ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ทุกกรสูตรที่ ๗
[๓๖] (เทวดากล่าวว่า) ธรรมของสมณะ คนไม่ฉลาด ทำได้ยาก ทนได้ยาก เพราะธรรมของสมณะนั้นมีความลำบากมาก เป็นที่ติดขัดของ คนพาล ฯ [๓๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) คนพาล ประพฤติธรรมของสมณะสิ้นวันเท่าใด หากไม่ห้าม จิต เขาตกอยู่ในอำนาจของความดำริทั้งหลาย พึงติดขัดอยู่ ทุกๆ อารมณ์ ภิกษุยั้งวิตกในใจไว้ได้ เหมือนเต่าหด อวัยวะทั้งหลายไว้ในกระดองของตน อันตัณหานิสัยและ ทิฐินิสัยไม่พัวพันแล้ว ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น ปรินิพพาน แล้ว ไม่พึงติเตียนใคร ฯ
หิริสูตรที่ ๘
[๓๘] บุรุษที่เกียดกันอกุศลธรรมด้วยหิริ ได้มีอยู่น้อยคนในโลก ภิกษุใดบรรเทาความหลับเหมือนม้าดีหลบแส้ ภิกษุนั้นมีอยู่ น้อยรูปในโลก ฯ [๓๙] ขีณาสวภิกษุพวกใด เป็นผู้เกียดกันอกุศลธรรมด้วยหิริ มีสติประพฤติอยู่ในกาลทั้งปวง ขีณาสวภิกษุพวกนั้นมีน้อย ขีณาสวภิกษุทั้งหลาย บรรลุนิพพานเป็นส่วนสุดแห่งทุกข์ แล้ว เมื่อสัตตนิกายประพฤติไม่เรียบร้อย ย่อมประพฤติ เรียบร้อย ฯ
กุฏิกาสูตรที่ ๙
[๔๐] (เทวดากล่าวว่า) กระท่อมของท่านไม่มีหรือ รังของท่านไม่มีหรือ เครื่อง สืบต่อของท่านไม่มีหรือ ท่านเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก หรือ ฯ [๔๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) แน่ละ กระท่อมของเราไม่มี แน่ละ รังของเราไม่มี แน่ละ เครื่องสืบต่อของเราไม่มี แน่ละ เราเป็นผู้พ้นแล้วจาก เครื่องผูก ฯ [๔๒] ข้าพเจ้ากล่าวแก่ท่านว่า อะไรเป็นกระท่อม ข้าพเจ้า กล่าวแก่ท่านว่าอะไรเป็นรัง ข้าพเจ้ากล่าวแก่ท่านว่าอะไรเป็น เครื่องสืบต่อ ข้าพเจ้ากล่าวแก่ท่านว่าอะไรเป็นเครื่องผูก ฯ [๔๓] ท่านกล่าวมารดาว่าเป็นกระท่อม ท่านกล่าวภรรยาว่าเป็นรัง ท่านกล่าวบุตรว่าเป็นเครื่องสืบต่อ ท่านกล่าวตัณหาว่าเป็น เครื่องผูกแก่เรา ฯ ดีจริง กระท่อมของท่านไม่มี ดีจริง รังของท่านไม่มี ดีจริง เครื่องสืบต่อของท่านไม่มี ดีจริง ท่านเป็นผู้พ้นแล้วจาก เครื่องผูก ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๒๐๙-๒๔๗ หน้าที่ ๑๑-๑๒. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=209&Z=247&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=15&siri=17              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=36              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [36-43] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=36&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=934              The Pali Tipitaka in Roman :- [36-43] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=36&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=934              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i023-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn01/sn01.017.wlsh.html https://suttacentral.net/sn1.17/en/sujato https://suttacentral.net/sn1.17/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :