ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๙. รตนวรรค ๑๐. นันทสิกขาบท นิทานวัตถุ

๙. รตนวรรค
๑๐. นันทสิกขาบท
ว่าด้วยพระนันทะ
เรื่องพระนันทะ
[๕๔๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระนันทะ โอรสพระมาตุจฉา ของพระผู้มีพระภาค มีรูปงาม น่าดู น่าชม ร่างต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค ๔ องคุลี ท่านพระนันทะนั้นห่มจีวรมีขนาดเท่าจีวรพระสุคต ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระได้ เห็นท่านพระนันทะเดินมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้วจึงลุกขึ้นจากอาสนะด้วยคิดว่า “พระ ผู้มีพระภาคเสด็จมา” เมื่อท่านพระนันทะเข้ามาใกล้ จึงจำได้ แล้วพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระนันทะจึงห่มจีวรมีขนาดเท่าจีวรพระสุคตเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระนันทะโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระนันทะว่า “นันทะ ทราบว่า เธอห่มจีวรมีขนาดเท่าสุคตจีวร จริงหรือ” ท่านพระนันทะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ นันทะ ไฉนเธอจึงห่มจีวรมีขนาดเท่าสุคตจีวรเล่า นันทะ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๒๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๙. รตนวรรค ๑๐. นันทสิกขาบท บทภาชนีย์

พระบัญญัติ
[๕๔๘] ก็ ภิกษุทำจีวรมีขนาดเท่ากับสุคตจีวร หรือใหญ่กว่า ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ที่ชื่อว่าเฉทนกะ ขนาดเท่าสุคตจีวรของสุคตในข้อนั้น คือ ยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ โดยคืบสุคต นี้เป็นขนาดเท่าสุคตจีวรของพระสุคต
เรื่องพระนันทะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๔๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ขนาดเท่าสุคตจีวร คือ ยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ โดยคืบสุคต คำว่า ทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ในขณะที่ทำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องตัดออกเสียก่อนแล้วแสดงอาบัติ
บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๕๐] ภิกษุทำจีวร(เท่าสุคตจีวร)ที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำจีวรที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุทำจีวรที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำจีวรที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๒๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๙. รตนวรรค รวมสิกขาบทที่มีในรตนวรรค

ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุได้จีวรที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๕๑] ๑. ภิกษุทำจีวรต่ำกว่าขนาด ๒. ภิกษุได้จีวรที่ผู้อื่นทำเสร็จมาตัดแล้วใช้ ๓. ภิกษุทำเป็นผ้าเพดาน ผ้าปูพื้น ผ้าม่าน เปลือกฟูกหรือปลอกหมอน ๔. ภิกษุวิกลจริต ๕. ภิกษุต้นบัญญัติ
นันทสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
รตนวรรคที่ ๙ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในรตนวรรค
รตนวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ ๑. อันเตปุรสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าเขตพระราชฐานชั้นใน ๒. รตนสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บรัตนะที่เจ้าของลืมไว้ ๓. วิกาลคามปเวสนสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าบ้านในเวลาวิกาล ๔. สูจิฆรสิกขาบท ว่าด้วยการทำกล่องเข็มด้วยกระดูกเป็นต้น ๕. มัญจปีฐสิกขาบท ว่าด้วยการทำเตียงและตั่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๒๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

บทสรุป

๖. ตูโลนัทธสิกขาบท ว่าด้วยการทำเตียงและตั่งหุ้มนุ่น ๗. นิสีทนสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้ารองนั่ง ๘. กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าปิดฝี ๙. วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าอาบน้ำฝน ๑๐. นันทสิกขาบท ว่าด้วยท่านพระนันทะ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๒๓-๖๒๖. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=2&siri=128              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=14722&Z=14776                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=776              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=776&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10277              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=776&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10277                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc92/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc92/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :