ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต]

๑๒. พิลารโกสิยชาดก (๔๕๐)

๑๒. พิลารโกสิยชาดก (๔๕๐)
ว่าด้วยท้าวสักกะทรมานเศรษฐีตีนแมว
(ท้าวสักกะตรัสว่า) [๑๒๕] สัตบุรุษทั้งหลายถึงจะไม่หุงต้มกินเอง ได้โภชนะมาก็ปรารถนาที่จะให้ ส่วนท่านหุงต้มกินเอง ไฉนเล่าจึงไม่ให้ การไม่ให้นั้นไม่สมควรเลย [๑๒๖] คนไม่ให้ทานเพราะเหตุ ๒ อย่างนี้ คือ เพราะตระหนี่ ๑ เพราะประมาท ๑ ผู้รู้เมื่อหวังบุญ ควรให้ทาน [๑๒๗] คนตระหนี่กลัวต่อความหิวความกระหายอันใดจึงไม่ให้ทาน ภัยคือความหิวและความกระหายนั่นแหละย่อมมีแก่เขาผู้ไม่ให้ คนตระหนี่กลัวต่อความหิวและความกระหายอันใด ความหิวและความกระหายนั่นแหละย่อมเบียดเบียนเขาผู้เป็นคนพาล ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า [๑๒๘] เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงครอบงำมลทิน กำจัดความตระหนี่แล้วพึงให้ทาน เพราะบุญเป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า (สุริยเทพบุตรเสด็จลงมาแล้ว ขออาหารว่า) [๑๒๙] อสัตบุรุษทั้งหลายเมื่อจะให้ทานชื่อว่าให้ได้ยาก เมื่อจะกระทำกรรมก็ชื่อว่าทำได้ยาก ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายพวกอสัตบุรุษรู้ได้ยาก และพวกอสัตบุรุษก็ทำตามได้ยาก [๑๓๐] เพราะฉะนั้น สัตบุรุษและอสัตบุรุษ จึงมีคติที่ไปจากโลกนี้ต่างกัน คือ พวกอสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก พวกสัตบุรุษย่อมไปสู่สวรรค์๑- @เชิงอรรถ : @ ดูเล่มนี้ หน้า ๗๙, ดู ขุ.ชา. (แปล) ๒๘/๒๒๘๖-๒๒๘๗/๕๓๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต]

๑๒. พิลารโกสิยชาดก (๔๕๐)

(มาตลีเทพบุตรเสด็จมาแสดงธรรมว่า) [๑๓๑] แม้มีไทยธรรมเพียงเล็กน้อย คนพวกหนึ่งก็ให้ คนพวกหนึ่งมีไทยธรรมมาก แต่ไม่ให้ ทักษิณาจากไทยธรรมส่วนน้อยที่บุคคลให้แล้ว นับได้เสมอกับการให้ตั้งพัน (ปัญจสิขเทพบุตรเสด็จมาแสดงธรรมว่า) [๑๓๒] แม้ผู้ใดเที่ยวแสวงหาอาหารเลี้ยงลูกเมีย เมื่อมีรายได้น้อยก็ยังให้ทาน ผู้นั้นชื่อว่าผู้ประพฤติธรรม การบูชาของคนที่บูชายัญด้วยทรัพย์จำนวนพันนับแสนคนเหล่านั้น ยังไม่ถึงแม้เพียงเสี้ยวหนึ่งของคนจนผู้ประพฤติธรรมเช่นนั้นเลย (เศรษฐีได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้กล่าวว่า) [๑๓๓] ยัญอันไพบูลย์เพราะมีค่ามากนี้ เหตุใดจึงไม่มีค่าเท่าเทียมทานที่บุคคลให้แล้วโดยสม่ำเสมอเล่า อนึ่ง การบูชาของคนที่บูชายัญด้วยทรัพย์ จำนวนพันนับแสนคน เหล่านั้นย่อมไม่ถึงแม้เพียงเสี้ยวหนึ่งของคนจน ผู้ประพฤติธรรมเช่นนั้นเป็นอย่างไร (ปัญจสิขเทพบุตรกล่าวว่า) [๑๓๔] เพราะว่าคนพวกหนึ่งตั้งอยู่ในกายกรรมเป็นต้นอันไม่สม่ำเสมอ ทรมานสัตว์บ้าง ฆ่าสัตว์บ้าง ทำให้สัตว์เศร้าโศกบ้าง แล้วจึงให้ทาน ทักษิณานั้นมีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา ประกอบไปด้วยอาชญา จึงไม่เท่าราคาของทานที่เขาให้อย่างสม่ำเสมอ การบูชาของคนที่บูชายัญด้วยทรัพย์จำนวนพันนับแสนคนเหล่านั้น ยังไม่ถึงแม้เพียงเสี้ยวหนึ่งของคนจน ที่ประพฤติธรรมเช่นนั้นด้วยอาการอย่างนี้
พิลารโกสิยชาดกที่ ๑๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๔๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๓๔๓-๓๔๔. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=27&siri=450              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=5845&Z=5881                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1443              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1443&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=10193              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1443&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=10193                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja450/en/rouse



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :