ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
อสังขาสูตร
[๖๐๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกอัมพวัน ใกล้ เมืองนาฬันทา ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตร สาวกของนิครณถ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรนายคามณี นิครณถ์- *นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกอย่างไร อสิพันธกบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกอย่างนี้ว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ต้องไป อบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่ลักทรัพย์ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่ประพฤติผิด ในกาม ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่พูดเท็จต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด กรรมใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป นิครณถ์นาฏบุตรย่อมแสดงธรรม แก่พวกสาวกอย่างนี้แล พระเจ้าข้า ฯ [๖๐๙] พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวก ว่า กรรมใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ จักไม่ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร ดูกรนายคามณี ท่านจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษฆ่าสัตว์รวมทั้งสมัยและไม่ใช่สมัย ทั้งกลางคืน และกลางวัน สมัยที่เขาฆ่าสัตว์ หรือสมัยที่เขาไม่ฆ่าสัตว์ สมัยไหนมาก กว่ากัน ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษฆ่าสัตว์รวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้ง กลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาฆ่าสัตว์น้อยกว่า สมัยที่เขาไม่ได้ฆ่าสัตว์มากกว่า พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า กรรม ใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลนั้นไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ จักไม่ ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร ฯ [๖๑๐] ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษลักทรัพย์ รวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาลักทรัพย์ หรือ สมัยที่เขาไม่ได้ลักทรัพย์ สมัยไหนมากกว่ากัน ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษลักทรัพย์รวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้ง กลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาลักทรัพย์น้อยกว่า ส่วนสมัยที่เขามิได้ลักทรัพย์ มากกว่า พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า กรรม ใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลนั้นไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ จักไม่ ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร ฯ [๖๑๑] ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษ ประพฤติผิดในกามรวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขา ประพฤติผิดในกาม หรือสมัยที่เขามิได้ประพฤติผิดในกาม สมัยไหนมาก กว่ากัน ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษประพฤติผิดในกามรวมทั้งสมัยและมิใช่ สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาประพฤติผิดในกามนั้นน้อยกว่า ส่วน สมัยที่เขามิได้ประพฤติผิดในกามนั้นมากกว่า พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า กรรมใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ จักไม่ ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร ฯ [๖๑๒] ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษพูดเท็จ รวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาพูดเท็จ หรือสมัย ที่เขามิได้พูดเท็จ สมัยไหนมากกว่ากัน คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษพูดเท็จรวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้ง กลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาพูดเท็จนั้นน้อยกว่า ส่วนสมัยที่เขามิได้พูดเท็จ นั้นมากกว่า พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวก กรรม ใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ จักไม่ไป อบาย ตกนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร ฯ [๖๑๓] ดูกรนายคามณี ศาสดาบางท่านในโลกนี้ มักพูดอย่างนี้ มัก เห็นอย่างนี้ว่า ผู้ฆ่าสัตว์ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่ลักทรัพย์ต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมด ผู้ที่ประพฤติผิดในกามต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่พูดเท็จ ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ฯ [๖๑๔] ดูกรนายคามณี สาวกที่เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อมมีความคิด อย่างนี้ว่า ศาสดาของเรากล่าวอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมด สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่า สัตว์ที่เราฆ่ามีอยู่ แม้เรา ก็ต้องไปอบาย ต้องตกนรก เขายังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่ สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมาขังไว้ ฉะนั้น (สาวก ของศาสดานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า) ศาสดาของเรากล่าวอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่ ลักทรัพย์ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่า ทรัพย์ที่เราลักมีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ต้องตกนรก เขายังไม่ละวาจานั้น ยัง ไม่ละความคิดนั้น ยังไม่ละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมา ขังไว้ ฉะนั้น ศาสดาของเรากล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่ประพฤติผิด ในกามต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด สาวกของศาสดากลับได้ความเห็นว่า กาเมสุ มิจฉาจารที่เราประพฤติมีอยู่ แม้เราต้องไปอบาย ต้องตกนรก เขายังไม่ละวาจา นั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือน ถูกนำมาขังไว้ ฉะนั้น ศาสดาของเรากล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่พูด เท็จต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่า คำเท็จ ที่เราพูดมีอยู่ แม้เราต้องไปอบาย ต้องตกนรก เขายังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละ ความคิดนั้น ยังไม่สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมาขังไว้ ฉะนั้น ฯ [๖๑๕] ดูกรนายคามณี ก็พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงถึง พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษ ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิก- *บานแล้ว เป็นผู้มีโชค เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ ตถาคตนั้นทรงตำหนิติเตียน ปาณาติบาต และตรัสว่า จงงดเว้นจากปาณาติบาต ทรงตำหนิติเตียนอทินนาทาน และตรัสว่า จงงดเว้นจากอทินนาทาน ทรงตำหนิติเตียนกาเมสุมิจฉาจาร และตรัส ว่าจงงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ทรงตำหนิติเตียนมุสาวาท และตรัสว่า จงงดเว้น จากมุสาวาท โดยอเนกปริยาย สาวกเป็นผู้เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนปาณาติบาตโดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงเว้นจากปาณาติบาต ก็สัตว์ที่เราฆ่ามีอยู่มากมาย ข้อที่เราฆ่าสัตว์ มากมายนั้น ไม่ดีไม่งาม เราแลพึงเดือดร้อนเพราะข้อนี้เป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ทำ บาปกรรมนั้นหามิได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละปาณาติบาตนั้นด้วย ย่อม งดเว้นจากปาณาติบาตต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ ด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๖๑๖] สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ ติเตียนอทินนาทานโดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงงดเว้นจากอทินนาทาน ทรัพย์ที่เราลักมีอยู่มากมาย ข้อที่เราลักทรัพย์มากมายนั้น ไม่ดี ไม่งาม เราแลพึง เดือดร้อน เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นหามิได้ เขา พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละอทินนาทานนั้นด้วย ย่อมงดเว้นจากอทินนาทาน ต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ ด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๖๑๗] สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ ติเตียนกาเมสุมิจฉาจารโดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เราประพฤติผิดในกามมีอยู่มากมาย ข้อที่เราประพฤติผิดในกามมากมายนั้น ไม่ดี ไม่งาม เราแลพึงเดือดร้อนเพราะข้อนั้นเป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ทำบาปกรรม นั้นหามิได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละกาเมสุมิจฉาจารนั้นด้วย ย่อมงด เว้นจากกาเมสุมิจฉาจารต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรมก้าวล่วงบาปกรรมได้ ด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๖๑๘] สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ ติเตียนมุสาวาทโดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงงดเว้นจากมุสาวาท ก็เราพูดเท็จ มีอยู่มากมาย ข้อที่เราพูดเท็จมากมายนั้น ไม่ดี ไม่งาม เราแลพึงเดือดร้อน เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นหามิได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้ แล้วย่อมละมุสาวาทนั้นด้วย ย่อมงดเว้นจากมุสาวาทต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละ บาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ ด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๖๑๙] สาวกนั้นละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต ละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน ละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ละมุสา วาท งดเว้นจากมุสาวาท ละปิสุณาวาจา งดเว้นจากปิสุณาวาจา ละผรุสวาจา งด เว้นจากผรุสวาจา ละสัมผัปลาปะ งดเว้นจากสัมผัปลาปะ ละอภิชฌา ไม่โลภมาก ละความประทุษร้าย คือ พยาบาท ไม่มีจิตพยาบาท ละความเห็นผิด มีความ เห็นชอบ ดูกรนายคามณี อริยสาวกนั้นนั่นแล ปราศจากอภิชฌา ปราศจาก พยาบาทอย่างนี้ ไม่หลงงมงาย มีความรู้สึกตัว มีสติ มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณ มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ดูกรนายคามณี คนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง พึงยังบุคคลให้รู้แจ้งทั้ง ๔ ทิศได้โดยไม่ยากเลย ฉันใด กรรมที่ทำพอประมาณ อันใด ในเมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ กรรมนั้น จะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาพจรนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรนายคามณี อริย- *สาวกนั้นนั่นแล ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ ไม่หลงงมงาย รู้สึกตัว มีสติ มีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจ ประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความ เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ดูกรนายคามณี คนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง พึงยังบุคคลให้รู้แจ้งทั้ง ๔ ทิศได้โดยไม่ยาก ฉันใด กรรม ที่ทำพอประมาณในอุเบกขาเจโตวิมุติที่บุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ กรรมนั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาพจรนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระผู้มี- *พระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตรสาวกนิครณถ์ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระ ผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ จนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พระเจ้าข้า ฯ
จบสูตรที่ ๘

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๘๐๓๘-๘๑๗๒ หน้าที่ ๓๔๗-๓๕๓. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=8038&Z=8172&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=18&siri=274              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=608              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [608-619] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=608&items=12              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3646              The Pali Tipitaka in Roman :- [608-619] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=608&items=12              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3646              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i586-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn42/sn42.008.than.html https://suttacentral.net/sn42.8/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :