ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
อิสิทัตตสูตรที่ ๒
[๕๔๖] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า มัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้อาราธนาว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลาย ผู้เจริญ ขอพระเถระทั้งหลายโปรดรับภัตตาหารของกระผมในวันพรุ่งนี้ ภิกษุผู้เถระ ทั้งหลายรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีทราบการรับอาราธนา ของภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว ลุกจากอาสนะ ไหว้กระทำประทักษิณแล้วจากไป ฯ [๕๔๗] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไปเป็นเวลาเช้า ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรพากันเข้าไปยังนิเวสน์ของจิตตคฤหบดีแล้วนั่งบนอาสนะที่ ตบแต่งไว้ถวาย ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ไหว้แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่ พระเถระผู้เจริญ ทิฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยง บ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็น อื่น สรีระก็เป็นอื่นบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมไม่เป็น อีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อม เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง (ก็ทิฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้ ได้กล่าว ไว้ในพรหมชาลสูตร) ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไร ไม่มี ทิฐิเหล่านี้จึงไม่มี ฯ [๕๔๘] เมื่อจิตตคฤหบดีได้ถามอย่างนี้แล้ว พระเถระผู้เป็นประธานได้ นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคฤหบดีได้ถามพระเถระผู้เป็นประธาน ว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ ทิฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อม ไม่เป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีบ้าง สัตว์ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง แม้ครั้งที่ ๓ พระเถระผู้เป็น ประธานก็ได้นิ่งอยู่ ฯ [๕๔๙] ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอิสิทัตตะเป็นผู้ใหม่กว่าทุกองค์ในภิกษุ สงฆ์หมู่นั้น ครั้งนั้นแล ท่านพระอิสิทัตตะได้ขอโอกาสกะพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ กระผมขอพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นของจิตตคฤหบดี พระเถระ กล่าวว่า ดูกรท่านอิสิทัตตะ ท่านจงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นของจิตตคฤหบดีเถิด ท่านอิสิทัตตะได้ถามว่า ดูกรคฤหบดี ก็ท่านถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ ทิฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมี ที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ฯลฯ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ทิฐิเหล่านี้จึงไม่มี ดังนี้หรือ จิตตคฤหบดีกล่าวว่า อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ ฯ อิ. ดูกรคฤหบดี ทิฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง... สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง (ทิฐิ ๖๒ เหล่านี้ ได้กล่าวไว้แล้วในพรหมชาลสูตร) ดูกรคฤหบดี เมื่อสักกายทิฐิ มี ทิฐิเหล่านี้ก็มี เมื่อสักกายทิฐิไม่มี ทิฐิเหล่านี้ก็ไม่มี ฯ [๕๕๐] จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สักกายทิฐิย่อมเกิดมีได้อย่างไร ฯ อิ. ดูกรคฤหบดี ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีรูป ๑ เห็นรูปในตน ๑ เห็นตนในรูป ๑ เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีเวทนา ๑ เห็นเวทนาในตน ๑ เห็นตน ในเวทนา ๑ เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีสัญญา ๑ เห็นสัญญาใน ตน ๑ เห็นตนในสัญญา ๑ เห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีสังขาร ๑ เห็นสังขารในตน ๑ เห็นตนในสังขาร ๑ เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ เห็น ตนมีวิญญาณ ๑ เห็นวิญญาณในตน ๑ เห็นตนในวิญญาณ ๑ ดูกรคฤหบดี สักกายทิฐิย่อมเกิดมีได้อย่างนี้แล ฯ [๕๕๑] จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สักกายทิฐิย่อมไม่เกิดมีได้อย่างไร ฯ อิ. ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็น พระอริยเจ้า ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีรูป ๑ ไม่เห็นรูปในตน ๑ ไม่ เห็นตนในรูป ๑ ไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีเวทนา ๑ ไม่เห็น เวทนาในตน ๑ ไม่เห็นตนในเวทนา ๑ ไม่เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ ไม่ เห็นตนมีสัญญา ๑ ไม่เห็นสัญญาในตน ๑ ไม่เห็นตนในสัญญา ๑ ไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีสังขาร ๑ ไม่เห็นสังขารในตน ๑ ไม่เห็นตน ในสังขาร ๑ ไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ๑ ไม่เห็น วิญญาณในตน ๑ ไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑ ดูกรคฤหบดี สักกายทิฐิย่อมไม่เกิด มีได้อย่างนี้แล ฯ จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าอิสิทัตตะมาจากไหน ฯ อิ. ดูกรคฤหบดี อาตมภาพมาจากอวันตีชนบท ฯ จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กุลบุตรมีนามว่าอิสิทัตตะในอวันตีชนบท เป็น สหายที่ไม่เคยเห็นกันของข้าพเจ้า ได้ออกบรรพชามีอยู่ พระคุณเจ้าได้เห็นท่าน หรือไม่ ฯ อิ. ได้เห็น คฤหบดี ฯ จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ ท่านผู้มีอายุรูปนั้นอยู่ที่ไหนหนอ ฯ [๕๕๒] เมื่อจิตตคฤหบดีได้ถามอย่างนี้ ท่านอิสิทัตตะได้นิ่งอยู่ ฯ จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอิสิทัตตะของข้าพเจ้า คือพระคุณเจ้าหรือ ฯ อิ. ใช่ละ คฤหบดี ฯ จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอให้พระคุณเจ้าอิสิทัตตะจงชอบใจอัมพาฏก วันอันเป็นที่น่ารื่นรมย์ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์เถิด ข้าพเจ้าจักบำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัชบริขาร อิ. ดูกรคฤหบดี ท่านกล่าวดีแล้ว ฯ [๕๕๓] ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระอิสิ- *ทัตตะแล้ว ได้อังคาสภิกษุผู้เถระทั้งหลายให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยขาทนียะ- *โภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตน ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลายฉัน เสร็จแล้ว ลดมือจากบาตร ลุกขึ้นจากอาสนะกลับไป ลำดับนั้นแล พระเถระ ผู้เป็นประธานได้ให้โอกาสท่านพระอิสิทัตตะว่า ดีแล้ว ท่านอิสิทัตตะ ปัญหา ข้อนั้นแจ่มแจ้งแก่ท่าน มิได้แจ่มแจ้งแก่ผม ต่อไป ถ้าปัญหาเช่นนี้พึงมีมาแม้ โดยประการอื่นในกาลใด ท่านนั่นแหละพึงกล่าวตอบปัญหาเช่นนั้นในกาลนั้น ครั้งนั้นแล ท่านอิสิทัตตะได้เก็บเสนาสนะ ถือเอาบาตรและจีวร เดินทางออกจาก ราวป่าชื่อมัจฉิกาสณฑ์ไม่ได้กลับมาอีก เหมือนกับภิกษุรูปอื่นที่ได้ออกเดินทาง จากไป ฯ
จบสูตรที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๗๒๘๐-๗๓๖๖ หน้าที่ ๓๑๖-๓๑๙. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=7280&Z=7366&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=18&siri=259              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=546              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [546-553] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=546&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3347              The Pali Tipitaka in Roman :- [546-553] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=546&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3347              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i537-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn41/sn41.003.than.html https://suttacentral.net/sn41.3/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :