บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๑. จีวรวรรค ๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. จีวรวรรค ๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร [๕๑๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร เชี่ยวชาญการแสดงธรรมีกถา บุตรเศรษฐีคนหนึ่งเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว จึงไหว้ท่าน นั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้ชี้แจงให้บุตร เศรษฐีเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา๑- บุตรเศรษฐีนั้นอันท่านพระอุปนันทศากยบุตรชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับ เอาไปปฏิบติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วจึงปวารณาท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าพึงบอก ปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่ท่านต้องการ ซึ่งกระผมพอจะจัดหามาถวายได้ @เชิงอรรถ : @๑ เรียกว่า ลีลาการสอน หรือ เทศนาวิธี ๔ คือ (๑) สันทัสสนา ชี้แจงให้เห็นชัด (๒) สมาทปนา ชวนให้ @อยากรับเอาไปปฏิบัติ (๓) สมุตเตชนา เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า (๔) สัมปหังสนา ปลอบชโลมใจ @ให้สดชื่นร่าเริง (มาในบาลีมากแห่ง วิ.มหา. ๑/๒๒-๒๔/๑๓-๑๔, ๒๙๐/๒๒๒, วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๗๘๓/๗๒-๗๓, @วิ.ม. ๔/๒๙/๒๕, ๘๙-๙๐/๑๐๖-๑๐๗, ๑๐๕/๑๒๐, ๑๓๒/๑๔๖, ๑๓๗/๑๕๐, วิ.ม. ๕/๒๗๐/๓๘, ๒๗๖/๔๕, @๒๘๐-๒๘๑/๕๐-๕๒, ๒๘๘/๖๕, ๒๙๔/๗๔, ๒๙๘/๘๑, ๓๓๗/๑๓๙, วิ.จู. ๖/๓๓/๔๓-๔๔, ๑๙๒/๒๒๕, @ วิ.จู. ๗/๒๖๐/๒๑, ๒๖๘-๒๖๙/๓๓-๓๔, ๔๐๔/๒๓๗, ๔๔๕/๒๘๒, ที.สี. ๙/๓๔๔/๑๔๐, ๓๕๘/๑๕๐, @ที.ม. ๑๐/๑๖๑-๑๖๒/๘๗-๘๙, ๑๙๔/๑๑๗-๑๑๘, ที.ปา. ๑๑/๓๔/๒๒, ๒๙๙/๑๘๙, ม.มู. ๑๒/๒๕๒-๒๕๖/๒๑๕-๒๑๗, @๒๘๙/๒๕๓-๒๕๔, ม.ม. ๑๓/๒๒/๑๘, ๒๘๕/๒๖๑, ๓๗๑/๓๕๕, สํ.ส. ๑๕/๑๕๒-๑๕๕/๑๓๕-๑๓๘, ๑๘๕/๑๘๗, @๒๔๑/๒๕๓, สํ.นิ. ๑๖/๒๔๑/๒๖๕, สํ.ข. ๑๗/๘๑/๗๗, สํ.สฬา. ๑๘/๑๓๓/๑๑๔, องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๒/๑๕๖, @๒๔/๑๘๐, ๗๘/๒๗๓, องฺ.นวก. ๔/๒๙๖, องฺ.ทสก. ๒๔/๙๓/๑๕๒, ขุ.อุ. ๒๕/๖๑/๒๐๓, ๗๑-๗๕/๒๑๒-๒๑๕, @ขุ.อิติ. ๒๕/๑๐๔/๓๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๙}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๑. จีวรวรรค ๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท นิทานวัตถุ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า ถ้าโยมต้องการถวายแก่อาตมา ก็ จงถวายผ้าผืนหนึ่งจากผ้าที่โยมนุ่งห่มอยู่นี้ เขากล่าวว่า กระผมเป็นกุลบุตร จะนุ่งผ้าผืนเดียวเดินกลับบ้าน ดูจะไม่เหมาะ นิมนต์รอให้กระผมกลับไปถึงบ้านก่อน แล้วกระผมจะส่งผ้า ๑ ผืนจาก ๒ ผืนนี้ หรือผ้าที่ดีกว่านี้มาถวาย ท่านพระอุปนันทศากยบุตรพูดเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ถ้าโยมต้องการถวายแก่ อาตมา ก็จงถวายผ้าผืนหนึ่งจากผ้าที่โยมนุ่งห่มอยู่นี้ บุตรเศรษฐีก็ยังกล่าวปฏิเสธ อยู่เหมือนเดิมว่า กระผมเป็นกุลบุตร จะนุ่งผ้าผืนเดียวเดินกลับบ้าน ดูจะไม่เหมาะ นิมนต์ท่านรอให้กระผมกลับไปถึงบ้านก่อน แล้วกระผมจะส่งผ้า ๑ ผืนจาก ๒ ผืนนี้ หรือผ้าที่ดีกว่านี้มาถวาย ท่านพระอุปนันทศากยบุตรก็พูดรบเร้าเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ถ้าโยมต้องการถวายแก่อาตมา ก็จงถวายผ้าผืนหนึ่งจากผ้าที่โยมนุ่งห่มอยู่นี้ แต่ เขาก็คงพูดบ่ายเบี่ยงอยู่เหมือนเดิมว่า กระผมเป็นกุลบุตร จะนุ่งผ้าผืนเดียวเดินกลับ บ้าน ดูจะไม่เหมาะ นิมนต์ท่านรอให้กระผมกลับไปถึงบ้านก่อน แล้วกระผมจะส่ง ผ้า ๑ ผืนจาก ๒ ผืนนี้หรือผ้าที่ดีกว่านี้มาถวาย ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า ท่านไม่ต้องการถวาย ก็จะปวารณาไป ทำไม ปวารณาแล้วไม่ถวาย จะมีประโยชน์อะไร เมื่อถูกท่านพระอุปนันทศากยบุตรพูดรบเร้า เขาจึงถวายผ้า ๑ ผืน แล้วกลับไป ถูกชาวบ้านถามว่า นาย ทำไมนุ่งผ้าผืนเดียวกลับมาเล่า บุตรเศรษฐีนั้นจึงบอก เรื่องนั้นให้ชาวบ้านเหล่านั้นทราบ ชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร มักมากไม่สันโดษ สมณะเหล่านี้แม้จะนิมนต์ตามธรรมเนียม ก็ไม่ใช่กระทำได้ง่าย ไฉนเมื่อบุตรเศรษฐีทำการนิมนต์ตามธรรมเนียม พระสมณะทั้งหลายก็ยังจะรับเอา ผ้าไปเล่า พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพระอุปนันทศากยบุตรจึง ออกปากขอจีวรจากบุตรเศรษฐีเล่า ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากย บุตร โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๐}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๑. จีวรวรรค ๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท พระบัญญัติ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า อุปนันทะ ทราบว่า เธอออกปากขอจีวรจาก บุตรเศรษฐี จริงหรือ ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า อุปนันทะ บุตรเศรษฐีเป็นญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลตอบว่า ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า พระพุทธองค์ ทรงตำหนิว่า โมฆบุรุษ คฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ของที่มีอยู่หรือไม่มีของคนผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ เธอนั้นออกปากขอจีวรจากบุตร เศรษฐีผู้ไม่ใช่ญาติเชียวหรือ โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่ง ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ [๕๑๖] ก็ ภิกษุใดออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิง ผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ เรื่องภิกษุถูกชิงจีวร [๕๑๗] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลจากเมืองสาเกตไปกรุงสาวัตถี ใน ระหว่างทาง พวกโจรออกมาปล้นภิกษุเหล่านั้น พวกเธอคิดว่า การออกปากขอ จีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิง พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้แล้ว จึงรังเกียจ ไม่ยอมออกปากขอจีวรเลย เปลือยกายไปถึงกรุงสาวัตถี ไหว้ภิกษุทั้งหลาย พวก ภิกษุจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกอาชีวกที่พากันไหว้ภิกษุเหล่านี้ เป็นพวก อาชีวกที่ดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๑}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๑. จีวรวรรค ๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ภิกษุชาวเมืองสาเกตกล่าวอย่างนี้ว่า พวกกระผมไม่ใช่อาชีวก พวกกระผม เป็นภิกษุ ภิกษุชาวกรุงสาวัตถีได้กล่าวกับพระอุบาลีว่า ท่านอุบาลี นิมนต์ท่านไต่สวน ภิกษุเหล่านี้เถิด เมื่อภิกษุเหล่านั้นถูกพระอุบาลีไต่สวน จึงเล่าเรื่องนั้นให้ทราบ ครั้นไต่สวนแล้ว พระอุบาลีแจ้งว่า พวกเปลือยกายเหล่านี้เป็นภิกษุ จงให้จีวร แก่พวกเธอ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ ทั้งหลายจึงเปลือยกายเดินมาเล่า ตามธรรมดาภิกษุต้องใช้หญ้าหรือใบไม้ปกปิดเดิน มา มิใช่หรือ ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงอนุญาตให้ขอจีวรได้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถูกโจรชิงจีวร หรือจีวรหาย ออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติได้ ถ้าวัดที่ภิกษุไปถึง ก่อน มีจีวรประจำวิหาร ผ้าปูเตียง ผ้าปูพื้นหรือผ้าปลอกฟูกของสงฆ์ ก็พึงถือเอา ผ้าของสงฆ์ไปห่มโดยตั้งใจว่า เมื่อเราได้จีวรแล้วจะนำมาคืน ดังนี้ก็ควร ถ้าไม่มีจีวร ประจำวิหาร ผ้าปูเตียง ผ้าปูพื้นหรือผ้าปลอกฟูกของสงฆ์ ควรใช้หญ้าหรือใบไม้ ปกปิดมา อนึ่ง ภิกษุไม่พึงเปลือยกายเดินมา ภิกษุใดเปลือยกายเดินมา ต้องอาบัติ ทุกกฏ แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระอนุบัญญัติ [๕๑๘] อนึ่ง ภิกษุใดออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้ ไม่ใช่ญาติ นอกสมัย ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ ภิกษุถูก ชิงจีวรไป หรือจีวรสูญหาย นี้เป็นสมัยในข้อนั้นเรื่องภิกษุถูกชิงจีวร จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๒}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๑. จีวรวรรค ๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์ [๕๑๙] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา ตลอดเจ็ดชั่วคน ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ชาย ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือน ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์หญิง ได้แก่ สตรีผู้ครองเรือน ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะ วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย ที่ชื่อว่า ภิกษุถูกชิงจีวรไป ได้แก่ จีวรของภิกษุที่พระราชา โจร นักเลงหรือ คนบางพวกชิงเอาไป ที่ชื่อว่า จีวรสูญหาย ได้แก่ จีวรของภิกษุถูกไฟไหม้ น้ำพัด หนูหรือปลวกกัด หรือที่ใช้สอยจนเก่า ภิกษุออกปากขอนอกสมัย ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์ เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์ สละแก่สงฆ์ ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้กระผม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๓}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๑. จีวรวรรค ๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ออกปากขอจากคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ นอกสมัย เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้ แก่สงฆ์ ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้สละแก่คณะ ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ กระผมออกปากขอจากคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ นอกสมัย เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวร ผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า ท่าน ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้สละแก่บุคคล ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมออกปากขอ จากคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ นอกสมัย เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า กระผม คืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๔}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๑. จีวรวรรค ๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์ ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์ [๕๒๐] คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ขอจีวรนอกสมัย ต้อง อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ขอจีวรนอกสมัย ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ขอจีวรนอกสมัย ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ทุกทุกกฏ คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ขอจีวรนอกสมัย ต้องอาบัติทุกกฏ คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ขอจีวรนอกสมัย ต้องอาบัติทุกกฏ คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ขอจีวรนอกสมัย ไม่ต้องอาบัติอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๒๑] ๑. ภิกษุออกปากขอในสมัย ๒. ภิกษุออกปากขอจากญาติ ๓. ภิกษุออกปากขอจากคนปวารณา ๔. ภิกษุออกปากขอเพื่อภิกษุรูปอื่น ๕. ภิกษุซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติอัญญาตกวิญญัตติสิกขาบทที่ ๖ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๕}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๙-๔๕. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=2&siri=6 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=911&Z=1088 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=53 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=53&items=5 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=4049 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=53&items=5 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=4049 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np6/en/brahmali
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]