป็นผู้ควรสรรเสริญโดยฐานะที่ ๑ ว่า ‘เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก สาวก ทั้งหลายสนใจศึกษาวิเวก’ เป็นผู้ควรสรรเสริญโดยฐานะที่ ๒ ว่า ‘สาวกทั้งหลาย ละธรรมทั้งหลาย ที่พระศาสดาตรัสว่า ควรละ’ เป็นผู้ควรสรรเสริญโดยฐานะที่ ๓ ว่า ‘สาวกทั้งหลาย ไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม ไม่ทอดธุระในปวิเวก’ ภิกษุผู้เป็นนวกะเป็นผู้ควรสรรเสริญโดยฐานะ ๓ ประการนี้ ด้วยเหตุเท่านี้แล เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก สาวกทั้งหลายชื่อว่าสนใจ ศึกษาวิเวก
มัชฌิมาปฏิปทา
[๓๓] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาธรรมเหล่านั้น โลภะและโทสะเป็นบาป มัชฌิมาปฏิปทามีอยู่เพื่อละโลภะและโทสะ เป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้ เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน๑- มัชฌิมาปฏิปทาอันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อ สงบระงับคือ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คืออะไร คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) @เชิงอรรถ : @ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๓/๒๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๓. ธัมมทายาทสูตร

๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) นี้แล คือ มัชฌิมาปฏิปทาอันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไป เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาธรรมเหล่านั้น โกธะ(ความโกรธ) อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) เป็นบาป มัชฌิมาปฏิปทามีอยู่เพื่อละโกธะและอุปนาหะ เป็น ปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ปฬาสะ(ความตีเสมอ) ... อิสสา(ความริษยา) มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) สาเถยยะ(ความโอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว) อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) และปมาทะ(ความประมาท) เป็นบาป มัชฌิมาปฏิปทา มีอยู่เพื่อละมทะและปมาทะ เป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไป เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน มัชฌิมาปฏิปทาอันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อ สงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คืออะไร คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๔. ภยเภรวสูตร

๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แล คือ มัชฌิมาปฏิปทาอันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไป เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน” ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิต ของท่านพระสารีบุตร ดังนี้แล
ธัมมทายาทสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๒๗-๓๓. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=12&siri=3              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=385&Z=516                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=20              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=20&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=7&A=2422              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=20&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=7&A=2422                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i020-e1.php# https://suttacentral.net/mn3/en/sujato https://suttacentral.net/mn3/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :