บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
สัมมาสัมพุทธสูตร ว่าด้วยความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า [๑๗๐๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการนี้แล ตามความเป็นจริง ตถาคตเขาจึงกล่าว ว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง กระทำความเพียร เพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.จบ สูตรที่ ๓ อรหันตสูตร ว่าด้วยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า [๑๗๐๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เหล่าใดในอดีตกาล ตรัสรู้แล้วตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดนั้น ตรัสรู้แล้วซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ถึงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งใน อนาคตกาล จักตรัสรู้ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดแล้ว จักตรัสรู้ อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ถึงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน ตรัสรู้ อยู่ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดนั้น ตรัสรู้อยู่ซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความ เป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็พระ- *อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ตรัสรู้แล้วตามความเป็นจริง ... จักตรัสรู้ ... ตรัสรู้อยู่ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดนั้น ตรัสรู้อยู่ซึ่งอริยสัจ ๔ ตาม ความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.จบ สูตรที่ ๔ อาสวักขยสูตร ว่าด้วยความสิ้นอาสวะ [๑๗๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้เห็น ไม่กล่าวความ สิ้นอาสวะของผู้ไม่รู้ไม่เห็น ก็ความสิ้นอาสวะของผู้รู้อะไร ผู้เห็นอะไร? ความสิ้นอาสวะของ ผู้รู้เห็นว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะของผู้รู้อย่างนี้ ผู้เห็นอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.จบ สูตรที่ ๕ มิตตสูตร ว่าด้วยการอนุเคราะห์มิตร [๑๗๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เธอทั้งหลายจะพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งและ ชนเหล่าใดจะเป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิตก็ตาม จะพึงสำคัญถ้อยคำว่าเป็นสิ่งที่ตนควร เชื่อฟังชนเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในการตรัสรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็เธอทั้งหลายจะพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ... ชนเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในการตรัสรู้อริยสัจ ๔ เหล่านี้แลตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.จบ สูตรที่ ๖ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๑๐๒๘๖-๑๐๓๒๖ หน้าที่ ๔๒๙-๔๓๑. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=10286&Z=10326&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=19&siri=403 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1703 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1703-1706] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=1703&items=4 The Pali Tipitaka in Roman :- [1703-1706] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=1703&items=4 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn56.23/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.23/en/bodhi
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]