ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๕. หัตถกสูตร

๕. หัตถกสูตร
ว่าด้วยหัตถกกุมารทูลถามถึงความสุข
[๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่บนที่ลาดใบไม้ในสีสปาวัน (ป่าไม้สีเสียด) ใกล้ทางเดินของโค เขตกรุงอาฬวี ครั้งนั้น หัตถกกุมารชาวกรุงอาฬวี เดินพักผ่อนอิริยาบถ ได้เห็นพระผู้มีพระ ภาคประทับนั่งบนที่ลาดใบไม้ในสีสปาวัน ใกล้ทางเดินของโค จึงเข้าไปเฝ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระ ผู้มีพระภาคผู้เจริญ พระองค์ทรงอยู่สุขสบายดีหรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่างนั้น กุมาร เราอยู่เป็นสุขดี และเราเป็น หนึ่งในบรรดาคนที่อยู่เป็นสุขในโลก” หัตถกกุมารกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีในฤดูหนาวตั้งอยู่ใน ระหว่าง๑- เป็นสมัยที่หิมะตกพื้นดินแข็ง แตกระแหง ที่ลาดใบไม้บาง ใบไม้ทั้งหลาย อยู่ห่างกัน ผ้ากาสายะ(ผ้าย้อมน้ำฝาด)เย็น และลมเวรัมภะ๒- ที่เยือกเย็นก็กำลังพัด” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่า “อย่างนั้น กุมาร เราอยู่สุขสบายดี เราเป็นหนึ่งในบรรดาคนที่อยู่เป็นสุขในโลก” พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปอีกว่า “ถ้าอย่างนั้นในเรื่องนี้ เราจักย้อนถามเธอ เธอพึงตอบปัญหานั้นตามที่เธอชอบใจ เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร เรือนยอด๓- ของ คหบดีหรือบุตรคหบดีในโลกนี้ที่เขาโบกทั้งภายในและภายนอก ลมพัดเข้าไม่ได้ มี @เชิงอรรถ : @ ราตรีในฤดูหนาวตั้งอยู่ในระหว่าง หมายถึงช่วงระยะเวลา ๘ วันที่มีหิมะตก คือช่วงระหว่าง ๔ วัน @ปลายเดือน ๓ กับ ๔ วันต้นเดือน ๔ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๑) @ ลมเวรัมภะ หมายถึงลมที่พัดมาจาก ๔ ทิศพร้อมๆ กัน ส่วนลมที่พัดมาจากทิศใดทิศหนึ่ง ไม่เรียกว่า @ลมเวรัมภะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๑) @ เรือนยอด คือเรือนที่มีหลังคาทรงสูง (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๘๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๕. หัตถกสูตร

บานประตูปิดมิดชิด หน้าต่างปิดสนิท ในเรือนยอดนั้นพึงมีบัลลังก์๑- ลาดด้วยผ้าโกเชาว์๒- ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะลายดอก ไม้ ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด ข้างบนมีเพดาน มีหมอนสีแดง วางไว้ทั้ง ๒ ข้าง๓- และประทีปน้ำมันส่องสว่างอยู่ในเรือนนี้ ประชาบดี ๔ นาง พึงบำรุงด้วยวิธีที่น่าชอบใจ น่าพอใจ เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คหบดีหรือบุตร คหบดีนั้นพึงอยู่เป็นสุขหรือไม่ หรือเธอเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร” “คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นพึงอยู่เป็นสุข และเขาเป็นคนหนึ่งในบรรดาคนที่ อยู่เป็นสุขในโลก พระพุทธเจ้าข้า” “กุมาร เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ความเร่าร้อนทางกายหรือทางใจที่เกิด เพราะราคะซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ที่ถูกแผดเผาอยู่เป็นทุกข์ พึงเกิดขึ้นแก่คหบดีหรือบุตร คหบดีนั้นบ้างไหม” “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “กุมาร คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะราคะใดแผดเผา อยู่พึงอยู่เป็นทุกข์ ราคะนั้นตถาคตละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้น ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราจึงอยู่เป็นสุข กุมาร เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ความเร่าร้อนทางกายหรือทางใจ ที่เกิดเพราะโทสะ ฯลฯ ความเร่าร้อนทางกายหรือทางใจที่เกิดเพราะโมหะ ซึ่งเป็น เหตุให้ผู้ที่ถูกแผดเผาอยู่เป็นทุกข์ พึงเกิดขึ้นแก่คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นบ้างไหม” “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “กุมาร คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นถูกความเร่าร้อนที่เกิดจากโมหะใดแผดเผาอยู่ โมหะนั้นตถาคตละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนได้เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด รากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราจึงอยู่เป็นสุข” @เชิงอรรถ : @ บัลลังก์ ในที่นี้หมายถึงเตียงมีเท้าแกะสลักเป็นรูปสัตว์ร้าย (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙) @ ผ้าโกเชาว์ หมายถึงผ้าที่ทำด้วยขนแพะหรือขนแกะผืนใหญ่ มีขนยาวเกิน ๔ นิ้ว (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙) @ หมอนสีแดงวางไว้ทั้ง ๒ ข้าง นี้หมายถึงหมอนที่ใช้สำหรับหนุนศีรษะ ๑ ใบ และใช้หนุนเท้า ๑ ใบ วาง @ไว้ส่วนศีรษะและส่วนเท้า (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙-๑๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๖. เทวทูตสูตร

พราหมณ์๑- ผู้ดับกิเลสแล้วย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ ผู้ไม่ติดอยู่ในกาม๒- เป็นคนเยือกเย็น ไม่มีอุปธิกิเลส ตัดกิเลสเครื่องข้องทุกอย่างแล้ว พึงกำจัดความกระวนกระวายในใจ เข้าถึงความสงบ๓- ย่อมอยู่เป็นสุข
หัตถกสูตรที่ ๕ จบ
๖. เทวทูตสูตร
ว่าด้วยเทวทูต
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย เทวทูต๔- ๓ จำพวกนี้ เทวทูต ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติกายทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยกาย) วจีทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยวาจา) และมโนทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วย ใจ) หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นาย นิรยบาล๕- จับแขนเขาไปแสดงต่อพญายม๖- ว่า “ขอเดชะ คนผู้นี้ไม่เกื้อกูล มารดา ไม่เกื้อกูลบิดา ไม่เกื้อกูลสมณะ ไม่เกื้อกูลพราหมณ์ และไม่ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล ขอพระองค์จงลงโทษแก่คนผู้นี้เถิด” @เชิงอรรถ : @ พราหมณ์ ในที่นี้หมายถึงผู้สิ้นอาสวะ ลอยบาปได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๒) @ ไม่ติดอยู่ในกาม ในที่นี้หมายถึงไม่ติดอยู่ในวัตถุกามและกิเลสกามด้วยอำนาจกิเลสคือตัณหาและ @มิจฉาทิฏฐิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๒) @ ความสงบ ในที่นี้หมายถึงกิเลสนิพพาน(ความดับกิเลส) (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๒) @ เทวทูต ในทีนี้หมายถึงสื่อแจ้งข่าวมฤตยู เป็นสัญญาณที่เตือนให้ระลึกถึงคติธรรมดาของชีวิตมิให้ประมาท @ได้แก่ ความแก่ ความเจ็บ และความตาย ปรากฏเสมือนเทวดาทรงเครื่องประดับมายืนในอากาศ เตือนว่า @“วันโน้นท่านจะตาย” (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๖/๑๓๒) @ นายนิรยบาล หมายถึงผู้ทำหน้าที่ลงโทษสัตว์นรก (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๖/๑๓๓) @ พญายม หมายถึงพญาเวมานิกเปรต ซึ่งบางครั้งเสวยสมบัติในวิมานทิพย์ บางคราวเสวยวิบากแห่งกรรม @และพญายมนั้นมิใช่มีตนเดียว แต่มีถึง ๔ ตน ประจำประตูนรก ๔ ประตู (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๖/๑๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๘๙-๑๙๑. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=20&siri=79              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=3583&Z=3628                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=474              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=474&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=2946              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=474&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=2946                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i470-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.034.than.html https://suttacentral.net/an3.35/en/sujato https://suttacentral.net/an3.35/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :