ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒
๑๗๔. สุนีธวัสสการวัตถุ๑-
ว่าด้วยมหาอมาตย์สุนีธะและวัสสการะ
เรื่องพุทธทำนายเกี่ยวกับนครปาฏลีบุตร
[๒๘๖] สมัยนั้น สุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอมาตย์แห่งมคธรัฐ กำลังสร้าง เมืองที่ปาฏลิคามเพื่อป้องกันพวกวัชชี พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมเวลาใกล้รุ่ง ทรงเล็งจักษุทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ มนุษย์ ได้ทอดพระเนตรเห็นทวยเทพเป็นจำนวนมากกำลังยึดครองที่ดินในปาฏลิคาม คือ ทวยเทพมีศักดิ์ใหญ่ยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพวกพระราชาและราช มหาอมาตย์ผู้สูงศักดิ์ต่างน้อมเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น๒- ทวยเทพที่มีศักดิ์ชั้นกลางยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพวกพระราชา และราชมหาอมาตย์ที่มีศักดิ์ชั้นกลางต่างน้อมเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น ทวยเทพที่มีศักดิ์ชั้นต่ำยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพวกพระราชาและ ราชมหาอมาตย์ชั้นต่ำต่างน้อมเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น @เชิงอรรถ : @ ที.ม. ๑๐/๑๕๒/๗๙ @ ทราบว่า เทวดาทั้งหลายเข้าสิงในร่างของคนผู้เชี่ยวชาญวิชาดูพื้นที่แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นบอกว่าควรจะ @สร้างบ้านเมืองที่นั้นที่นี้เพราะเทวดาเหล่านั้นประสงค์จะให้พระราชาและมหาอมาตย์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ มีศักดิ์ @ปานกลาง มีศักดิ์ชั้นต่ำอยู่ใกล้ชิดกับตน และทำสักการะสมควรแก่ตน (วิ.อ. ๓/๒๘๖/๑๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๐๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๗๔. สุนีธวัสสการวัตถุ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาถามว่า “อานนท์ คนที่สร้างเมืองที่ปาฏลิคามนั้นเป็นพวกไหน” ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “สุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอมาตย์แห่งมคธ รัฐ กำลังสร้างเมืองที่ปาฏลิคาม เพื่อป้องกันพวกวัชชี พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ สุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอมาตย์แห่ง มคธรัฐ กำลังสร้างเมืองที่ปาฏลิคามเพื่อป้องกันพวกวัชชี เหมือนได้ปรึกษากับ ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ อานนท์ เมื่อตอนเช้ามืดคืนนี้ เราลุกขึ้นเล็งจักษุทิพย์อัน บริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เห็นทวยเทพเป็นจำนวนมากกำลังยึดครองที่ดินในปาฏลิคาม คือ ทวยเทพมีศักดิ์ใหญ่ยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพวกพระราชาและราช มหาอมาตย์ผู้สูงศักดิ์ต่างน้อมเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น ทวยเทพที่มีศักดิ์ชั้นกลางยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพวกพระราชา และราชมหาอมาตย์ที่มีศักดิ์ชั้นกลางต่างน้อมเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น ทวยเทพที่มีศักดิ์ชั้นต่ำยึดครองที่ดินในประเทศใด จิตของพวกพระราชาและ ราชมหาอมาตย์ชั้นต่ำต่างน้อมเพื่อสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น
นครปาฏลีบุตรจะแตกด้วยภัย ๓ อย่าง
อานนท์ ตลอดพื้นที่อันเป็นย่านชุมชนแห่งอารยชนและเป็นทางค้าขาย นครนี้ จะเป็นนครชั้นเอก เป็นทำเลค้าขาย ชื่อปาฏลีบุตร และนครปาฏลีบุตรจะเกิด อันตราย ๓ อย่าง คือ อัคคีภัย อุทกภัย หรือการแตกความสามัคคีภายในกลุ่ม” ครั้งนั้น สุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอมาตย์แห่งมคธรัฐ พากันไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลสนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค พอเป็นที่บันเทิงใจ พอให้ระลึกถึงกันและกันแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร สุนีธะและ วัสสการะมหาอมาตย์แห่งมคธรัฐ ผู้ยืน ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของพวกข้าพระ องค์เพื่อเจริญกุศลในวันนี้เถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๐๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๗๔. สุนีธวัสสการวัตถุ

ครั้งนั้น สุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอมาตย์แห่งมคธรัฐทราบว่าพระผู้มี พระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว ลุกจากอาสนะแล้วกลับไป ลำดับนั้น สุนีธะและ วัสสการะผู้เป็นมหาอมาตย์แห่งมคธรัฐให้จัดเตรียมของเคี้ยวของฉันอันประณีตแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ไปกราบทูลภัตกาลพระผู้มีพระภาคว่า “ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว” ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จไปที่จัดเลี้ยงของสุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอมาตย์แห่งมคธรัฐ ประทับนั่ง บนอาสนะที่จัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ลำดับนั้น สุนีธะและวัสสการะผู้เป็น มหาอมาตย์แห่งมคธรัฐ ได้นำของเคี้ยวของฉันอันประณีตประเคนภิกษุสงฆ์มี พระพุทธเจ้าเป็นประธาน กระทั่งพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ ห้ามภัตตาหารแล้ว ทรงละพระหัตถ์จากบาตร ได้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนา แก่มหาอมาตย์ทั้งสองด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่า “บัณฑิตอยู่ในที่ใด ครั้นเลี้ยงดูท่านผู้มีศีล ผู้สำรวม ประพฤติพรหมจรรย์ในที่ที่ตนอยู่นั้นพึงอุทิศทักษิณา๑- แก่เหล่าทวยเทพผู้สถิตอยู่ในที่นั้น ทวยเทพเหล่านั้นอันเขาบูชาแล้วย่อมบูชาตอบ อันเขานับถือแล้วย่อมนับถือตอบ จากนั้นย่อมอนุเคราะห์บัณฑิตนั้นเป็นการตอบแทน ดุจมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้เกิดแต่อก ดังนั้น ผู้ที่ทวยเทพอนุเคราะห์แล้ว ย่อมพบเห็นแต่สิ่งที่เจริญทุกเมื่อ”๒- ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาสุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอมาตย์แห่ง มคธรัฐด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว ได้เสด็จลุกจากอาสนะแล้วเสด็จกลับ @เชิงอรรถ : @ พึงอุทิศทักษิณา หมายถึงพึงให้ส่วนบุญ (ที.ม.อ. ๒/๑๕๓/๑๔๓) @ ที.ม. ๑๐/๑๕๓/๘๐-๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๐๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๗๕. โกฏิคามสัจจกถา

เรื่องประตูโคดมและท่าโคดมที่แม่น้ำคงคา
สมัยนั้น สุนีธะและวัสสการะผู้เป็นมหาอมาตย์แห่งมคธรัฐ ตามส่งเสด็จพระ ผู้มีพระภาคไปทางพระปฤษฎางค์ ด้วยดำริว่า “วันนี้ ประตูที่พระสมณโคดมเสด็จ ออกจะได้ชื่อว่าประตูโคดม ท่าที่เสด็จข้ามแม่น้ำคงคาจะได้ชื่อว่าท่าโคดม” ต่อมา ประตูที่พระผู้มีพระภาคเสด็จผ่านไปนั้น ได้ปรากฏนามว่าประตูโคดม ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปทางแม่น้ำคงคา เวลานั้น แม่น้ำคงคามีน้ำ เต็มเสมอตลิ่ง นกกาพอดื่มกินได้ คนทั้งหลายประสงค์จะไปจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้น ต่างก็ หาเรือแพหรือผูกแพลูกบวบ พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นคนเหล่านั้นกำลัง หาเรือแพและผูกแพลูกบวบจะข้ามฟาก ได้ทรงหายไปจากฝั่งแม่น้ำคงคาไปปรากฏ ที่ฝั่งฟากโน้น พร้อมกับภิกษุสงฆ์ เหมือนคนมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ครั้นพระองค์ทรงทราบความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานว่า “คนพวกหนึ่งกำลังสร้างสะพานข้ามสระใหญ่ โดยมิให้แปดเปื้อนด้วยเลนตม ขณะที่คนอีกพวกหนึ่งกำลังผูกทุ่นอยู่ ชนผู้ฉลาดได้ข้ามพ้นไปแล้ว”๑-
๑๗๕. โกฏิคามสัจจกถา
ว่าด้วยทรงแสดงอริยสัจที่โกฏิคาม
[๒๘๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปทางโกฏิคาม ทราบว่า พระผู้มี พระภาคประทับอยู่ที่โกฏิคามนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายในโกฏิคาม นั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราและพวกเธอเร่ร่อนไปตลอดเวลานานถึงเพียงนี้ เพราะ @เชิงอรรถ : @ ที.ม. ๑๐/๑๕๔/๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๐๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๗๖. อัมพปาลีวัตถุ

ไม่ตรัสรู้และไม่แทงตลอดอริยสัจ ๔ ได้แก่ เราและพวกเธอเร่ร่อนไปตลอดเวลา นานถึงเพียงนี้ เพราะไม่ตรัสรู้และไม่แทงตลอดทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขสมุทยอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ เราและพวกเธอเร่ร่อนไปตลอดเวลานานถึงเพียงนี้ เพราะไม่ตรัสรู้และไม่แทงตลอดทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ภิกษุทั้งหลาย แต่บัดนี้ ทุกขอริยสัจ อันเราและพวกเธอได้ตรัสรู้และแทงตลอดแล้ว ทุกขสมุทยอริยสัจ อันเรา และพวกเธอได้ตรัสรู้และแทงตลอดแล้ว ทุกขนิโรธอริยสัจ อันเราและพวกเธอได้ตรัสรู้ และแทงตลอดแล้ว ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อันเราและพวกเธอได้ตรัสรู้และ แทงตลอดแล้ว เราและพวกเธอตัดตัณหาในภพได้เด็ดขาด ตัณหาที่จะนำไปเกิดสิ้นแล้ว บัดนี้จึงไม่มีการเกิดอีกต่อไป
นิคมคาถา
เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง เราและพวกเธอจึงต้องท่องเที่ยวไปในชาตินั้นๆ ตลอดเวลานาน แต่เพราะได้เห็นอริยสัจ ๔ เราและพวกเธอจึงถอนตัณหาที่จะนำไปเกิดได้ ตัดรากแห่งทุกข์ได้เด็ดขาด บัดนี้จึงไม่มีการเกิดอีกต่อไป


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๐๐-๑๐๔. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=5&siri=19              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=5&A=1778&Z=1861                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=71              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=71&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4006              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=71&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4006                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/brahmali#pli-tv-kd6:28.7.2.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/horner-brahmali#Kd.6.28.7



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :