ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร
๖. ฉักกวาร
ว่าด้วยหมวด ๖
[๓๒๖] อคารวะมี ๖ คารวะมี ๖ วินีตวัตถุมี ๖ สามีจิกรรมมี ๖ สมุฏฐาน แห่งอาบัติมี ๖ อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรมมี ๖ ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๖ การ ทรงวินัยมีอานิสงส์ ๖ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๖ ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร ๖ ราตรี จีวรมี ๖ ชนิด น้ำย้อมมี ๖ ชนิด อาบัติเกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทาง วาจามี ๖ อาบัติเกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกายมี ๖ อาบัติเกิดทางกายวาจา กับจิตมี ๖ กรรมมี ๖ มูลเหตุแห่งวิวาทมี ๖ มูลเหตุแห่งอนุวาทมี ๖ สาราณียธรรม มี ๖ ผ้าอาบน้ำฝนยาว ๖ คืบพระสุคต จีวรกว้าง ๖ คืบพระสุคต นิสัยระงับจาก พระอาจารย์มี ๖ อนุบัญญัติในการอาบน้ำมี ๖ ภิกษุถือเอาจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เก็บเอาจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป
องค์ ๖ แห่งพระอุปัชฌาย์
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้กุลบุตรอุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้สามเณร อุปัฏฐาก คือ ๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ ๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๗๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๖. ฉักกวาร

๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์๑- อันเป็นอเสขะ๒- ๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อีกอย่าง ก็พึงให้กุลบุตรอุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. ตนเองประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในสีลขันธ์ อันเป็นอเสขะ ๒. ตนเองประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน สมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ๓. ตนเองประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน ปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ๔. ตนเองประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในวิมุตติ ขันธ์อันเป็นอเสขะ ๕. ตนเองประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวน ผู้อื่นในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ ๖. เป็นผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อีกอย่าง ก็พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ ๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ๖. เป็นผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ @เชิงอรรถ : @ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ดูรายละเอียดใน องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๕๑/๓๙๒ @ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๕๑/๓๙๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๗๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๖. ฉักกวาร

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ก็พึงให้กุลบุตรอุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. เป็นผู้ไม่มีสีลวิบัติในอธิศีล ๒. เป็นผู้ไม่มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นพหูสูต ๕. เป็นผู้มีปัญญา ๖. เป็นผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ก็พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. สามารถพยาบาลเองหรือใช้ให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก ผู้เป็นไข้ ๒. สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน ๓. สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้น โดยธรรม ๔. รู้จักอาบัติ ๕. รู้จักวิธีออกจากอาบัติ ๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ก็พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา ๒. สามารถแนะนำในอาทิพรหมจาริกาสิกขา ๓. สามารถแนะนำในอภิธรรม ๔. สามารถแนะนำในอภิวินัย ๕. สามารถเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นโดยธรรม ๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๘๐}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

หัวข้อประจำวาร

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ก็พึงให้กุลบุตรอุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ ๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก ๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี ๖. เป็นผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ว่าด้วยการงดปาติโมกข์
การงดพระปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๖ อย่าง การงดพระปาติโมกข์ชอบธรรม มี ๖ อย่าง
ฉักกวาร จบ
หัวข้อประจำวาร
อคารวะ คารวะ วินีตวัตถุ สามีจิกรรม สมุฏฐานแห่งอาบัติ อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรม อาการที่ต้องอาบัติ อานิสงส์การทรงวินัย สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร ๖ ราตรี จีวร น้ำย้อม อาบัติเกิดทางกายกับจิต ทางวาจากับจิต ทางกายวาจากับจิต กรรม มูลเหตุแห่งวิวาท มูลเหตุแห่งการโจท ผ้าอาบน้ำฝนยาว จีวรกว้าง นิสัยระงับ อนุบัญญัติในการอาบน้ำ ถือเอาจีวรที่ทำค้างหลีกไป เก็บเอาจีวรที่ทำค้างหลีกไป ประกอบด้วยสีลขันธ์เป็นอเสขะ ชักชวนผู้อื่นให้สมาทานในสีลขันธ์เป็นอเสขะ มีศรัทธา ผู้มีสีลวิบัติในอธิศีล ภิกษุผู้สามารถพยาบาล ฝึกปรือในอภิสมาจาร รู้อาบัติ การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม การงดปาติโมกข์ชอบธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๘๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๔๗๘-๔๘๑. http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=8&siri=81              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=8&A=8287&Z=8352                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=988              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=988&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=10606              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=988&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=10606                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/brahmali#pli-tv-pvr7:81.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/horner-brahmali#Prv.7.6.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :