ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๔. ปริวัฏฏสูตร
ว่าด้วยการรู้อุปาทานขันธ์โดยเวียนรอบ ๔
[๑๑๒] พระนครสาวัตถี. ฯลฯ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ยิ่งซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ โดยเวียนรอบ ๔ ตามความเป็นจริง เพียงใด เราก็ยัง ไม่ปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ อย่างยอดเยี่ยม ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล เรารู้ยิ่งซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ โดยเวียนรอบ ๔ ตามความเป็น จริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ อย่างยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ มนุษย์. เวียนรอบ ๔ อย่างไร? คือ เรารู้ยิ่งซึ่งรูป ความเกิดแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทา อันให้ถึงความดับแห่งรูป รู้ยิ่งซึ่งเวทนา ฯลฯ รู้ยิ่งซึ่งสัญญา ฯลฯ รู้ยิ่งซึ่งสังขาร ฯลฯ รู้ยิ่งซึ่ง วิญญาณ ความเกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ. [๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็รูปเป็นไฉน? คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูต รูป ๔. นี้เรียกว่ารูป. ความเกิดขึ้นแห่งรูป ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความดับแห่งรูป ย่อมมีเพราะความดับแห่งอาหาร อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับ แห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ ปฏิบัติแล้วเพื่อความหน่าย เพื่อ ความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับ แห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อ หน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า หลุดพ้นแล้วดี สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่า นั้น เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็น ของตน ความเวียนวนเพื่อปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น. [๑๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน? เวทนา ๖ หมวดนี้ คือ เวทนาเกิดแต่ จักขุสัมผัส เวทนาเกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาเกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาเกิดแต่กายสัมผัส เวทนาเกิดแต่มโนสัมผัส. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าเวทนา ความ เกิดขึ้นแห่งเวทนา ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนา ย่อมมีเพราะความ ดับแห่งผัสสะ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้ แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งเวทนา อย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ ปฏิบัติแล้วเพื่อความหน่าย เพื่อ ความคลายกำหนัด เพื่อความดับเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชน เหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ เป็นผู้ หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน ความเวียนวนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น. [๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญาเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๖ หมวดนี้ คือ ความสำคัญในรูป ความสำคัญในเสียง ความสำคัญในกลิ่น ความสำคัญในรส ความสำคัญ ในโผฏฐัพพะ ความสำคัญในธรรมารมณ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสัญญา. ความเกิดขึ้น แห่งสัญญา ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะความดับแห่ง ผัสสะ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้แลเป็น ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสัญญา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ ความวนเวียนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มี แก่สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น. [๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจตนา ๖ หมวดนี้ คือ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรม สัญเจตนา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสังขาร. ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมมีเพราะความ เกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับ แห่งสังขาร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งสังขารอย่าง นี้ ฯลฯ ความวนเวียนเพื่อปรากฏ ย่อมไม่มี แก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น [๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ๖ หมวดนี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ. ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความดับแห่งวิญญาณย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้ง หลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งเหตุเกิดแห่ง วิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ อย่างนี้ ปฏิบัติแล้ว เพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณ สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าย่อม หยั่งลงในธรรมวินัยนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่ง วิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่ง ข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลาย กำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุด พ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มี กำลังสามารถเป็นของตน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน ความ วนเวียนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
จบ สูตรที่ ๔.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๑๓๐๒-๑๓๗๘ หน้าที่ ๕๗-๖๐. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=1302&Z=1378&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=17&siri=56              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=112              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [112-117] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=17&item=112&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6685              The Pali Tipitaka in Roman :- [112-117] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=17&item=112&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6685              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i105-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.056.than.html https://suttacentral.net/sn22.56/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.56/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :