ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๑๐. ทุติยโกสลสูตร

๑๐. ทุติยโกสลสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าปเสนทิโกศล สูตรที่ ๒
[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จกลับจากการรบ ทรงชนะสงครามมาสมพระราชประสงค์แล้ว ได้เสด็จไปยังอาราม โดยพระราชยาน เท่าที่ยานจะไปได้ เสด็จลงจากพระราชยานแล้ว เสด็จไปด้วยพระบาทเข้าไปยังอาราม สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินจงกรมอยู่ที่กลางแจ้ง พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จ เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสถามว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ บัดนี้ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ โยมประสงค์จะเฝ้าพระองค์” ภิกษุเหล่านั้นถวายพระพรว่า “ขอมหาบพิตรจงเงียบเสียงเสด็จเข้าไปยังพระ วิหารหลังนี้ซึ่งมีประตูปิดสนิทดีแล้ว อย่าทรงรีบด่วน เสด็จเข้าไปยังระเบียง ทรง กระแอม แล้วทรงใช้ปลายพระนขาเคาะบานประตูนิดหน่อยเถิด พระผู้มีพระภาคจัก ทรงเปิดประตู” พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงเงียบเสียงเสด็จเข้าไปยังพระวิหารหลังนั้นซึ่งมี ประตูปิดสนิทดีแล้ว มิได้ทรงรีบด่วน เสด็จเข้าไปยังระเบียง ทรงกระแอมแล้วใช้ ปลายพระนขาเคาะบานประตูนิดหน่อย พระผู้มีพระภาคทรงเปิดประตูรับ พระเจ้า ปเสนทิโกศลจึงเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ซบพระเศียรลงที่พระยุคลบาทของพระผู้มี พระภาคแล้วจุมพิตพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระโอษฐ์ ทรงนวดด้วย พระหัตถ์ทั้งสอง และทรงประกาศพระนามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน คือพระเจ้าปเสนทิโกศล หม่อมฉัน คือพระเจ้าปเสนทิโกศล” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรงเห็นอำนาจประโยชน์ อะไรเล่า จึงทรงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเช่นนี้ในสรีระนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๗๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๑๐. ทุติยโกสลสูตร

พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นความ กตัญญูกตเวที จึงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่ง เช่นนี้ในพระผู้มี พระภาคเพราะ ๑. พระผู้มีพระภาคทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อเกื้อกูลแก่ คนหมู่มาก ทรงให้คนหมู่มากดำรงอยู่ในอริยญายธรรม คือความเป็นผู้ มีกัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อม ฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตา อย่างยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค ๒. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีศีล มีศีลอันเจริญ มีศีลอันประเสริฐ มีศีลอัน เป็นกุศล ทรงเป็นผู้ประกอบด้วยกุศล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน เห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่ง เช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค ๓. พระผู้มีพระภาคทรงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ทรงอยู่อาศัยเสนาสนะอัน สงัดซึ่งตั้งอยู่ในแนวป่าตลอดกาลนาน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน เห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่าง ยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค ๔. พระผู้มีพระภาคทรงสันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน- ปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็น อำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเช่น นี้ในพระผู้มีพระภาค ๕. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความ นอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๗๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๑๐. ทุติยโกสลสูตร

๖. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง เป็น สัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต๑- คือ อัปปิจฉกถา(เรื่องความมักน้อย) สันตุฏฐิกถา(เรื่องความสันโดษ) ปวิเวกกถา(เรื่องความสงัด) อสังสัคค- กถา(เรื่องความไม่คลุกคลี) วิริยารัมภกถา(เรื่องการปรารภความเพียร) สีลกถา(เรื่องศีล) สมาธิกถา(เรื่องสมาธิ) ปัญญากถา(เรื่องปัญญา) วิมุตติกถา(เรื่องวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนกถา(เรื่องความรู้ความเห็นใน วิมุตติ) ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ข้าแต่พระ องค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อม ประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค ๗. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็น สุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อม ประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค ๘. พระผู้มีพระภาคทรงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏกัปเป็นอันมาก บ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ @เชิงอรรถ : @ เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต หมายถึงเป็นที่สบายและเป็นอุปการะแก่การชักนำจิตเข้าสู่สมถะ @และวิปัสสนา (องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๕) ในที่นี้บาลีเป็น “เจโตวิจรณสปฺปายา” แต่ในฉบับภาษาอังกฤษ @และฉบับฉัฏฐสังคีติ เป็น “เจโตวิวรณสปฺปายา” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๗๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๑๐. ทุติยโกสลสูตร

และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นแล้วจึงมาเกิดในภพนี้’ พระองค์ทรง ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความ นอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเห็นปานนี้ในพระผู้มีพระภาค ๙. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ทรงรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า “หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวน ผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโน- สุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำ ตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ พระองค์ทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ทรงรู้ ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์เจริญ หม่อมฉัน เห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตา อย่างยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค ๑๐. พระผู้มีพระภาคทรงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อม ประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค ถ้าอย่างนั้น บัดนี้ หม่อมฉันขอทูลลากลับเพราะมีกิจ มีหน้าที่ที่จะต้องทำ อีกมาก พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๗๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ขอพระองค์จงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด มหาบพิตร” ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลุกขึ้นจากพระราชอาสน์ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับไป
ทุติยโกสลสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สีหนาทสูตร ๒. อธิมุตติปทสูตร ๓. กายสูตร ๔. มหาจุนทสูตร ๕. กสิณสูตร ๖. กาลีสูตร ๗. ปฐมมหาปัญหาสูตร ๘. ทุติยมหาปัญหาสูตร ๙. ปฐมโกสลสูตร ๑๐. ทุติยโกสลสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๘๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๗๖-๘๐. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=24&siri=30              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=1590&Z=1690                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=30              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=30&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7634              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=30&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7634                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i021-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an10.30/en/sujato https://suttacentral.net/an10.30/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :