ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
อวิชชาวรรคที่ ๑
อวิชชาสูตร
[๕๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้อย่างไร เห็น อย่างไร จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชา จึงจะเกิด บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป ... จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดย ความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดย ความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่ อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ฯ
จบสูตรที่ ๑
สังโยชนสูตรที่ ๑
[๕๗] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร จึงจะละสังโยชน์ได้ ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป ... จักษุวิญญาณ จักษุ สัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ ฯลฯ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละสังโยชน์ได้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
สังโยชนสูตรที่ ๒
[๕๘] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร สังโยชน์จึงถึงความเพิกถอน ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็น อนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป จักษุ วิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล สังโยชน์จึงจะถึงความ เพิกถอน ฯ
จบสูตรที่ ๓
อาสวสูตรที่ ๑
[๕๙] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร จึงจะละอาสวะได้ ฯลฯ
จบสูตรที่ ๔
อาสวสูตรที่ ๒
[๖๐] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร อาสวะจึงจะถึงความเพิกถอน ฯลฯ
จบสูตรที่ ๕
อนุสัยสูตรที่ ๑
[๖๑] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละอนุสัยได้ ฯลฯ
จบสูตรที่ ๖
อนุสัยสูตรที่ ๒
[๖๒] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็น อนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯลฯ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็น อนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯ
จบสูตรที่ ๗
ปริญญาสูตร
[๖๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทาน ทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อ กำหนดรู้ซึ่งอุปาทานทั้งปวงเป็นไฉน อาศัยจักษุและรูป เกิดจักษุวิญญาณ รวม ธรรม ๓ ประการ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้ง ในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในเวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนด ย่อมหลุดพ้น เธอย่อมทราบชัดว่า อุปาทาน เรากำหนดรู้แล้วด้วยวิโมกข์ อาศัยหูและเสียง ฯลฯ อาศัยจมูกและกลิ่น ฯลฯ อาศัยลิ้นและรส ฯลฯ อาศัยกายและโผฏฐัพพะ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ จึง เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิด เวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ หน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งใน เวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เธอย่อมทราบชัดว่า อุปาทานเรากำหนดรู้แล้วด้วยวิโมกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง ฯ
จบสูตรที่ ๘
ปริยาทานสูตรที่ ๑
[๖๔] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อความครอบงำ อุปาทานทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวงเป็นไฉน อาศัยจักษุและรูป เกิดจักษุ วิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้ง ในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในเวทนา เมื่อ เบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เธอย่อมทราบ ชัดว่า อุปาทานอันเราครอบงำได้แล้วด้วยวิโมกข์ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิด เวทนา อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งใน ธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในเวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เธอย่อมทราบชัดว่า อุปาทานอันเราครอบงำได้แล้วด้วยวิโมกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมเพื่อ ความครอบงำอุปาทานทั้งปวง ฯ
จบสูตรที่ ๙
ปริยาทานสูตรที่ ๒
[๖๕] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อความครอบงำ อุปาทานทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวงเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. รูป ฯลฯ จักษุวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. จักษุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. โสตะ ... ฆาน ... ชิวหา ... กาย ... ใจ ... ธรรมารมณ์ ... มโน วิญญาณ ... มโนสัมผัส ... สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่ เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม เบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุด พ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่ จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวง ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบอวิชชาวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อวิชชาสูตร ๒. สังโยชนสูตรที่ ๑ ๓. สังโยชนสูตรที่ ๒ ๔. อาสว- *สูตรที่ ๑ ๕. อาสวสูตรที่ ๒ ๖. อนุสัยสูตรที่ ๑ ๗. อนุสัยสูตรที่ ๒ ๘. ปริญญาสูตร ๙. ปริยาทานสูตรที่ ๑ ๑๐. ปริยาทานสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๖๓๓-๗๗๐ หน้าที่ ๒๙-๓๔. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=633&Z=770&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=18&siri=33              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=56              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [56-65] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=56&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=293              The Pali Tipitaka in Roman :- [56-65] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=56&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=293              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i056-e.php# http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/salayatana/sn35-053.html https://suttacentral.net/sn35.53/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.53/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :