ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๕. อุปปาทสังยุต
๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์
[๔๗๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งจักษุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏ แห่งชราและมรณะ. ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งหู ฯลฯ แห่ง ลิ้น ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ แห่งใจ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. [๔๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่ง จักษุ นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่ง ชราและมรณะ. ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่งหู ฯลฯ แห่งจมูก ฯลฯ แห่งลิ้น ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ แห่งใจ นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็น ความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.
จบ สูตรที่ ๑.
๒. รูปสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์
[๔๘๑] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่ง ชราและมรณะ. ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งเสียง ฯลฯ แห่ง กลิ่น ฯลฯ แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ แห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. [๔๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่งรูป นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและ มรณะ. ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่งเสียง ฯลฯ แห่งกลิ่น ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ แห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับ แห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.
จบ สูตรที่ ๒.
๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์
[๔๘๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ แห่งโสตวิญญาณ ฯลฯ แห่งมโนวิญญาณ นี้เป็นความเกิด ขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. [๔๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่ง จักขุวิญญาณ ฯลฯ แห่งโสตวิญญาณ ฯลฯ แห่งฆานวิญญาณ ฯลฯ แห่งชิวหาวิญญาณ ฯลฯ แห่งกายวิญญาณ ฯลฯ แห่งมโนวิญญาณ นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบ ระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.
จบ สูตรที่ ๓.
๔. ผัสสสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์
[๔๘๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งจักขุสัมผัส ฯลฯ แห่งโสตสัมผัส ฯลฯ แห่งฆานสัมผัส ฯลฯ แห่งกายสัมผัส ฯลฯ แห่งมโนสัมผัส นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรา และมรณะ. [๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่ง จักขุสัมผัส ฯลฯ แห่งโสตสัมผัส ฯลฯ แห่งฆานสัมผัส ฯลฯ แห่งชิวหาสัมผัส ฯลฯ แห่งกายสัมผัส ฯลฯ แห่งมโนสัมผัส นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับ แห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.
จบ สูตรที่ ๔.
๕. เวทนาสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์
[๔๘๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งฆานสัมผัส สชาเวทนา ฯลฯ แห่งชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งกายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่ง มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏ แห่งชราและมรณะ. [๔๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับความดับสูญแห่ง จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งกายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ แห่งมโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชรา และมรณะ.
จบ สูตรที่ ๕.
๖. สัญญาสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์
[๔๘๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูปสัญญา ฯลฯ แห่งสัททสัญญา ฯลฯ แห่งคันธสัญญา ฯลฯ แห่งรสสัญญา ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ แห่งธรรมสัญญา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่ แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. [๔๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่ง รูปสัญญา ฯลฯ แห่งสัททสัญญา ฯลฯ แห่งคันธสัญญา ฯลฯ แห่งรสสัญญา ฯลฯ แห่ง โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ แห่งธรรมสัญญา นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบ ระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.
จบ สูตรที่ ๖.
๗. เจตนาสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์
[๔๙๑] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูปสัญเจตนา ฯลฯ แห่งสัททสัญเจตนา ฯลฯ แห่งคันธสัญเจตนา ฯลฯ แห่ง รสสัญเจตนา ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ แห่งธรรมสัญเจตนา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่ง ทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. [๔๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่ง รูปสัญเจตนา ฯลฯ แห่งสัททสัญเจตนา ฯลฯ แห่งคันธสัญเจตนา ฯลฯ แห่งรสสัญเจตนา ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ แห่งธรรมสัญเจตนา นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็น ความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.
จบ สูตรที่ ๗.
๘. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์
[๔๙๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูปตัณหา ฯลฯ แห่งสัททตัณหา ฯลฯ แห่งคันธตัณหา ฯลฯ แห่งรสตัณหา ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ แห่งธรรมตัณหา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่ แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. [๔๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความสูญแห่ง รูปตัณหา ฯลฯ แห่งสัททตัณหา ฯลฯ แห่งคันธตัณหา ฯลฯ แห่งรสตัณหา ฯลฯ แห่ง โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ แห่งธรรมตัณหา นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบ ระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.
จบ สูตรที่ ๘.
๙. ธาตุสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์
[๔๙๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งปฐวีธาตุ ฯลฯ แห่งอาโปธาตุ ฯลฯ แห่งเตโชธาตุ ฯลฯ แห่งวาโยธาตุ ฯลฯ แห่งอากาสธาตุ ฯลฯ แห่งวิญญาณธาตุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. [๔๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่ง ปฐวีธาตุ ฯลฯ แห่งอาโปธาตุ ฯลฯ แห่งเตโชธาตุ ฯลฯ แห่งวาโยธาตุ ฯลฯ แห่งอากาสธาตุ ฯลฯ แห่งวิญญาณธาตุ ฯลฯ นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.
จบ สูตรที่ ๙.
๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์
[๔๙๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่ง ชราและมรณะ. ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งเวทนา ฯลฯ แห่ง สัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่ แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ. [๔๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับความดับสูญแห่งรูป นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและ มรณะ. ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความดับสูญแห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับ แห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.
จบ สูตรที่ ๑๐.
จบ อุปปาทสังยุต.
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ
๑. จักขุสูตร ๖. สัญญาสูตร ๒. รูปสูตร ๗. เจตนาสูตร ๓. วิญญาณสูตร ๘. ตัณหาสูตร ๔. ผัสสสูตร ๙. ธาตุสูตร ๕. เวทนาสูตร ๑๐. ขันธสูตร.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๕๗๔๔-๕๘๗๐ หน้าที่ ๒๕๓-๒๕๘. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=5744&Z=5870&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=17&siri=246              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=479              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [479-498] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=17&item=479&items=20              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=8326              The Pali Tipitaka in Roman :- [479-498] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=17&item=479&items=20              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=8326              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i479-e.php# https://suttacentral.net/sn26.1/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :