ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๔. เมฆิยวรรค]

๘. สุนทรีสูตร

๘. สุนทรีสูตร
ว่าด้วยนางสุนทรีปริพาชิกา
[๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ที่มหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ทรงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย- เภสัชบริขาร แม้ภิกษุสงฆ์ก็เป็นผู้ที่มหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ส่วนพวกอัญเดียรถีย์ ปริพาชกเป็นผู้ที่มหาชนไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ไม่นอบน้อม ไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ครั้งนั้น พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกทนเห็นสักการะเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์ไม่ได้ จึงพากันไปหานางสุนทรีปริพาชิกาถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับนางสุนทรี ปริพาชิกาดังนี้ว่า “น้องหญิง เธอสามารถจะทำประโยชน์แก่พวกญาติได้ไหม” นางถามว่า “ท่านเจ้าข้า จะให้ดิฉันทำอะไร ดิฉันสามารถทำได้ เพื่อประโยชน์แก่ พวกญาติ แม้ชีวิตดิฉันก็สละให้ได้” พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกจึงกล่าวว่า “ดีละ น้องหญิง ถ้าอย่างนั้น เธอจง ไปพระเชตวันเนืองๆ” นางสุนทรีปริพาชิการับคำของอัญเดียรถีย์ปริพาชกแล้วไป พระเชตวันเนืองๆ เมื่อพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นรู้ว่า คนจำนวนมากเห็นนางสุนทรี ปริพาชิกาไปพระเชตวันเนืองๆ จึงได้จ้างนักเลงให้ฆ่านาง แล้วหมกไว้ในคูรอบ พระเชตวันนั่นเอง จากนั้นได้พากันเข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลดังนี้ว่า “ขอเดชะ มหาบพิตร อาตมภาพทั้งหลาย ไม่เห็นนางสุนทรีปริพาชิกาเลย” พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลายสงสัยที่ไหนเล่า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๔. เมฆิยวรรค]

๘. สุนทรีสูตร

พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกทูลตอบว่า “ที่พระเชตวัน มหาบพิตร” พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งว่า “ถ้าอย่างนั้น พระคุณเจ้าทั้งหลายจงค้นพระเชตวัน ดูเถิด” ลำดับนั้น อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นจึงค้นพระเชตวันแล้วขุดศพนาง สุนทรีปริพาชิกาตามที่ตนสั่งให้หมกไว้ขึ้นจากคู ยกขึ้นเตียงแล้วให้หามเข้าไปยัง กรุงสาวัตถี เดินจากถนนนี้ไปถนนโน้น จากตรอกนี้ไปตรอกโน้น พร้อมกับให้ คนทั้งหลายโพนทนาว่า “ท่านทั้งหลาย เชิญดูการกระทำของพวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเถิด พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ไม่มียางอาย ทุศีล มีธรรมเลวทราม กล่าวเท็จ ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ความจริง พระเหล่านี้ถึงจะปฏิญญาว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวคำจริง มีศีล มีกัลยาณธรรม แต่พระ เหล่านี้ไม่มีความเป็นสมณะ ไม่มีความเป็นพรหม๑- ความเป็นสมณะของพระเหล่านี้ เสื่อมสิ้นไปแล้ว ความเป็นพรหมของพระเหล่านี้เสื่อมสิ้นไปแล้ว ความเป็นสมณะ ของพระเหล่านี้จะมีแต่ที่ไหน ความเป็นพรหมของพระเหล่านี้จะมีแต่ที่ไหน พระ เหล่านี้ปราศจากความเป็นสมณะ พระเหล่านี้ปราศจากความเป็นพรหมแล้ว ทำไม เป็นชายจึงข่มขืนผู้หญิงแล้วฆ่าเสียเล่า” สมัยนั้น คนทั้งหลายในกรุงสาวัตถีเห็นภิกษุทั้งหลายแล้วด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียนด้วยวาจาหยาบคายที่ไม่ใช่ของสัตบุรุษว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร เหล่านี้ ไม่มียางอาย ทุศีล มีธรรมเลวทราม กล่าวเท็จ ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ความจริง พระเหล่านี้ถึงจะปฏิญญาว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติ พรหมจรรย์ กล่าวคำจริง มีศีล มีกัลยาณธรรม แต่พระเหล่านี้ก็ไม่มีความเป็น สมณะ ไม่มีความเป็นพรหม ความเป็นสมณะของพระเหล่านี้เสื่อมสิ้นไปแล้ว ความเป็นพรหมของพระเหล่านี้เสื่อมสิ้นไปแล้ว ความเป็นสมณะของพระเหล่านี้ @เชิงอรรถ : @ ความเป็นพรหม ในที่นี้หมายถึงความเป็นผู้ประเสริฐ ความเป็นผู้มีบาปอันลอยแล้ว (ขุ.อุ.อ. ๓๘/๒๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๔. เมฆิยวรรค]

๘. สุนทรีสูตร

จะมีแต่ที่ไหน ความเป็นพรหมของพระเหล่านี้จะมีแต่ที่ไหน พระเหล่านี้ปราศจาก ความเป็นสมณะ พระเหล่านี้ปราศจากความเป็นพรหมแล้ว ทำไม เป็นชายจึงข่มขืน ผู้หญิงแล้วฆ่าเสียเล่า” ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขณะนี้ คนทั้งหลายในกรุงสาวัตถี เห็นภิกษุทั้งหลายแล้วด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียนด้วยวาจาหยาบคาย ที่ไม่ใช่ของสัตบุรุษว่า ‘พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ไม่มียางอาย ทุศีล มีธรรมเลวทราม กล่าวเท็จ ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ความจริง พระเหล่านี้ถึงจะ ปฏิญญาว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวคำจริง มีศีล มีกัลยาณธรรม แต่พระเหล่านี้ก็ไม่มีความเป็นสมณะ ไม่มีความเป็นพรหม ความเป็นสมณะของพระเหล่านี้เสื่อมสิ้นไปแล้ว ความเป็นพรหมของพระเหล่านี้เสื่อม สิ้นไปแล้ว ความเป็นสมณะของพระเหล่านี้จะมีแต่ที่ไหน ความเป็นพรหมของพระ เหล่านี้จะมีแต่ที่ไหน พระเหล่านี้ปราศจากความเป็นสมณะ พระเหล่านี้ปราศจาก ความเป็นพรหมแล้ว ทำไม เป็นชายจึงข่มขืนผู้หญิงแล้วฆ่าเสียเล่า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เสียง(โจษ)นั้นจักมีไม่นาน จักมี เพียง ๗ วันเท่านั้น ครั้นพ้น ๗ วันก็จักหายไป ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงกล่าวตอบกับคนทั้งหลายที่เห็นภิกษุแล้วด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียน ด้วยวาจาหยาบคายที่ไม่ใช่ของสัตบุรุษ ด้วยคาถานี้ว่า คนที่ชอบกล่าวคำไม่จริง หรือคนที่ทำความชั่วแล้วกล่าวว่า “ฉันไม่ได้ทำ” ต่างก็ตกนรก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๔. เมฆิยวรรค]

๘. สุนทรีสูตร

คน ๒ จำพวกนั้น ต่างก็มีกรรมชั่ว ตายไปแล้ว มีคติเท่าเทียมกันในโลกหน้า๑- ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายเรียนคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้วกล่าวตอบ คนทั้งหลายที่เห็นภิกษุแล้วด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียนด้วยวาจาหยาบคาย ที่ไม่ใช่ของสัตบุรุษ ด้วยคาถานี้ว่า คนที่ชอบกล่าวคำไม่จริง หรือคนที่ทำความชั่วแล้วกล่าวว่า ‘ฉันไม่ได้ทำ’ ต่างก็ตกนรก คน ๒ จำพวกนั้น ต่างก็มีกรรมชั่ว ตายไปแล้วมีคติเท่าเทียมกันในโลกหน้า คนทั้งหลายได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ คงไม่ ได้ทำความผิด พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้คงไม่ได้ทำบาป พระสมณะเชื้อสาย ศากยบุตรจึงกล่าวสบถเช่นนั้น” เสียง(โจษ)นั้นได้มีอยู่ไม่นาน เสียง(โจษ)ได้มีอยู่ เพียง ๗ วันเท่านั้น ครั้นพ้น ๗ วันก็หายไป ต่อมา ภิกษุจำนวนมากพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัส พระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เสียง(โจษ)นั้นจักมีไม่นาน จักมีเพียง ๗ วันเท่านั้น ครั้นพ้น ๗ วันก็จักหายไป เสียง(โจษ)นั้นก็หายไป พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า @เชิงอรรถ : @ ดูธรรมบท ข้อ ๓๐๖ หน้า ๑๒๘, อิติวุตตกะ ข้อ ๔๘ หน้า ๓๙๙, สุตตนิบาต ข้อ ๖๖๗ หน้า ๖๕๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๔. เมฆิยวรรค]

๙. อุปเสนสูตร

พุทธอุทาน
คนทั้งหลายผู้ไม่สำรวม ชอบกล่าวทิ่มแทงผู้อื่นด้วยวาจา เหมือนทหารข้าศึกทิ่มแทงช้างที่ออกศึกด้วยลูกศร ฉะนั้น ภิกษุผู้มีจิตไม่คิดประทุษร้าย ฟังคำหยาบคาย ที่คนพาลกล่าวแล้ว พึงอดกลั้นไว้ได้
สุนทรีสูตรที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๔๖-๒๕๐. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=25&siri=73              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=2741&Z=2818                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=102              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=102&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=6117              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=102&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=6117                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.4.08.than.html https://suttacentral.net/ud4.8/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud4.8/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :