ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๕. ภูมิชสูตร
[๗๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระภูมิชะ ออกจากที่เร้น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับ ท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ท่าน สารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตน ทำเอง อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ ผู้อื่นทำให้ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตน ทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อม บัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่น กระทำให้ ท่านสารีบุตร ในวาทะทั้ง ๔ นี้ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายตรัสไว้ อย่างไร ตรัสบอกไว้อย่างไร พวกเราพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าว ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว จะไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และ พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะ อันวิญญูชนจะติเตียนได้ ฯ [๘๐] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สุขและทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น สุขและ ทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มี พระภาคตรัสแล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรม สมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชน จะติเตียนได้ ดูกรอาวุโส ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะ อาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็น ปัจจัย ดูกรอาวุโส ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติ ว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ [๘๑] ท่านพระอานนท์ ได้ยิน ท่านพระสารีบุตร สนทนาปราศรัย กับท่าน พระภูมิชะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถ้อยคำ สนทนา ของท่าน พระสารีบุตร กับท่าน พระภูมิชะ เท่าที่มีมาแล้ว ทั้งหมด แด่พระผู้มี พระภาค ฯ [๘๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ อานนท์ ตามที่สารีบุตรพยากรณ์ ชื่อว่าพึงพยากรณ์โดยชอบ ดูกรอานนท์ เรากล่าวว่าสุขและทุกข์เป็นของอาศัย เหตุเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วย คำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้ ดูกรอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้ สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ย่อม เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้ กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำ ให้ ก็ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดูกรอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวก สมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ ตนทำเอง เว้นผัสสะ เสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ พวกสมณ- *พราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้น เพราะอาศัยการที่ตน เองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ [๘๓] ดูกรอานนท์ เมื่อกายมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อม บังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางกายเป็นเหตุ เมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็น ภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางวาจาเป็นเหตุ หรือว่า เมื่อใจมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความจงใจทางใจเป็นเหตุ ดูกร อานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแหละ บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่ง เป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น ด้วยตนเองบ้าง บุคคลย่อมปรุง แต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น เพราะผู้อื่น บ้าง บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็น ภายในเกิดขึ้นบ้าง บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง ดูกรอานนท์ บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่ง เป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง บุคคลย่อมปรุงแต่ง วจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะผู้อื่นบ้าง บุคคล รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น บ้าง บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อัน เป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง ดูกรอานนท์ บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็น ปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง บุคคลย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะผู้อื่นบ้าง บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายใน เกิดขึ้นบ้าง บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง ดูกรอานนท์ อวิชชาแทรกอยู่แล้วในธรรม เหล่านี้ ฯ [๘๔] ดูกรอานนท์ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ กายซึ่ง เป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี วาจาซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี ใจซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็น ภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี เขต [ความจงใจเป็นเหตุงอกงาม] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและ ทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี วัตถุ [ความจงใจอันเป็นที่ประดิษฐาน] ซึ่งเป็น ปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี อายตนะ [ความจงใจอัน เป็นปัจจัย] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี หรือ อธิกรณ์ [ความจงใจอันเป็นเหตุ] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายใน เกิดขึ้น จึงไม่มี ฯ
จบสูตรที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๙๓๑-๑๐๑๑ หน้าที่ ๓๘-๔๑. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=931&Z=1011&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=16&siri=21              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=79              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [79-84] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=16&item=79&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=1459              The Pali Tipitaka in Roman :- [79-84] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=16&item=79&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=1459              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i064-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn12/sn12.025.than.html https://suttacentral.net/sn12.25/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.25/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :