ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๘. อาทีนวญาณนิทเทส

๘. อาทีนวญาณนิทเทส
แสดงอาทีนวญาณ
[๕๓] ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัย ชื่อว่า อาทีนวญาณ เป็นอย่างไร คือ ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความเกิดขึ้นเป็น ภัย” ชื่อว่าอาทีนวญาณ ... “ความเป็นไปเป็นภัย” ... “นิมิต๑- เป็นภัย” “กรรม เป็นเครื่องประมวลมาเป็นภัย” ... “ปฏิสนธิเป็นภัย” ... “คติเป็นภัย” ... “ความ บังเกิดเป็นภัย” ... “ความอุบัติเป็นภัย” ... “ความเกิดเป็นภัย” ... “ความแก่เป็นภัย” ... “ความเจ็บไข้เป็นภัย” ... “ความตายเป็นภัย” ... “ความเศร้าโศกเป็นภัย” ... “ความรำพันเป็นภัย”... ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความคับแค้นใจเป็นภัย” ชื่อว่าอาทีนวญาณ ญาณในสันติบท๒- ว่า “ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย” ... “ความไม่เป็นไปปลอดภัย” ฯลฯ ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย” ญาณในสันติบทว่า “ความเกิดขึ้นเป็นภัย” ... “ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย” ... “ความเป็นไปเป็นภัย” ... “ความไม่เป็นไปปลอดภัย” ฯลฯ “ความคับแค้นใจเป็นภัย” ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย” ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์” ชื่อว่าอาทีนวญาณ ฯลฯ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความคับแค้นใจเป็นทุกข์” ชื่อว่าอาทีนวญาณ ญาณในสันติบทว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข” ... “ความไม่เป็นไปเป็นสุข” ฯลฯ ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข” @เชิงอรรถ : @ นิมิต ในที่นี้หมายถึงสังขารนิมิต (ขุ.ป.อ. ๑/๕๓/๒๘๑) @ สันติบท หมายถึงส่วนแห่งความสงบ อีกนัยหนึ่งคือพระนิพพาน (ขุ.ป.อ. ๑/๕๓/๒๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๘๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๘. อาทีนวญาณนิทเทส

ญาณในสันติบทว่า “ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์” ... “ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข” ... “ความเป็นไปเป็นทุกข์” ... “ความไม่เป็นไปเป็นสุข” ฯลฯ “ความคับแค้นใจเป็นทุกข์” ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข” ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความเกิดขึ้นเป็นอามิส” ชื่อว่าอาทีนวญาณ ... “ความเป็นไปเป็นอามิส” ฯลฯ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความคับแค้นใจเป็นอามิส” ชื่อว่าอาทีนวญาณ ญาณในสันติบทว่า “ความไม่เกิดขึ้นไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เป็นไปไม่เป็น อามิส” ฯลฯ ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจไม่เป็นอามิส” ญาณในสันติบทว่า “ความเกิดขึ้นเป็นอามิส” ... “ความไม่เกิดขึ้นไม่เป็น อามิส” ... “ความเป็นไปเป็นอามิส” ... “ความไม่เป็นไปไม่เป็นอามิส” ฯลฯ “ความคับแค้นใจเป็นอามิส” ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจไม่เป็นอามิส” ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร” ชื่อว่าอาทีนวญาณ ฯลฯ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความคับแค้นใจเป็นสังขาร” ชื่อว่าอาทีนวญาณ ญาณในสันติบทว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน” ... “ความไม่เป็นไปเป็น นิพพาน” ฯลฯ ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน” ญาณในสันติบทว่า “ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร” ... “ความไม่เกิดขึ้นเป็น นิพพาน” ... “ความเป็นไปเป็นสังขาร” ... “ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน” ฯลฯ “ความคับแค้นใจเป็นสังขาร” ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็น นิพพาน” การที่พระโยคาวจรเห็นความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่องประมวลมา และปฏิสนธิว่าเป็นทุกข์ นี้เป็นอาทีนวญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส

การที่พระโยคาวจรเห็นความไม่เกิดขึ้น ความไม่เป็นไป อนิมิต ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา และความไม่มีปฏิสนธิว่าเป็นสุข นี้เป็นญาณในสันติบท อาทีนวญาณนี้ย่อมเกิดขึ้นในฐานะ ๕ ญาณในสันติบทย่อมเกิดขึ้นในฐานะ ๕ พระโยคาวจรรู้ชัดญาณ ๑๐ ประการ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่างๆ เพราะเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัย ชื่อว่า อาทีนวญาณ
อาทีนวญาณนิทเทสที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๘๔-๘๖. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=31&siri=21              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=1394&Z=1433                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=115              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=115&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=6281              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=115&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=6281                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :