อนุรุทธสูตร
[๔๖๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ได้เห็นมาตุคามเมื่อแตกกายตายไป เข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
[๔๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วย
ธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มี
โอตตัปปะ ๑ มักโกรธ ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก ฯ
จบสูตรที่ ๕
อุปนาหีสูตร
[๔๗๐] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ
แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ มักผูกโกรธ ๑
มีปัญญาทราม ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๖
อิสสุกีสูตร
[๔๗๑] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ
แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ มีความริษยา ๑
มีปัญญาทราม ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๗
มัจฉรีสูตร
[๔๗๒] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ
แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ มีความตระหนี่ ๑
มีปัญญาทราม ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๘
อติจารีสูตร
[๔๗๓] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ
แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ ประพฤติ
นอกใจ ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
นี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๙
ทุสสีลสูตร
[๔๗๔] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ
แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ เป็นคนทุศีล ๑
มีปัญญาทราม ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
อัปปัสสุตสูตร
[๔๗๕] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ
แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ มีสุตะน้อย ๑
มีปัญญาทราม ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
กุสีตสูตร
[๔๗๖] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ
แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ เกียจคร้าน ๑
มีปัญญาทราม ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๑๒
มุฏฐัสสติสูตร
[๔๗๗] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ
แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ มีสติหลง ๑
มีปัญญาทราม ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๑๓
ปัญจเวรสูตร
[๔๗๘] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ
แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ มาตุคามเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑
ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคาม
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๑๔
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๖๓๔๓-๖๔๒๐ หน้าที่ ๒๗๕-๒๗๘.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=6343&Z=6420&pagebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=18&siri=230
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=468
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
[468-478] http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=468&items=11
The Pali Tipitaka in Roman :-
[468-478] http://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=468&items=11
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘
http://84000.org/tipitaka/read/?index_18
อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :-
http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i458-e.php#sutta5
https://suttacentral.net/sn37.5/en/sujato
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com