ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๔๑๓.

๔. นันทโกวาทสูตร (๑๔๖)
[๗๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระมหาปชาบดีโคตมี พร้อมด้วยภิกษุณีประมาณ ๕๐๐ รูป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวาย- *อภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจง ทรงโอวาทสั่งสอนพวกภิกษุณี จงรับสั่งแสดงธรรมแก่พวกภิกษุณีเถิด ฯ [๗๖๗] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ย่อมโอวาทพวกภิกษุณี โดยเป็นเวรกัน แต่ท่านพระนันทกะ ไม่ปรารถนาจะโอวาทพวกภิกษุณีโดยเป็น เวรกัน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ วันนี้ เวรโอวาทภิกษุณีโดยเป็นเวรกัน ของใครหนอแล ฯ ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งปวงทำเวร โอวาทภิกษุณีโดยเป็นเวรกันหมดแล้ว แต่ท่านพระนันทกะรูปนี้ ไม่ปรารถนาจะ โอวาทพวกภิกษุณีโดยเป็นเวรกัน ต่อนั้นพระผู้มีพระภาคจึงตรัสกะท่านพระนันทกะ ว่า ดูกรนันทกะ เธอจงโอวาทสั่งสอนพวกภิกษุณี ดูกรพราหมณ์ เธอจงกล่าว แสดงธรรมกถาแก่พวกภิกษุณีเถิด ท่านพระนันทกะทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แล้วนุ่งสบงทรงบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร- *สาวัตถีในเวลาเช้า ครั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว เข้าไปยัง วิหารราชการามแต่รูปเดียว ภิกษุณีเหล่านั้นได้เห็นท่านพระนันทกะเดินมาแต่ไกล พากันแต่งตั้งอาสนะและตั้งน้ำสำหรับล้างเท้าไว้ ท่านพระนันทกะนั่งบนอาสนะ ที่แต่งตั้งไว้แล้ว จึงล้างเท้า แม้ภิกษุณีเหล่านั้น ก็ถวายอภิวาทท่านพระนันทกะ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๑๔.

[๗๖๘] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระนันทกะได้กล่าวดังนี้ว่า ดูกร น้องหญิงทั้งหลาย จักต้องมีข้อสอบถามกันแล ในข้อสอบถามนั้น น้องหญิง ทั้งหลายรู้อยู่ พึงตอบว่ารู้ ไม่รู้อยู่ ก็พึงตอบว่าไม่รู้ หรือน้องหญิงรูปใด มีความ เคลือบแคลงสงสัย น้องหญิงรูปนั้น พึงทวนถามข้าพเจ้าในเรื่องนั้นว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ข้อนี้เป็นอย่างไร ข้อนี้มีเนื้อความอย่างไร ฯ ภิกษุณีเหล่านั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกดิฉันย่อมพอใจ ยินดี ต่อพระผู้เป็นเจ้านันทกะ ด้วยเหตุที่พระผู้เป็นเจ้านันทกะ ปวารณาแก่พวกดิฉัน เช่นนี้ ฯ [๗๖๙] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า ฯ น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน โสตเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. ฆานะเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๑๕.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า ฯ น. นั่นเพราะเหตุไร ฯ ภิกษุณี. เพราะเมื่อก่อน พวกดิฉันมิได้เห็นข้อนั้นดีด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริงว่า อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้ เจ้าข้า ฯ น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วย ปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล ฯ [๗๗๐] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า ฯ น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เสียง เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๑๖.

น. กลิ่นเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. รสเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. โผฏฐัพพะเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯ น. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า ฯ น. นั่นเพราะเหตุไร ฯ ภิกษุณี. เพราะเมื่อก่อน พวกดิฉันมิได้เห็นข้อนั้นดีด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริงว่า อายตนะภายนอก ๖ ของเราไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้ เจ้าข้า ฯ น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วย ปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล ฯ [๗๗๑] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน จักษุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๑๗.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า ฯ น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน โสตวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. ฆานวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. ชิวหาวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. กายวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า ฯ น. นั่นเพราะเหตุไร ฯ ภิกษุณี. เพราะเมื่อก่อน พวกดิฉันมิได้เห็นข้อนั้นดีด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริงว่า หมวดวิญญาณ ๖ ของเราไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้ เจ้าข้า ฯ น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วย ปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๑๘.

[๗๗๒] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันกำลัง ติดไฟอยู่ มีน้ำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวน ไปเป็นธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แสงสว่างก็ไม่ เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ประทีปน้ำมันที่กำลังติดไฟอยู่โน้น มีน้ำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็น ธรรมดา แต่ว่าแสงสว่างของประทีปนั้นแล เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มี ความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าวชอบหรือหนอแล ฯ ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า ฯ น. นั่นเพราะเหตุไร ฯ ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะประทีปน้ำมันที่กำลังติดไฟอยู่โน้น มีน้ำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็น ธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แสงสว่างของประทีปนั้น ก็ต้องไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เช่นกัน ฯ [๗๗๓] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลใด พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะ ภายในเสวยเวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เวทนานั้น เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา บุคคลผู้กล่าวอย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวชอบหรือหนอแล ฯ ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า ฯ น. นั่นเพราะเหตุไร ฯ ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะเวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้นๆ อาศัยปัจจัยที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้นๆ แล้ว จึงเกิดขึ้นได้ เพราะปัจจัยที่เกิดแต่ อายตนะภายในนั้นๆ ดับ เวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้นๆ จึงดับไป ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๑๙.

น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วย ปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล ฯ [๗๗๔] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้ง อยู่ มีรากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลำต้นก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไป เป็นธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เงาก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ต้นไม้ ใหญ่ มีแก่นตั้งอยู่โน้น มีรากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลำต้นก็ไม่ เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แต่ว่าเงาของต้นไม้นั้นแล เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวน ไปเป็นธรรมดา ผู้ที่กล่าวอยู่นั้นชื่อว่าพึงกล่าวชอบหรือหนอแล ฯ ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า ฯ น. นั่นเพราะเหตุไร ฯ ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะต้นไม้ใหญ่ มีแก่นตั้งอยู่โน้น มีราก ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลำต้นก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เงาของต้นไม้ ก็ต้องไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เช่นกัน ฯ [๗๗๕] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลใดพึง กล่าวอย่างนี้ว่า อายตนะภายนอก ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะภาย นอกเสวยเวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เวทนานั้น เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา บุคคลผู้กล่าวนั้นชื่อว่า กล่าวชอบหรือหนอแล ฯ ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า ฯ น. นั่นเพราะเหตุไร ฯ ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะเวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้นๆ อาศัยปัจจัยที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้นๆ แล้ว จึงเกิดขึ้นได้ เพราะปัจจัยที่

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๒๐.

เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้นๆ ดับ เวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้นๆ จึง ดับไป ฯ น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วย ปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล ฯ [๗๗๖] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือ ลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้ว ใช้มีดแล่โคอันคมชำแหละโค แยกส่วน เนื้อข้างใน แยกส่วนหนังข้างนอกไว้ ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใดเป็นเนื้อล่ำใน ระหว่าง เอ็นในระหว่าง เครื่องผูกในระหว่าง ก็ใช้มีดแล่โคอันคมเถือ แล่ คว้านส่วนนั้นๆ ครั้นแล้วคลี่ส่วนหนังข้างนอกออก เอาปิดโคนั้นไว้ แล้วกล่าว อย่างนี้ว่า โคตัวนี้ประกอบด้วยหนังผืนนี้ เหมือนอย่างเดิมนั่นเอง ดูกรน้องหญิง ทั้งหลาย คนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้กล่าวนั้นชื่อว่า กล่าวชอบหรือ หนอแล ฯ ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า ฯ น. นั่นเพราะเหตุไร ฯ ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโค ผู้ฉลาดโน้น ฆ่าโคแล้ว ใช้มีดแล่โคอันคมชำแหละโค แยกส่วนเนื้อข้างใน แยกส่วนหนังข้างนอกไว้ ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใดเป็นเนื้อล่ำในระหว่าง เอ็นใน ระหว่าง เครื่องผูกในระหว่าง ก็ใช้มีดแล่โคอันคมเถือ แล่ คว้านส่วนนั้นๆ ครั้นแล้วคลี่ส่วนหนังข้างนอกออก เอาปิดโคนั้นไว้ แม้เขาจะกล่าวอย่างนี้ว่า โค ตัวนี้ประกอบด้วยหนังผืนนี้ เหมือนอย่างเดิมนั่นเอง ก็จริง ถึงกระนั้นแล โค นั้นก็แยกกันแล้วจากหนังผืนนั้น ฯ [๗๗๗] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย เราเปรียบอุปมานี้เพื่อให้เข้าใจเนื้อ ความชัด เนื้อความในอุปมานั้น มีดังต่อไปนี้ ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ข้อว่าส่วน เนื้อข้างในนั้น เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ส่วนหนังข้างนอกนั้น เป็นชื่อของ อายตนะภายนอก ๖ เนื้อล่ำในระหว่าง เอ็นในระหว่าง เครื่องผูกในระหว่าง นั้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๒๑.

เป็นชื่อของนันทิราคะ มีดแล่โคอันคมนั้น เป็นชื่อของปัญญาอันประเสริฐ ซึ่ง ใช้เถือ แล่ คว้านกิเลสในระหว่าง สัญโญชน์ในระหว่าง เครื่องผูกใน ระหว่างได้ ฯ [๗๗๘] ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย โพชฌงค์ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มาก แล้ว เป็นเหตุ ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่ เหล่านี้ มี ๗ อย่างแล ๗ อย่างเป็นไฉน ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย คือ ภิกษุในพระธรรม วินัยนี้ (๑) ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย (๒) ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... (๓) ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... (๔) ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... (๕) ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... (๖) ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... (๗) ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย เหล่านี้แล โพชฌงค์ ๗ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นเหตุ ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่ ฯ [๗๗๙] ครั้นท่านพระนันทกะกล่าวสอนภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงส่งไปด้วยคำว่า ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงไปเถิด สมควรแก่เวลา แล้ว ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น ยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่านพระนันทกะแล้ว ลุกจากอาสนะ อภิวาทท่านพระนันทกะ กระทำประทักษิณ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๒๒.

พอยืนเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุณีทั้งหลาย พวก เธอจงไปเถิด สมควรแก่เวลาแล้ว ต่อนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้ถวายอภิวาทพระผู้มี พระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ฯ [๗๘๐] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นหลีกไปแล้ว ไม่นาน ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในทุกวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ นั้น ชนเป็นอันมากไม่มีความเคลือบแคลง หรือสงสัยว่า ดวงจันทร์พร่องหรือ เต็มหนอ แต่แท้ที่จริง ดวงจันทร์ก็ยังพร่องอยู่ทีเดียว ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ชื่นชมธรรมเทศนาของนันทกะ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีความ ดำริบริบูรณ์เลย ฉันนั้นเหมือนกันแล ในลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัส กะท่านพระนันทกะว่า ดูกรนันทกะ ถ้าเช่นนั้น วันพรุ่งนี้เธอก็พึงกล่าวสอน ภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนั้นเหมือนกัน ท่านพระนันทกะทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๗๘๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระนันทกะ พอล่วงราตรีนั้นไปแล้ว ถึงเวลา เช้า จึงนุ่งสบงทรงบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นกลับจาก บิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว เข้าไปยังวิหารราชการามแต่รูปเดียว ภิกษุณี เหล่านั้นได้เห็นท่านพระนันทกะเดินมาแต่ไกล จึงพากันแต่งตั้งอาสนะและตั้งน้ำ ล้างเท้าไว้ ท่านพระนันทกะนั่งบนอาสนะที่แต่งตั้งไว้แล้ว จึงล้างเท้า แม้ภิกษุณี เหล่านั้นก็อภิวาทท่านพระนันทกะแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๗๘๒] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระนันทกะได้กล่าวดังนี้ว่า ดูกร น้องหญิงทั้งหลาย จักต้องมีข้อสอบถามกันแล ในข้อสอบถามนั้น น้องหญิง ทั้งหลายรู้อยู่ พึงตอบว่ารู้ ไม่รู้อยู่ ก็พึงตอบว่าไม่รู้ หรือน้องหญิงรูปใด มีความ เคลือบแคลงสงสัยน้องหญิงรูปนั้น พึงทวนถามข้าพเจ้าในเรื่องนั้นว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ข้อนี้เป็นอย่างไร ข้อนี้มีเนื้อความอย่างไรเถิด ฯ ภิกษุณีเหล่านั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกดิฉันย่อมพอใจ ยินดี

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๒๓.

ต่อพระผู้เป็นเจ้านันทกะ ด้วยเหตุที่พระผู้เป็นเจ้านันทกะปวารณาแก่พวกดิฉัน เช่นนี้ ฯ [๗๘๓] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็น ไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า ฯ น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน โสต เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. ฆานะเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๒๔.

ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า ฯ น. นั่นเพราะเหตุไร ฯ ภิกษุณี. เพราะเมื่อก่อน พวกดิฉันมิได้เห็นข้อนั้นดีด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริงว่า อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้ เจ้าข้า ฯ น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วย ปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล ฯ [๗๘๔] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็น ไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า ฯ น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เสียง เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. กลิ่นเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. รสเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. โผฏฐัพพะเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๒๕.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า ฯ น. นั่นเพราะเหตุไร ฯ ภิกษุณี. เพราะเมื่อก่อน พวกดิฉันมิได้เห็นข้อนั้นดีด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริงว่า อายตนะภายนอก ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้ เจ้าข้า ฯ น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วย ปัญญาชอบ ตามเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล ฯ [๗๘๕] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็น ไฉน จักษุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า ฯ น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน โสต วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. ฆานวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๒๖.

น. ชิวหาวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. กายวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ น. มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า ฯ น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า ฯ น. นั่นเพราะเหตุไร ฯ ภิกษุณี. เพราะเมื่อก่อน พวกดิฉันมิได้เห็นข้อนั้นดีด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริงว่า หมวดวิญญาณ ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้ เจ้าข้า ฯ น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วย ปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล ฯ [๗๘๖] ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันกำลังติดไฟ อยู่ มีน้ำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไป เป็นธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แสงสว่างก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ประทีป น้ำมันที่กำลังติดไฟอยู่โน้น มีน้ำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไส้ก็ ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แต่ว่าแสงสว่างของประทีปนั้นแล เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปร- *ปรวนไปเป็นธรรมดา ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่า พึงกล่าวชอบหรือหนอแล ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๒๗.

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า ฯ น. นั่นเพราะอะไร ฯ ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะประทีปน้ำมันที่กำลังติดไฟอยู่โน้น มีน้ำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็น ธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แสงสว่างของประทีปนั้น ก็ต้องไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เช่นกัน ฯ [๗๘๗] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลใด พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะ ภายในเสวยเวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เวทนานั้น เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา บุคคลผู้กล่าวนั้น ชื่อว่ากล่าวชอบหรือหนอแล ฯ ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า ฯ น. นั่นเพราะเหตุไร ฯ ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะเวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้นๆ อาศัยปัจจัยที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้นๆ แล้ว จึงเกิดขึ้นได้ เพราะปัจจัยที่เกิด แต่อายตนะภายในนั้นๆ ดับ เวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้นๆ จึงดับไป ฯ น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วย ปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล ฯ [๗๘๘] ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ มีรากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลำต้นก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็น ธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เงาก็ไม่เที่ยง แปรปรวน ไปเป็นธรรมดา ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ต้นไม้ใหญ่มีแก่น ตั้งอยู่โน้น มีรากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลำต้นก็ไม่เที่ยง แปรปรวน ไปเป็นธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แต่ว่าเงาของ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๒๘.

ต้นไม้นั้นแล เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ผู้ที่กล่าวนั้น ชื่อว่าพึงกล่าวชอบหรือหนอแล ฯ ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า ฯ น. นั่นเพราะเหตุไร ฯ ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะต้นไม้ใหญ่ มีแก่นตั้งอยู่โน้น มีราก ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลำต้นก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เงาของต้นไม้นั้น ก็ต้องไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดาเช่นกัน ฯ [๗๘๙] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลใด พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อายตนะภายนอก ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะ ภายนอกเสวยเวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เวทนานั้น เที่ยง ยั่งยืนเป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา บุคคลผู้กล่าวนั้น ชื่อว่ากล่าวชอบหรือหนอแล ฯ ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า ฯ น. นั่นเพราะเหตุไร ฯ ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะเวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้นๆ อาศัยปัจจัยที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้นๆ แล้ว จึงเกิดขึ้นได้ เพราะปัจจัยที่ เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้นๆ ดับ เวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้นๆ จึงดับไป ฯ น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วย ปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล ฯ [๗๙๐] ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของ คนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้ว ใช้มีดแล่โคอันคมชำแหละโค แยกส่วนเนื้อข้างใน แยกส่วนหนังข้างนอกไว้ ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใดเป็นเนื้อล่ำในระหว่าง เอ็นใน ระหว่าง เครื่องผูกในระหว่าง ก็ใช้มีดแล่โคอันคมเถือ แล่ คว้านส่วนนั้นๆ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๒๙.

ครั้นแล้วคลี่ส่วนหนังข้างนอกออก เอาปิดโคนั้นไว้ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า โคตัวนี้ ประกอบด้วยหนังผืนนี้ เหมือนอย่างเดิมนั้นเอง ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย คนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้กล่าวนั้น ชื่อว่ากล่าวชอบหรือหนอแล ฯ ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า ฯ น. นั่นเพราะเหตุไร ฯ ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ ฉลาดโน้น ฆ่าโคแล้ว ใช้มีดแล่โคอันคมชำแหละโค แยกส่วนเนื้อข้างใน แยกส่วนหนังข้างนอกไว้ ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใดเป็นเนื้อล่ำในระหว่าง เอ็นใน ระหว่าง เครื่องผูกในระหว่าง ก็ใช้มีดแล่โคอันคมเถือ แล่ คว้านส่วนนั้นๆ ครั้นแล้วคลี่ส่วนหนังข้างนอกออก เอาปิดโคนั้นไว้ แม้เขาจะกล่าวอย่างนี้ว่า โคตัว นี้ประกอบด้วยหนังผืนนี้ เหมือนอย่างเดิมนั่นเอง ก็จริง ถึงกระนั้นแล โคนั้นก็ แยกกันแล้วจากหนังผืนนั้น ฯ [๗๙๑] น. ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย เราเปรียบอุปมานี้เพื่อให้เข้าใจเนื้อ ความชัด เนื้อความในอุปมานั้น มีดังต่อไปนี้ ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ข้อว่าส่วน เนื้อข้างในนั้น เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ส่วนหนังข้างนอกนั้น เป็นชื่อของ อายตนะภายนอก ๖ เนื้อล่ำในระหว่าง เอ็นในระหว่าง เครื่องผูกในระหว่าง นั้น เป็นชื่อของนันทิราคะ มีดแล่โคอันคมนั้น เป็นชื่อของปัญญาอันประเสริฐ ซึ่ง ใช้เถือ แล่ คว้านกิเลสในระหว่าง สัญโญชน์ในระหว่าง เครื่องผูกใน ระหว่างได้ ฯ [๗๙๒] ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย โพชฌงค์ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มาก แล้ว เป็นเหตุ ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่ เหล่านี้ มี ๗ อย่างแล ๗ อย่างเป็นไฉน ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย คือ ภิกษุในพระธรรม วินัยนี้

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๓๐.

(๑) ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย (๒) ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... (๓) ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... (๔) ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... (๕) ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... (๖) ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... (๗) ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย เหล่านี้แล โพชฌงค์ ๗ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วเป็นเหตุ ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่ ฯ [๗๙๓] ครั้นท่านพระนันทกะกล่าวสอนภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงส่งไปด้วยคำว่า ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงไปเถิด สมควรแก่เวลาแล้ว ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น ยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่านพระนันทกะแล้ว ลุกจาก อาสนะ อภิวาทท่านพระนันทกะ กระทำประทักษิณ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอ ยืนเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุณีทั้งหลาย พวกเธอ จงไปเถิด สมควรแก่เวลาแล้ว ต่อนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้ถวายอภิวาทพระผู้มี- *พระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ฯ [๗๙๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นหลีกไปแล้ว ไม่นาน ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในทุกวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ นั้น ชนเป็นอันมากไม่มีความเคลือบแคลง หรือสงสัยว่า ดวงจันทร์พร่องหรือ เต็มหนอ แต่แท้ที่จริง ดวงจันทร์ก็เต็มแล้วทีเดียว ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้นย่อมเป็นผู้ชื่นชมธรรมเทศนาของนันทกะ ทั้งๆ ที่มีความดำริ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๓๑.

บริบูรณ์แล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ รูป นั้น รูปสุดท้ายยังเป็นถึงพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา แน่นอนที่ จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ นันทโกวาทสูตร ที่ ๔
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๓๒.

๕. จูฬราหุโลวาทสูตร (๑๔๗)
[๗๙๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรง หลีกเร้นประทับอยู่ในที่รโหฐาน ได้เกิดพระปริวิตกทางพระหฤทัยขึ้นอย่างนี้ว่า ราหุลมีธรรมที่บ่มวิมุตติแก่กล้าแล้วแล ถ้ากระไร เราพึงแนะนำราหุลในธรรมที่สิ้น อาสวะยิ่งขึ้นเถิด ฯ [๗๙๖] ต่อนั้น พระผู้มีพระภาคทรงครองสบง ทรงบาตรจีวรเสด็จเข้า ไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถีในเวลาเช้า ครั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภาย หลังเวลาพระกระยาหารแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล เธอจง ถือผ้ารองนั่ง เราจักเข้าไปยังป่าอันธวัน เพื่อพักผ่อนกลางวันกัน ท่านพระราหุล ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แล้วจึงถือผ้ารองนั่งติดตาม พระผู้มีพระภาคไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ ก็สมัยนั้นแล เทวดาหลายพันตนได้ ติดตามพระผู้มีพระภาคไปด้วยทราบว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงแนะนำท่าน พระราหุลในธรรมที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้น ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าถึงป่า อันธวันแล้ว จึงประทับนั่ง ณ อาสนะที่ท่านพระราหุลแต่งตั้ง ณ ควงไม้แห่งหนึ่ง แม้ท่านพระราหุลก็ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๗๙๗] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๓๓.

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๗๙๘] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๗๙๙] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๘๐๐] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ ตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ร. ไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๓๔.

[๘๐๑] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยแม้นั้น เที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๘๐๒] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน โสตะเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฆานะเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ชิวหาเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กายเที่ยงหรือไม่ เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ [๘๐๓] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มโนเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๓๕.

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๘๐๔] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมารมณ์ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๘๐๕] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มโนวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๘๐๖] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๓๖.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๘๐๗] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้น เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่ จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ ร. ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๘๐๘] พ. ดูกรราหุล อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ หน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณ ย่อม เบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อ หน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๓๗.

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ [๘๐๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุลจึงชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ ก็แหละเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสคำเป็นไวยากรณ์นี้อยู่ จิตของท่านพระ- *ราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น และเทวดาหลายพันตนนั้น ได้เกิดดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีหมดมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ
จบ จูฬราหุโลวาทสูตร ที่ ๕
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๓๘.

๖. ฉฉักกสูตร (๑๔๘)
[๘๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ- *อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มี- *พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย อัน ไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศ พรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คือ ธรรมหมวดหก ๖ หมวด พวกเธอจงฟัง ธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๘๑๑] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบอายตนะภาย ใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖ หมวดเวทนา ๖ หมวดตัณหา ๖ ฯ [๘๑๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือจักษุ อายตนะคือโสตะ อายตนะคือฆานะ อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึง ทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๑ ฯ [๘๑๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เรา อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือกลิ่น อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์ ข้อที่เรากล่าว ดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๒ ฯ [๘๑๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๓๙.

อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักษุวิญญาณ อาศัยโสตะ และเสียง จึงเกิดโสตวิญญาณ อาศัยฆานะและกลิ่น จึงเกิดฆานวิญญาณ อาศัย ชิวหาและรส จึงเกิดชิวหาวิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะ จึงเกิดกายวิญญาณ อาศัยมโนและธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ หมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัยวิญญาณดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวด ที่ ๓ ฯ [๘๑๕] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของ ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ความประจวบของ ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ความประจวบของ ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ความประจวบของ ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ความประจวบ ของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความ ประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัยผัสสะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๔ ฯ [๘๑๖] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดเวทนา ๖ นั่น เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของ ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ... อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ... อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ... อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ... อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวด เวทนา ๖ นั่น เราอาศัยเวทนาดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๕ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๔๐.

[๘๑๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของ ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย จึงมีตัณหา อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ... อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ... อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ... อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ... อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เราอาศัยตัณหาดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๖ ฯ [๘๑๘] ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า จักษุเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุ ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะ ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึง เป็นอนัตตา ผู้ใดกล่าวว่า รูปเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร รูปย่อมปรากฏแม้ความ เกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้น ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่ กล่าวว่า รูปเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึง เป็นอนัตตา ผู้ใดกล่าวว่า จักษุวิญญาณเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุวิญญาณ ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๔๑.

คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุวิญญาณเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึง เป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา ผู้ใดกล่าวว่า จักษุสัมผัสเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุสัมผัสย่อม ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นแลเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุสัมผัสเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึง เป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็น อนัตตา ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อมปรากฏ แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ ของผู้ที่กล่าวว่าเวทนาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็น อนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏแม้ ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่ง นั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของ ผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึง เป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา ฯ [๘๑๙] ผู้ใดกล่าวว่า โสตะเป็นอัตตา ... ผู้ใดกล่าวว่า ฆานะเป็นอัตตา ... ผู้ใดกล่าวว่า ชิวหาเป็นอัตตา ... ผู้ใดกล่าวว่า กายเป็นอัตตา ...

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๔๒.

ผู้ใดกล่าวว่า มโนเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนย่อมปรากฏแม้ ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่ง นั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของ ผู้ที่กล่าวว่า มโนเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ผู้ใดกล่าวว่า ธรรมารมณ์เป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ธรรมารมณ์ย่อม ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ ของผู้ที่กล่าวว่าธรรมารมณ์เป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึง เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา ฯ ผู้ใดกล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนวิญญาณ ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา ผู้ใดกล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนสัมผัสย่อม ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะ ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโน- *สัมผัสจึงเป็นอนัตตา ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อมปรากฏ แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ ของผู้ที่กล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๔๓.

อนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็น อนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏ แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ ของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็น อนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็น อนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา ฯ [๘๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความตั้งขึ้นแห่งสักกายะ ดังต่อไปนี้แล บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็น รูปว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตา ของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นโสตะว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็น ฆานะว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็นชิวหาว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็นกายว่า นั่นของ เรา ... เล็งเห็นมโนว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นธรรมารมณ์ ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นมโนวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นมโนสัมผัสว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตา ของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหา ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ [๘๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความดับสักกายะ ดังต่อ ไปนี้แล บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุวิญญาณ ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๔๔.

ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นโสตะว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ... เล็งเห็นฆานะว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา ... เล็งเห็นชิวหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ... เล็งเห็นกายว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ... เล็งเห็นมโนว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็น ธรรมารมณ์ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นมโน- *วิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นมโนสัมผัส ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ฯ [๘๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงมีราคานุสัยนอน เนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญ ทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัด ออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุ- *สัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำวิช- *ชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย และจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตะและเสียง เกิดโสตวิญญาณ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ ...

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๔๕.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงมีราคานุสัย นอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญ ทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออก แห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา ยังไม่บรรเทาปฏิฆา- *นุสัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำ วิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ [๘๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มี ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่อง อยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัย นอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยัง วิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ใน ปัจจุบันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๔๖.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตะและเสียง เกิดโสตวิญญาณ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มี ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่อง อยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัย นอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยัง วิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุ- *บันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ [๘๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม เบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ตัณหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ...

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๔๗.

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ
จบ ฉฉักกสูตร ที่ ๖
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๔๘.

๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๔๙)
[๘๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเนื่องด้วยอายตนะ ๖ มากมายแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า ฯ [๘๒๖] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อ ไม่รู้ไม่เห็นจักษุ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อ ไม่รู้ไม่เห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุสัมผัส ตามความ เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อม กำหนัดในจักษุ กำหนัดในรูป กำหนัดในจักษุวิญญาณ กำหนัดในจักษุสัมผัส กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุข ก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว ประ- *กอบพร้อมแล้ว ลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูน ต่อไป และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจ ความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว จะมีความกระวน- *กระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจ เจริญทั่ว จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว เขาย่อมเสวยทุกข์ทาง กายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง ฯ [๘๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตะ ตามความ เป็นจริง...

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๔๙.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะ ตามความเป็นจริง... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหา ตามความเป็นจริง... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นกาย ตามความเป็นจริง... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโน ตามความเป็นจริง เมื่อ ไม่รู้ไม่เห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณ ตามความ เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความ เสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมกำหนัดในมโน กำหนัดใน ธรรมารมณ์ กำหนัดในมโนวิญญาณ กำหนัดในมโนสัมผัส กำหนัดในความ เสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป และเขา จะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมี ความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความ เร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ ทางใจบ้าง ฯ [๘๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความ เป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตาม ความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความ เสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ ไม่กำหนัด ในรูป ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่กำหนัดในความ เสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อม

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๐.

แล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูน ต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจ ความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้ จะละความกระวนกระวาย แม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละ ความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจ บ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็น สัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ มีความ พยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อม เป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีใน เบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความ เจริญบริบูรณ์ ฯ [๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรม ที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรม ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่ เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชา และภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะ และวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๑.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือ วิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ [๘๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นโสตะ ตามความเป็น จริง ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นฆานะ ตามความเป็นจริง ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นชิวหา ตามความเป็นจริง ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นกาย ตามความเป็นจริง ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นมโน ตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนวิญญาณ ตามความ เป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวย อารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในมโน ไม่กำหนัดใน ธรรมารมณ์ ไม่กำหนัดในมโนวิญญาณ ไม่กำหนัดในมโนสัมผัส ไม่กำหนัดใน ความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่ เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนัก แล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วย ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้ จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทาง กาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวย สุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็น สัมมาสังกัปปะ มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๒.

ย่อมบริสุทธิ์ในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอัน ประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ [๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและวิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรม ที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรม ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่ เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชา และภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะ และวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือ วิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๓.

๘. นครวินเทยยสูตร (๑๕๐)
[๘๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ทรงแวะยังบ้านพราหมณ์แห่งโกศลชนบทชื่อว่านครวินทะ พวกพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะได้ทราบข่าวว่า พระสมณะผู้ศากยบุตร เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว เสด็จจาริกไปในโกศลชนบทพร้อม ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงบ้านนครวินทะโดยลำดับ พระโคดมผู้มีพระภาค พระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์งามฟุ้งไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้ๆ พระผู้มี- *พระภาคพระองค์นั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วย วิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่าง หาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้ แจกธรรม พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอน โลกนี้ทั้งเทวดา มาร พรหม ทุกหมู่สัตว์ทั้งสมณะและพราหมณ์ ทั้งเทวดาและ มนุษย์ ให้รู้ทั่ว ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อม ทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ทรงประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้ เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมเป็นการดีแล ครั้งนั้นแล พราหมณ์ คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะ พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้ว บางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวก ประณมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสำนักของพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง บางพวกมีอาการเฉยๆ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๘๓๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะ ผู้นั่งเรียบร้อยแล้วดังนี้ว่า ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นถามท่าน ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เช่นไร ไม่ควรสักการะ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๔.

เคารพ นับถือ บูชา ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูป ที่รู้ได้ด้วยจักษุ ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเราก็ยังมีความกำหนัด ความขัด เคือง ความลุ่มหลงในรูป ที่รู้ได้ด้วยจักษุ ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ ก็เมื่อเราทั้งหลายไม่ เห็นแม้ความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไป ดังนี้ ฉะนั้น ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ไม่ไปปราศแล้ว ... สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ไม่ไปปราศแล้ว ... สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ไม่ไปปราศแล้ว ... สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ไม่ไปปราศแล้ว ... สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติ ลุ่มๆ ดอนๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเราก็ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ไม่ไปปราศแล้ว ยังมี จิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ ก็ เมื่อเราทั้งหลายไม่เห็นแม้ความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไป

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๕.

ดังนี้ ฉะนั้น ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่ปริพาชก เจ้าลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างนี้เถิด ฯ [๘๓๔] ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นถามท่านทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เช่นไร ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า สมณ- *พราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูปที่รู้ ได้ด้วยจักษุแล้ว มีจิตสงบแล้วภายใน ประพฤติสงบทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่า แม้พวกเรายังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ ก็เมื่อเราทั้งหลายเห็นแม้ความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์ พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไป ดังนี้ ฉะนั้น ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความ ลุ่มหลง ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสตแล้ว ... สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความ ลุ่มหลง ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะแล้ว ... สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความ ลุ่มหลง ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหาแล้ว ... สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความ ลุ่มหลง ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายแล้ว ... สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความ ลุ่มหลง ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน แล้ว มีจิตสงบแล้วภายใน ประพฤติสงบ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ควรสักการะ เคารพ นับถือ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๖.

บูชา นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเรายังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ ก็เมื่อเราทั้งหลายเห็น แม้ความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไป ดังนี้ ฉะนั้น ท่าน สมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่ปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นเหล่านั้น อย่างนี้เถิด ฯ [๘๓๕] ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นถามท่านทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ก็อาการและความเป็นไปของท่านผู้มีอายุทั้งหลายเช่นไร จึงเป็นเหตุให้ พวกท่านกล่าวถึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ ปราศจากราคะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศราคะแน่ เป็นผู้ปราศจากโทสะ แล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศโทสะ เป็นผู้ปราศจากโมหะแล้ว หรือปฏิบัติ เพื่อนำปราศโมหะแน่ ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความจริง ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ย่อมเสพเฉพาะเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าดง เป็นที่ไม่มีรูปอันรู้ได้ด้วยจักษุ ซึ่งคนทั้งหลายเห็นแล้วๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีเสียงอันรู้ได้ด้วยโสต ซึ่งคนทั้งหลายฟังแล้วๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีกลิ่นอันรู้ได้ด้วยฆานะ ซึ่งคนทั้งหลายดมแล้วๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีรสอันรู้ได้ด้วยชิวหา ซึ่งคนทั้งหลายลิ้มแล้วๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีโผฏฐัพพะอันรู้ได้ด้วยกาย ซึ่งคนทั้งหลายสัมผัสแล้วๆ จะพึงยินดี เช่นนั้นเลย นี้แลอาการและความเป็นไปของท่านผู้มีอายุทั้งหลายของพวกข้าพเจ้า ซึ่งเป็นเหตุให้พวกข้าพเจ้ากล่าวถึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศราคะแน่ เป็นผู้ปราศ- *จากโทสะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศโทสะแน่ เป็นผู้ปราศจากโมหะแล้ว หรือ ปฏิบัติเพื่อนำปราศโมหะแน่ ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่ปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างนี้เถิด ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๗.

[๘๓๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์คฤหบดีชาวบ้าน นครวินทะ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้ง แล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย เปรียบ เหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง หรือตาม ประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูปทั้งหลายได้ ฉะนั้น พวกข้าพระองค์ นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดม ผู้เจริญ จงทรงจำพวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป ฯ
จบ นครวินเทยยสูตร ที่ ๘
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๘.

๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร (๑๕๑)
[๘๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็น สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระ สารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรสารีบุตร เธอมีอินทรีย์ผ่องใส มีผิวพรรณ บริสุทธิ์ผุดผ่อง เธออยู่ด้วยวิหารธรรมอะไรเป็นส่วนมากในบัดนี้ ฯ ท่านพระสารีบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อยู่ด้วยวิหาร ธรรมคือสุญญตสมาบัติแลเป็นส่วนมากในบัดนี้ ฯ [๘๓๘] พ. ดูกรสารีบุตร ดีละๆ เป็นอันว่าเธออยู่ด้วยวิหารธรรม ของมหาบุรุษเป็นส่วนมากในบัดนี้ เพราะวิหารธรรมของมหาบุรุษนี้ก็คือสุญญต- *สมาบัติ เพราะฉะนั้นแล สารีบุตร ภิกษุถ้าหวังว่าจะอยู่ด้วยวิหารธรรมคือสุญญต- *สมาบัติเป็นส่วนมาก ภิกษุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านทางใด เที่ยวบิณฑบาตไปในประเทศใด และกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านทางใด ในทาง และประเทศนั้นๆ เรามีความพอใจ หรือความกำหนัด หรือความขัดเคือง หรือ ความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุบ้างไหม ดูกร สารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านทางใด เที่ยว บิณฑบาตไปในประเทศใด และกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านทางใด ในทางและ ประเทศนั้นๆ เรามีความพอใจ หรือความกำหนัด หรือความขัดเคือง หรือ ความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุอยู่ ภิกษุ นั้นพึงพยายามละอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นเสีย ดูกรสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุ พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านทางใด เที่ยวบิณฑบาตไปใน ประเทศใด และกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านทางใด ในทางและประเทศนั้นๆ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕๙.

เราไม่มีความพอใจ หรือความกำหนัด หรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษา เนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ได้ด้วยปีติและ ปราโมทย์นั้นนั่นแล ฯ [๘๓๙] ดูกรสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เรา เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านทางใด เที่ยวบิณฑบาตไปในประเทศใด และกลับจาก บิณฑบาตแต่บ้านทางใด ในทางและประเทศนั้นๆ เรามีความพอใจ หรือความ กำหนัด หรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจ ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ... ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ... ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ... ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ... ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโนบ้างไหม ดูกรสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านทางใด เที่ยวบิณฑบาต ไปในประเทศใด และกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านทางใด ในทางและประเทศนั้นๆ เรามีความพอใจ หรือความกำหนัด หรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง หรือ แม้ความกระทบกระทั่งทางใจในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโนอยู่ ภิกษุนั้นพึงพยายาม ละอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นเสีย ดูกรสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ ว่า เราเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านทางใด เที่ยวบิณฑบาตไปในประเทศใด และกลับ จากบิณฑบาตแต่บ้านทางใด ในทางและประเทศนั้นๆ เราไม่มีความพอใจ หรือ ความกำหนัด หรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบกระทั่ง ทางใจในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวัน และกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล ฯ [๘๔๐] ดูกรสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เรา ละกามคุณ ๕ ได้แล้วหรือหนอ ดูกรสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรา ยังละกามคุณ ๕ ไม่ได้เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามละกามคุณ ๕ ดูกรสารีบุตร แต่ถ้า ภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราละกามคุณ ๕ ได้แล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๐.

ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น นั่นแล ฯ [๘๔๑] ดูกรสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เรา ละนีวรณ์ ๕ ได้แล้วหรือหนอ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังละนีวรณ์ ๕ ไม่ได้เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามละนีวรณ์ ๕ ดูกรสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราละนีวรณ์ ๕ ได้แล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวัน และกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล ฯ [๘๔๒] ดูกรสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เรากำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แล้วหรือหนอ ดูกรสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังกำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ได้เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามกำหนดรู้ อุปาทานขันธ์ ๕ ดูกรสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรากำหนดรู้ อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล ฯ [๘๔๓] ดูกรสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วหรือหนอ ดูกรสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญสติปัฏฐาน ๔ ดูกร สารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วย ปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล ฯ [๘๔๔] ดูกรสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญสัมมัปปธาน ๔ แล้วหรือหนอ ดูกรสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ ว่า เรายังไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔ เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญสัมมัปปธาน ๔ ดูกรสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญสัมมัปปธาน ๔ แล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๑.

[๘๔๕] ดูกรสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญอิทธิบาท ๔ แล้วหรือหนอ ดูกรสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญอิทธิบาท ๔ ดูกร สารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญอิทธิบาท ๔ แล้ว ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วย ปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล ฯ [๘๔๖] ดูกรสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญอินทรีย์ ๕ แล้วหรือหนอแล ดูกรสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญอินทรีย์ ๕ ดูกรสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญอินทรีย์ ๕ แล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษา เนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์ นั้นนั่นแล ฯ [๘๔๗] ดูกรสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญพละ ๕ แล้วหรือหนอ ดูกรสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรา ยังไม่ได้เจริญพละ ๕ เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญพละ ๕ ดูกรสารีบุตร แต่ถ้า ภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญพละ ๕ แล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์ นั้นนั่นแล ฯ [๘๔๘] ดูกรสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วหรือหนอ ดูกรสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญโพชฌงค์ ๗ ดูกร สารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วย ปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๒.

[๘๔๙] ดูกรสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐแล้วหรือหนอ ดูกรสารีบุตร ถ้าภิกษุ พิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐเลย ภิกษุนั้น พึงพยายามเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ ดูกรสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐแล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น นั่นแล ฯ [๘๕๐] ดูกรสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญสมถะและวิปัสสนาแล้วหรือหนอ ดูกรสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญสมถะและวิปัสสนาเลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญสมถะ และวิปัสสนา ดูกรสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญสมถะ และวิปัสสนาแล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ใน กุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล ฯ [๘๕๑] ดูกรสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้งแล้วหรือหนอแล ดูกรสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้ทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้งเลย ภิกษุนั้นพึงพยายามทำวิชชา และวิมุตติให้แจ้ง ดูกรสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราทำวิชชา และวิมุตติให้แจ้งแล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล ฯ [๘๕๒] ดูกรสารีบุตร ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้ทำ บิณฑบาตให้บริสุทธิ์แล้วในอดีตกาล ทั้งหมดนั้น พิจารณาแล้วๆ อย่างนี้เทียว จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้จักทำ บิณฑบาตให้บริสุทธิ์ในอนาคตกาล ทั้งหมดนั้น ต้องพิจารณาแล้วๆ อย่างนี้เทียว จึงจักทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้กำลังทำ บิณฑบาตให้บริสุทธิ์อยู่ในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ย่อมพิจารณาแล้วๆ อย่างนี้เทียว

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๓.

จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ได้ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงสำเหนียกว่า จักพิจารณา แล้วๆ ทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ ดูกรสารีบุตร พวกเธอพึงสำเหนียกไว้ อย่างนี้แล ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร ที่ ๙
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๔.

๑๐. อินทริยภาวนาสูตร (๑๕๒)
[๘๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าไผ่ ในนิคมชื่อกัชชังคลา ครั้ง นั้นแล อุตตรมาณพ ศิษย์พราหมณ์ปาราสิริยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ ประทับ แล้วทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการทักทายปราศรัยพอให้ ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๘๕๔] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามดังนี้ว่า ดูกร อุตตระ ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกหรือเปล่า ฯ อุ. แสดง พระโคดมผู้เจริญ ฯ พ. ดูกรอุตตระ แสดงอย่างใด ด้วยประการใด ฯ อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ท่านปาราสิริยพราหมณ์แสดงการ เจริญอินทรีย์แก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า อย่าเห็นรูปด้วยจักษุ อย่าได้ยินเสียง ด้วยโสต ฯ พ. ดูกรอุตตระ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนที่เจริญอินทรีย์แล้วตามคำของ ปาราสิริยพราหมณ์ ต้องเป็นคนตาบอด ต้องเป็นคนหูหนวก เพราะคนตาบอด ไม่เห็นรูปด้วยจักษุ คนหูหนวกไม่ได้ยินเสียงด้วยโสต เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัส แล้วอย่างนี้ อุตตรมาณพ ศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ ฯ [๘๕๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า อุตตรมาณพศิษย์ ปาราสิริยพราหมณ์ นิ่ง คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงรับสั่งกะ ท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ปาราสิริยพราหมณ์ ย่อมแสดงการเจริญอินทรีย์ แก่สาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง ส่วนการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของ พระอริยะ ย่อมเป็นอีกอย่างหนึ่ง ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๕.

ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต เป็นการสมควรแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า ในวินัยของพระ อริยะ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ พ. ดูกรอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ต่อไป ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๘๕๖] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ก็การเจริญ อินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ เป็นอย่างไร ดูกรอานนท์ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ ขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบ ใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา เธอจึงดับความ ชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบ ใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดย ไม่ลำบากเหมือนอย่างบุรุษมีตาดีกระพริบตา ฉะนั้น อุเบกขาย่อมดำรงมั่น ดูกร อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า ในวินัยของพระอริยะ ฯ [๘๕๗] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต เธอรู้ ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ ขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยการเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้ง ความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น ดูกร อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๖.

ไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่าง บุรุษมีกำลัง ดีดนิ้วมือโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การ เจริญอินทรีย์ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ [๘๕๘] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ เธอรู้ชัด อย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ ขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบ ใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น ดูกรอานนท์ ภิกษุ รูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่างหยาดน้ำกลิ้ง ไปบนใบบัว ย่อมไม่ติดในที่ที่กลิ้งไปสักน้อยหนึ่ง ฉะนั้น ดูกรอานนท์ นี้เรา เรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัย ของพระอริยะ ฯ [๘๕๙] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา เธอรู้ชัดอย่าง นี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น แล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบ ใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น ดูกรอานนท์ ภิกษุ รูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกำลัง ตะล่อมก้อนเขฬะไว้ตรงปลายลิ้น แล้วถ่มไปโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัย ของพระอริยะ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๗.

[๘๖๐] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและ ไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยัง มีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น ดูกร อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและ ไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้โดยเร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือน อย่างบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น ดูกร อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อย่างไม่มีวิธี อื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ [๘๖๑] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน เธอรู้ชัด อย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ เกิดทั้งความชอบใจและไม่ ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมี สิ่งละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น ดูกร อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและ ไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบากอย่างนี้ เหมือนบุรุษมี กำลัง หยดหยาดน้ำสองหรือสามหยาดลงในกระทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดวัน ความ หยดลงแห่งหยาดน้ำยังช้า ทันทีนั้น หยาดน้ำนั้นจะถึงความสิ้นไป แห้งไปเร็ว ทีเดียว ฉะนั้น ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ ด้วยมโนอย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลเป็นการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัย ของพระอริยะ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๘.

[๘๖๒] ดูกรอานนท์ ก็พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่เป็นอย่างไร ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ ชอบใจ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความชอบ ใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้น เกิด ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะได้ยินเสียง ด้วยโสต ... เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ... เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ... เพราะถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกาย ... เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ... เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิด ขึ้นแล้วนั้น ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่ ฯ [๘๖๓] ดูกรอานนท์ ก็พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เป็นอย่างไร ดูกร อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจ และไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เธอถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่ง ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของ ไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความ สำคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความ สำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้ง ไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่า เป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสอง นั้น อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ อยู่อย่างมีสติ สัมปชัญญะได้ ฯ [๘๖๔] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต ... เพราะ ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ... เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน เธอ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๙.

ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความ สำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้ง ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูล ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติ สัมปชัญญะ ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะได้ ดูกร อานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ฯ [๘๖๕] ดูกรอานนท์ เราแสดงการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า ในวินัยของพระอริยะ แสดงพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่ แสดงพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์ แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลาย จงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำ พร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคฉะนี้แล ฯ
จบ อินทรียภาวนาสูตร ที่ ๑๐
จบ สฬายตนวรรค ที่ ๕
-----------------------------------------------------
หัวข้อเรื่องของสฬายตนวรรคนั้น ดังนี้
วรรคที่ ๕ มีเรื่องเด่น คือ ๑. เรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐี ๒. เรื่องพระฉันนะ ๓. เรื่องพระปุณณะ ๔. เรื่องพระนันทกะ ๕. เรื่องพระราหุล ๖. เรื่องธรรมหมวดหก ๖ หมวด ๗. เรื่องธรรมเนื่องด้วยอายตนะ ๖ ๘. เรื่องพราหมณ์ชาวบ้านนครวินทะ ๙. เรื่องบิณฑบาตบริสุทธิ์ และ ๑๐. เรื่องการเจริญอินทรีย์ ฯ
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๗๐.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร ๒. ฉันโนวาทสูตร ๓. ปุณโณวาทสูตร ๔. นันทโกวาทสูตร ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร ๖. ฉฉักกสูตร ๗. สฬายตนวิภังคสูตร ๘. นครวินเทยยสูตร ๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร ๑๐. อินทริยภาวนาสูตร
จบ อุปริปัณณาสก์
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๙๗๔๖-๑๑๐๗๓ หน้าที่ ๔๑๓-๔๗๐. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9746&Z=11073&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17], [18]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=14&siri=46              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=766              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [766-865] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=14&item=766&items=100              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=6232              The Pali Tipitaka in Roman :- [766-865] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=14&item=766&items=100              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=6232              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_14              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i766-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.146.than.html https://suttacentral.net/mn146/en/sujato https://suttacentral.net/mn146/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :