ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

หน้าที่ ๒๕๙.

๖. กิเลสสังยุต
๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
[๔๙๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจักษุ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในหู นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความ กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจมูก นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในลิ้น นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในกาย นี้เป็นอุปกิเลส แห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในใจ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งใจในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปใน เนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมอันทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๑.
๒. รูปสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
[๕๐๐] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในเสียง ฯลฯ ในกลิ่น ฯลฯ ในรส ฯลฯ ในโผฏฐัพพะ ฯลฯ ในธรรมารมณ์ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุและอุปกิเลสแห่งใจในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไป ในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมอันจะพึงทำให้แจ้ง ด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๒.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๐.

๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
[๕๐๑] ก. พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน จักขุวิญญาณ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในโสตวิญญาณ ฯลฯ ในฆานวิญญาณ ฯลฯ ในชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ในกายวิญญาณ ฯลฯ ในมโนวิญญาณ นี้เป็น อุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏใน ธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๓.
๔. ผัสสสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
[๕๐๑] ข. พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน จักขุสัมผัส นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในโสตสัมผัส ฯลฯ ในฆานสัมผัส ฯลฯ ในชิวหาสัมผัส ฯลฯ ในกายสัมผัส ฯลฯ ในมโนสัมผัส นี้เป็นอุปกิเลส แห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของ เธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่ จะพึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๔.
๕. เวทนาสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
[๕๐๒] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ใน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๑.

ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในกายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในมโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละ อุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนก- *ขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๕.
๖. สัญญาสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
[๕๐๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน รูปสัญญา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัททสัญญา ฯลฯ ในคันธสัญญา ฯลฯ ในรสสัญญา ฯลฯ ในโผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ในธรรมสัญญา นี้เป็นอุปกิเลส แห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิต ของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏใน ธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๖.
๗. เจตนาสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
[๕๐๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน รูปสัญเจตนา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัททสัญเจตนา ฯลฯ ในคันธสัญเจตนา ฯลฯ ในรสสัญเจตนา ฯลฯ ในโผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ในธรรมสัญเจตนา นี้ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๗.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๒.

๘. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
[๕๐๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน รูปตัณหา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัททตัณหา ฯลฯ ใน คันธตัณหา ฯลฯ ในรสตัณหา ฯลฯ ในโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ในธรรมตัณหา ฯลฯ นี้เป็นอุปกิเลส แห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิต ของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏใน ธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๘.
๙. ธาตุสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
[๕๐๖] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน ปฐวีธาตุ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในอาโปธาตุ ฯลฯ ใน เตโชธาตุ ฯลฯ ในวาโยธาตุ ฯลฯ ในอากาสธาตุ ในวิญญาณธาตุ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อม ไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วย อภิญญา.
จบ สูตรที่ ๙.
๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
[๕๐๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในเวทนา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๓.

ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัญญา นี้เป็นกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความ พอใจในสังขาร นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในวิญญาณ นี้เป็น อุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อ นั้นแล จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๑๐.
จบ กิเลสสังยุต.
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ
๑. จักขุสูตร ๖. สัญญาสูตร ๒. รูปสูตร ๗. เจตนาสูตร ๓. วิญญาณสูตร ๘. ตัณหาสูตร ๔. ผัสสสูตร ๙. ธาตุสูตร ๕. เวทนาสูตร ๑๐. ขันธสูตร
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๕๘๗๑-๕๙๗๒ หน้าที่ ๒๕๙-๒๖๓. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=5871&Z=5972&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=17&siri=256              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=499              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [499-507] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=17&item=499&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=8330              The Pali Tipitaka in Roman :- [499-507] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=17&item=499&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=8330              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i499-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn27/sn27.001-010.than.html https://suttacentral.net/sn27.1/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :