ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
มิจฉาทิฏฐิสูตร
[๒๕๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่ อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลรู้เห็นจักษุแล โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นรูป โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็น ของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่ เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิ ได้ บุคคลรู้เห็นหู... รู้เห็นจมูก... รู้เห็นลิ้น... รู้เห็นกาย... รู้เห็นใจโดยความ เป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉา- *ทิฐิได้ รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็น สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
สักกายทิฏฐิสูตร
[๒๕๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๖๗.

ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็น อยู่อย่างไร จึงจะละสักกายทิฐิได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลรู้เห็น จักษุแลโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นรูปโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิ ได้ รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นแม้สุข- *เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ บุคคลรู้เห็นหู ... รู้เห็นจมูก... รู้เห็น ลิ้น... รู้เห็นกาย... รู้เห็นใจโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็น ธรรมารมณ์โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความ เป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละ สักกายทิฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละสักกายทิฐิได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
อัตตานุทิฏฐิสูตร
[๒๕๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็น อยู่อย่างไร จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคล รู้เห็นจักษุแล โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ รู้เห็นรูปโดยความเป็น อนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละ อัตตานุทิฐิได้ รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ บุคคลรู้เห็นหู... รู้เห็น จมูก... รู้เห็นลิ้น... รู้เห็นกาย... รู้เห็นใจโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๖๘.

ได้ รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ รู้เห็นมโน- *วิญญาณโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความ เป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา จึง จะละอัตตานุทิฐิได้ ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะ ละอัตตานุทิฐิได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๒
จบนันทิขยวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. นันทิขยสูตรที่ ๑ ๒. นันทิขยสูตรที่ ๒ ๓. นันทิขยสูตรที่ ๓ ๔. นันทิขยสูตรที่ ๔ ๕. ชีวกัมพวนสูตรที่ ๑ ๖. ชีวกัมพวนสูตรที่ ๒ ๗. มหาโกฏฐิกสูตรที่ ๑ ๘. มหาโกฏฐิกสูตรที่ ๒ ๙. มหาโกฏฐิกสูตรที่ ๓ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิสูตร ๑๑. สักกายทิฏฐิสูตร ๑๒. อัตตานุทิฏฐิสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๓๘๔๒-๓๘๙๙ หน้าที่ ๑๖๖-๑๖๘. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=3842&Z=3899&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=18&siri=143              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=254              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [254-256] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=254&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1219              The Pali Tipitaka in Roman :- [254-256] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=254&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1219              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i245-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/sn35.165/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :