ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๐. นาคิตสูตร
ว่าด้วยพระนาคิตะ
[๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์แคว้นโกศลชื่ออิจฉานังคละ เล่ากันว่า คราวนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ราวป่าชื่ออิจฉานังคละใกล้หมู่บ้านพราหมณ์ ชื่ออิจฉานังคละ พวกพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละได้ทราบข่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงพระผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงบ้าน อิจฉานังคละ ประทับอยู่ที่ราวป่าชื่ออิจฉานังคละใกล้หมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออิจฉานังคละ ท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่าง ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี พระภาค’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปัญจังคิกวรรค ๑๐. นาคิตสูตร

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่น รู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น๑- มีความงามในท่ามกลาง มีความงาม ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์๒- พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์เช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง” ครั้นคืนนั้นผ่านไป พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละ จึงพากันถือเอา ของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากเข้าไปถึงราวป่าชื่ออิจฉานังคละ ได้ยืนชุมนุมกันส่งเสียง อื้ออึงที่ซุ้มประตูด้านนอก สมัยนั้นแล ท่านพระนาคิตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาครับสั่งเรียกท่านพระนาคิตะมาตรัสถามว่า “นาคิตะ คนพวกไหนส่งเสียง อื้ออึงอยู่นั้น คล้ายพวกชาวประมงแย่งปลากัน” ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์และคหบดีชาว บ้านอิจฉานังคละเหล่านั้นพากันถือของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากมายืนชุมนุมกันอยู่ที่ ซุ้มประตูด้านนอก เพื่อถวายพระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่ได้ ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข๓- ปวิเวกสุข อุปสมสุข สัมโพธสุขที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้ ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ และสุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและ การสรรเสริญ” @เชิงอรรถ : @ ธรรมมีความงามในเบื้องต้น หมายถึงศีล ธรรมมีความงามในท่ามกลาง หมายถึงอริยมรรค และธรรม @มีความงามในที่สุด หมายถึงนิพพาน (ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๕๙) @ พรหมจรรย์ หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มีนัย ๑๐ ประการ คือ ทาน (การให้) เวยยาวัจจะ (การ @ขวนขวายช่วยเหลือ) ปัญจสีละ (ศีลห้า) อัปปมัญญา (การประพฤติพรหมวิหารอย่างไม่มีขอบเขต) เมถุนวิรัติ @(การงดเว้นจากการเสพเมถุน) สทารสันโดษ (ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน) วิริยะ (ความเพียร) @อุโปสถังคะ (องค์อุโบสถ) อริยมรรค (ทางอันประเสริฐ) และศาสนา (พระพุทธศาสนา) ในที่นี้หมายถึงศาสนา @(ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๖๐-๑๖๒) @ เนกขัมมสุข หมายถึงสุขเกิดจากบรรพชา(การบวช) @ปวิเวกสุข หมายถึงสุขเกิดจากความสงัดจากอุปธิกิเลสทางกายและใจ @อุปสมสุข หมายถึงสุขในผลสมาบัติที่ให้กิเลสสงบระงับ @สัมโพธสุข หมายถึงสุขในอริยมรรค (ขุ.จู.อ. ๑๔๐/๑๓๓) และดู ม.อุ. ๑๔/๓๒๘/๓๐๐, @ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๔๐/๔๕๑ ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปัญจังคิกวรรค ๑๐. นาคิตสูตร

ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาค ผู้สุคตจงทรงรับ บัดนี้ เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคจะทรงรับ พระองค์จักเสด็จไป ทางใดๆ พราหมณ์คหบดีชาวนิคมและชาวชนบทก็จักหลั่งไหลไปทางนั้นๆ เปรียบ เหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงมา น้ำย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ พระผู้มีพระภาคทรงมีศีลและปัญญา” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่ได้ ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ปวิเวกสุข อุปสมสุข สัมโพธสุขที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้ ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ และสุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและ การสรรเสริญ นาคิตะ อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มย่อมกลายเป็นอุจจาระและปัสสาวะ นี้เป็นผลแห่งอาหารนั้น ปิยชนเกิดมีโสกะ(ความโศก) ปริเทวะ(ความร่ำไร) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความแค้นใจ) เพราะสิ่งที่รัก แปรเป็นอื่นไป นี้เป็นผลแห่งความรักนั้น ความเป็นของปฏิกูลในอสุภนิมิต๑- ย่อมตั้ง อยู่แก่ภิกษุผู้ขวนขวายการประกอบตามอสุภนิมิต นี้เป็นผลแห่งการประกอบตาม อสุภนิมิตนั้น ความเป็นของปฏิกูลในผัสสะ ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยงในผัสสายตนะ๒- ๖ อยู่ นี้เป็นผลแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงใน @เชิงอรรถ : @ อสุภนิมิต ในที่นี้หมายถึงอสุภกัมมัฏฐาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๐/๑๓) @ ผัสสายตนะ หมายถึงความกระทบ ความประจวบกันระหว่างอายตนะภายในกับอายตนะภายนอก @โดยมีวิญญาณเป็นตัวรู้ คือ @(๑) จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ) @(๒) โสตสัมผัส (ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ) @(๓) ฆานสัมผัส (ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ) @(๔) ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ) @(๕) กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ+กายวิญญาณ) @(๖) มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์+มโนวิญญาณ) @(ที.ปา. ๑๑/๓๒๓/๒๑๕, สํ.นิ. ๑๖/๒/๔) และดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๕๕-๑๖๖/๑๑๓-๑๑๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปัญจังคิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ผัสสายตนะนั้น ความเป็นของปฏิกูลในอุปาทาน ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็น ความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์๑- ๕ นี้เป็นผลแห่งการพิจารณาเห็นความเกิด และความดับในอุปาทานขันธ์นั้น”
นาคิตสูตรที่ ๑๐ จบ
ปัญจังคิกวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมอคารวสูตร ๒. ทุติยอคารวสูตร ๓. อุปกิเลสสูตร ๔. ทุสสีลสูตร ๕. อนุคคหิตสูตร ๖. วิมุตตายตนสูตร ๗. สมาธิสูตร ๘. ปัญจังคิกสูตร ๙. จังกมสูตร ๑๐. นาคิตสูตร @เชิงอรรถ : @ อุปาทานขันธ์ มาจาก อุปาทาน + ขันธ์ แยกอธิบายความหมายได้ดังนี้ (๑) อุปาทาน แปลว่า ความถือมั่น @(อุป = มั่น + อาทาน = ถือ) มีความหมายหลายนัย เช่น หมายถึงชื่อของราคะที่ประกอบด้วยกามคุณ ๕ @(ปญฺจกามคุณิกราคสฺเสตํ อธิวจนํ-สํ.ข.อ. ๒/๑/๑๖, อภิ.สงฺ.อ. ๑๒๑๙/๔๔๒) บ้าง หมายถึงความถือมั่นด้วย @อำนาจตัณหา มานะ และทิฏฐิ (ตามนัย สํ.ข.อ. ๒/๖๓/๓๐๘) บ้าง (๒) ขันธ์ แปลว่า กอง (ตสฺส (ขนฺธสฺส) @ราสิอาทิวเสน อตฺโถ เวทิตพฺโพ-อภิ.สงฺ.อ. ๕/๑๙๒) ดังนั้น อุปาทานขันธ์ จึงหมายถึงกองอันเป็นอารมณ์ @แห่งความถือมั่น (อุปาทานานํ อารมฺมณภูตา ขนฺธา = อุปาทานขนฺธา-สํ.ข.ฏีกา ๒๒/๒๕๔) และดู @ที.ปา. ๑๑/๓๑๑/๒๐๔ @เมื่อนำองค์ธรรมคือขันธ์ ๕ มารวมกับอุปาทานขันธ์ เช่น วิญฺญาณูปาทานกฺขนฺโธ จึงแปลได้ว่า “กอง @อันเป็นอารมณ์แห่งความถือมั่นคือวิญญาณ” ตามนัย อภิ.สงฺ.อ. ๕/๑๙๒ ว่า “วิญฺญาณเมว ขนฺโธ = @วิญฺญาณกฺขนฺโธ” (กองคือวิญญาณ) @อนึ่ง เมื่อกล่าวโดยสรุป อุปาทานขันธ์ หมายถึงทุกข์ ตามบาลีว่า “สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา @ทุกฺขา” แปลว่า “ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์” (ม.อุ. ๔/๓๗๓/๓๑๙, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐-๔๑, @อภิ.วิ.อ. ๒๐๒/๑๑๗) และดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒๐๒/๑๖๖ ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๑-๔๔. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=22&siri=30              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=636&Z=695                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=30              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=30&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=277              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=30&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=277                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i021-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.030.than.html https://suttacentral.net/an5.30/en/sujato https://suttacentral.net/an5.30/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :