ภิกขุสูตร
[๔๓๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนา
เป็นไฉนหนอ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความเกิดขึ้น
แห่งเวทนาเป็นไฉน ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับ
แห่งเวทนาเป็นไฉน อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไร
เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เวทนา ๓ เหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เราเรียก
ว่าเวทนา เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด ตัณหาเป็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงเหตุเกิด
แห่งเวทนา เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ
คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา
สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยเวทนาอันใด นี้เป็นคุณแห่งเวทนา เวทนาอันใด
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา ความ
กำจัด ความละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ฯ
จบสูตรที่ ๓
ปุพพสูตร
[๔๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งยังมิได้ตรัสรู้ ยัง
เป็นโพธิสัตว์อยู่ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เวทนาเป็นไฉนหนอ ความเกิดขึ้น
แห่งเวทนาเป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน ความ
ดับแห่งเวทนาเป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน อะไร
เป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออก
แห่งเวทนา เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เวทนา ๓ นี้ เหล่านี้ คือ สุขเวทนา
ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เราเรียกว่าเวทนา เพราะผัสสะเกิด เวทนา
จึงเกิด ตัณหาเป็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ฯลฯ ความกำจัด
ความละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ฯ
จบสูตรที่ ๔
ญาณสูตร
[๔๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง
ได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้เวทนา ... นี้ความเกิดขึ้น
แห่งเวทนา... นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความเกิดขึ้นแห่งเวทนา... นี้ความดับแห่ง
เวทนา... นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา... นี้เป็นคุณแห่งเวทนา...
นี้เป็นโทษแห่งเวทนา... นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ฯ
จบสูตรที่ ๕
ภิกขุสูตร
[๔๔๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนา
เป็นไฉนหนอ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความเกิดขึ้น
แห่งเวทนาเป็นไฉน ฯลฯ อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา
อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ ฯลฯ ความกำจัด ความละฉันทราคะในเวทนา นี้
เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ฯ
จบสูตรที่ ๖
สมณพราหมณสูตรที่ ๑
[๔๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ
สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ก็สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ย่อมไม่รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ๓
เหล่านี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ยังไม่นับว่าเป็นสมณะ
ในหมู่สมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้น ย่อมไม่กระทำ
ให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา
อันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ๓ เหล่านี้
ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ
หรือเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ของความเป็นสมณะหรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๗
สมณพราหมณสูตรที่ ๒
[๔๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน
คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก
แห่งเวทนา ๓ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ของความเป็นสมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๘
สมณพราหมณสูตรที่ ๓
[๔๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ย่อมไม่รู้เวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาเครื่องให้
ถึงความดับแห่งเวทนา ฯลฯ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ
หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๙
สุทธิกสูตร
[๔๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน
คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓
เหล่านี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๖๑๕๙-๖๒๓๓ หน้าที่ ๒๖๖-๒๖๙.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=6159&Z=6233&pagebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=18&siri=217
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=438
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
[438-445] http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=438&items=8
The Pali Tipitaka in Roman :-
[438-445] http://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=438&items=8
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘
http://84000.org/tipitaka/read/?index_18
อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :-
https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i427-e.php#sutta3
https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn36/sn36.023.than.html
https://suttacentral.net/sn36.23/en/sujato
https://suttacentral.net/sn36.23/en/bodhi
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]