ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๗. สฬายตนวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอายตนะ ๖ ประการ
[๔๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๘๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]

๗. สฬายตนวิภังคสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเนื่องด้วยอายตนะ ๖ ที่สำคัญแก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า [๔๒๙] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักขุตามความเป็นจริง เมื่อไม่ รู้ไม่เห็นรูปตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักขุวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อ ไม่รู้ไม่เห็นจักขุสัมผัสตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่ สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมยินดีนักใน จักขุ ย่อมยินดีนักในรูป ย่อมยินดีนักในจักขุวิญญาณ ย่อมยินดีนักในจักขุสัมผัส ย่อมยินดีนักในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็น ปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นยินดี หมกมุ่น ลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นคุณอยู่ อุปาทาน- ขันธ์ ๕ ย่อมถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป และตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่อันสหรคต ด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ก็ย่อมเจริญขึ้น ความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความ เดือดร้อนที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความเร่าร้อนที่ เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น เขาจึงเสวยทุกข์ทางกายบ้าง เสวยทุกข์ทางใจบ้าง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตะตามความเป็นจริง ... เมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะตามความเป็นจริง ... เมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหาตามความเป็นจริง ... เมื่อไม่รู้ไม่เห็นกายตามความเป็นจริง ... เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนสัมผัสตามความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๘๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]

๗. สฬายตนวิภังคสูตร

เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัยตามความเป็นจริง ย่อมยินดีนักในมโน ย่อมยินดีนักใน ธรรมารมณ์ ย่อมยินดีนักในมโนวิญญาณ ย่อมยินดีนักในมโนสัมผัส ย่อมยินดีนัก ในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลนั้นยินดี หมกมุ่น ลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นคุณอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป และตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่อัน สหรคตด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ก็ย่อมเจริญขึ้น ความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความ เดือดร้อนที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความเร่าร้อนที่ เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น เขาจึงเสวยทุกข์ทางกายบ้าง เสวยทุกข์ทางใจบ้าง [๔๓๐] ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักขุตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นรูปตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักขุวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นจักขุสัมผัสตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่ สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่ยินดีใน จักขุ ย่อมไม่ยินดีในรูป ย่อมไม่ยินดีในจักขุวิญญาณ ย่อมไม่ยินดีในจักขุสัมผัส ย่อมไม่ยินดีในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็น ปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นไม่ยินดี ไม่หมกมุ่น ไม่หลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นโทษอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมไม่ถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป เขาย่อมละตัณหาที่นำไปสู่ภพ ใหม่อันสหรคตด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้ เขาย่อมละความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจ ละความเดือดร้อน ที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจ ละความเร่าร้อนที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจได้ จึงเสวยสุขทางกายบ้าง เสวยสุขทางใจบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๘๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]

๗. สฬายตนวิภังคสูตร

[๔๓๑] ทิฏฐิของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้น๑- ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ความดำริ ของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของบุคคลผู้มี ธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ สติของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็น สัมมาสติ สมาธิของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขาจัดว่าบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ของเขาย่อมถึงความเจริญเต็มที่ เมื่อบุคคลนั้นเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้อยู่อย่างนี้ สติปัฏฐาน ๔ ก็ดี สัมมัปปธาน ๔ ก็ดี อิทธิบาท ๔ ก็ดี อินทรีย์ ๕ ก็ดี พละ ๕ ก็ดี โพชฌงค์ ๗ ก็ดี ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ ธรรม ๒ นี้ คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา ของเขาย่อมเคียงคู่กันไป บุคคลนั้นกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละธรรมที่ควรละด้วย ปัญญาอันยิ่ง ย่อมเจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้แจ้งธรรมที่ ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร ควรจะตอบว่า ‘อุปาทานขันธ์ ๕’ คือ ๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป) ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา) ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา) ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร) ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร คือ (๑) อวิชชา (๒) ภวตัณหา ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง @เชิงอรรถ : @ ผู้มีธรรมอย่างนั้น หมายถึงผู้เพียบพร้อมด้วยสุขทางจิตที่ประกอบด้วยกุศลจิต (ม.อุ.อ. ๓/๔๓๑/๒๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๙๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]

๗. สฬายตนวิภังคสูตร

ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร คือ (๑) วิชชา (๒) วิมุตติ ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง [๔๓๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้ เมื่อเห็นโสตะตามความเป็นจริง ... เมื่อรู้ เมื่อเห็นฆานะตามความเป็นจริง ... เมื่อรู้ เมื่อเห็นชิวหาตามความเป็นจริง ... เมื่อรู้ เมื่อเห็นกายตามความเป็นจริง ... บุคคลเมื่อรู้ เมื่อเห็นมโนตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นธรรมารมณ์ตาม ความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นมโนวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็น มโนสัมผัสตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวย ซึ่งเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่ยินดีในมโน ย่อม ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ ย่อมไม่ยินดีในมโนวิญญาณ ย่อมไม่ยินดีในมโนสัมผัส ย่อมไม่ยินดีในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นไม่ยินดี ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นโทษอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมไม่ถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป เขาย่อมละตัณหาที่นำไปสู่ภพ ใหม่อันสหรคตด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้ ย่อมละความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจ ละความเดือดร้อนที่ เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจ ละความเร่าร้อนที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจได้ จึงเสวยสุขทางกายบ้าง เสวยสุขทางใจบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๙๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]

๗. สฬายตนวิภังคสูตร

[๔๓๓] ทิฏฐิของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้น ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ความดำริของ บุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของบุคคลผู้มี ธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ สติของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็น สัมมาสติ สมาธิของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขาจัดว่าบริสุทธิ์ในเบื้องต้นทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้ของเขาย่อมถึงความเจริญเต็มที่ เมื่อบุคคลนั้นเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้อยู่อย่างนี้ สติปัฏฐาน ๔ ก็ดี สัมมัปปธาน ๔ ก็ดี อิทธิบาท ๔ ก็ดี อินทรีย์ ๕ ก็ดี พละ ๕ ก็ดี โพชฌงค์ ๗ ก็ดี ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ ธรรม ๒ นี้ คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา ของเขาย่อมเคียงคู่กันไป บุคคลนั้นย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละธรรมที่ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมเจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้แจ้ง ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร ควรจะตอบว่า ‘อุปาทานขันธ์ ๕’ คือ ๑. รูปูปาทานขันธ์ ๒. เวทนูปาทานขันธ์ ๓. สัญญูปาทานขันธ์ ๔. สังขารูปาทานขันธ์ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร คือ (๑) อวิชชา (๒) ภวตัณหา ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๙๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]

๘. นครวินเทยยสูตร

ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร คือ (๑) วิชชา (๒) วิมุตติ๑- ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
สฬายตนวิภังคสูตรที่ ๗ จบ
๘. นครวินเทยยสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านนครวินทะ
[๔๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์ของชาวแคว้นโกศลชื่อนครวินทะ พราหมณ์ และคหบดีชาวบ้านนครวินทะ ได้ทราบข่าวว่า “ท่านพระสมณโคดมผู้เป็นศากยบุตร เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงนครวินทะ โดยลำดับ ท่านพระโคดมนั้น มีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพรียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ @เชิงอรรถ : @ วิชชา หมายถึงวิชชาคืออรหัตตมรรค วิมุตติ หมายถึงผลวิมุตติ (ม.อุ.อ. ๓/๔๓๓/๒๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๙๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๔๘๗-๔๙๓. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=14&siri=49              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10555&Z=10674                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=825              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=825&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=6438              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=825&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=6438                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i825-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i825-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.149.than.html https://suttacentral.net/mn149/en/sujato https://suttacentral.net/mn149/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :