ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
อามกธัญญเปยยาล ปฐมวรรคที่ ๗
อัญญตรสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในมนุษย์น้อย
[๑๗๕๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อยไว้ในปลายพระนขา แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มี พระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่ พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ ส่วนเสี้ยว. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดนอกจากมนุษย์มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่ได้เห็น อริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑
ปัจจันตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในปัจจันตชนบทมาก
[๑๗๕๘] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อยไว้ในปลายพระนขา แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มี พระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่ พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบหรือแม้ ส่วนเสี้ยว. พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท มีประมาณ น้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดในปัจจันตชนบทมีมากกว่า ที่กลับมาเกิดในพวกมิลักขะ ซึ่งเป็นพวกที่ไม่รู้แจ้ง ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๒
ปัญญาสูตร
ว่าด้วยสัตว์มีปัญญาจักษุน้อย
[๑๗๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้ประกอบด้วยปัญญาจักษุ อันเป็นอริยะ มีประมาณน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ตกไปในอวิชชา เป็นผู้งมงาย มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๓
สุราเมรยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้งดเว้นการดื่มน้ำเมามีน้อย
[๑๗๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีมากกว่า ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๔
อุทกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เกิดในน้ำมีมาก
[๑๗๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกิดบนบก มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่เกิดในน้ำ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๕
มัตเตยยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เกื้อกูลมารดามีน้อย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่มารดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่มารดา มีมากกว่า.
จบ สูตรที่ ๖
เปตเตยยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เกื้อกูลบิดามีน้อย
[๑๗๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่บิดามีน้อย โดย ที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่บิดา มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๗
สามัญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เกื้อกูลสมณะมีน้อย
[๑๗๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่สมณะมีน้อย โดย ที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่สมณะ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๘
พราหมัญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์เกื้อกูลพราหมณ์มีน้อย
[๑๗๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่พราหมณ์มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่พราหมณ์ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๙
อปจายิกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้อ่อนน้อมต่อผู้เจริญมีน้อย
[๑๗๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้นอบน้อมต่อบุคคลผู้เจริญใน สกุล มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่นอบน้อมต่อบุคคลผู้เจริญในสกุล มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ อามกธัญญเปยยาล ปฐมวรรคที่ ๗
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัญญตรสูตร ๒. ปัจจันตสูตร ๓. ปัญญาสูตร ๔. สุราเมรยสูตร ๕. อุทกสูตร ๖. มัตเตยยสูตร ๗. เปตเตยยสูตร ๘. สามัญญสูตร ๙. พราหมัญญสูตร ๑๐. อปจายิกสูตร
-----------------------------------------------------
อามกธัญญเปยยาล ทุติยวรรคที่ ๘
ปาณาติปาตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นปาณาติบาตมีน้อย
[๑๗๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เว้นจากปาณาติบาตมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เว้นจากปาณาติบาต มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑
อทินนาทานสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นอทินนาทานมีน้อย
[๑๗๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากอทินนาทาน มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากอทินนาทาน มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๒
กาเมสุมิจฉาจารสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นกาเมสุมิจฉาจารมีน้อย
[๑๗๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นกาเมสุมิจฉาจาร มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๓
มุสาวาทสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นมุสาวาทมีน้อย
[๑๗๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากมุสาวาทมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากมุสาวาท มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๔
เปสุญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นคำส่อเสียดมีน้อย
[๑๗๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากคำส่อเสียด มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากคำส่อเสียด มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๕
ผรุสสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นคำหยาบมีน้อย
[๑๗๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากคำหยาบมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากคำหยาบมีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๖
สัมผัปปลาปสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการเพ้อเจ้อมีน้อย
[๑๗๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากคำเพ้อเจ้อ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากคำเพ้อเจ้อมีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๗
พีชสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการพรากพืชคามมีน้อย
[๑๗๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการพรากพืชคาม และภูตคาม มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการพรากพืชคามและภูตคาม มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๘
วิกาลโภชนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นบริโภคในเวลาวิกาลมีน้อย
[๑๗๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการบริโภคอาหาร ในเวลาวิกาล มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๙
คันธวิเลปนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นเครื่องลูบไล้มีน้อย
[๑๗๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการทัดทรง ประดับ และตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอมและเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการทัดทรงประดับ และตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของ หอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ อามกธัญญเปยยาล ทุติยวรรคที่ ๘
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปาณาติปาตสูตร ๒. อทินนาทานสูตร ๓. กาเมสุมิจฉาจารสูตร ๔. มุสาวาทสูตร ๕. เปสุญญสูตร ๖. ผรุสสูตร ๗. สัมผัปปลาปสูตร ๘. พีชสูตร ๙. วิกาลโภชนสูตร ๑๐. คันธวิเลปนสูตร.
-----------------------------------------------------
อามกธัญญเปยยาล ตติยวรรคที่ ๙
นัจจสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นจากการฟ้อนรำมีน้อย
[๑๗๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑
สยนสูตร
ว่าด้วยสัตว์เว้นการนั่งนอนในที่นั่งนอนสูงใหญ่มีน้อย
[๑๗๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการนั่งนอนบนที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๒
รชตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับเงินทองมีน้อย
[๑๗๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับทองและเงิน มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับทองและเงิน มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๓
ธัญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นจากการรับธัญญชาติดิบมีน้อย
[๑๗๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับธัญญชาติดิบ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับธัญญชาติดิบ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๔
มังสสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับเนื้อดิบมีน้อย
[๑๗๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับเนื้อดิบ มี น้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับเนื้อดิบ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๕
กุมาริกาสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับเด็กหญิงมีน้อย
[๑๗๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับสตรีและกุมารี มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับสตรีและกุมารี มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๖
ทาสีสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับทาสมีน้อย
[๑๗๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับทาสีและทาส มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับทาสีและทาส มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๗
อเชฬกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับแพะแกะมีน้อย
[๑๗๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับแพะและแกะ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับแพะและแกะมีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๘
กุกกุฏสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับไก่และสุกรมีน้อย
[๑๗๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับไก่และสุกร มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับไก่และสุกร มีมากกว่า.
จบ สูตรที่ ๙
หัตถีสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับช้างมีน้อย
[๑๗๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับช้าง โค ม้า และลา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับช้าง โค ม้า และลา มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ อามกธัญญเปยยาล ตติยวรรคที่ ๙
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. นัจจสูตร ๒. สยนสูตร ๓. รชตสูตร ๔. ธัญญสูตร ๕. มังสสูตร ๖. กุมาริกาสูตร ๗. ทาสีสูตร ๘. อเชฬกสูตร ๙. กุกกุฏสูตร ๑๐. หัตถีสูตร.
-----------------------------------------------------
อามกธัญญเปยยาล จตุตถวรรคที่ ๑๐
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีการทำต่างๆ กัน
[๑๗๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับไร่นาและที่ดิน มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับไร่นาและที่ดิน มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการซื้อและการขาย มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการซื้อและการขายมีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการประกอบ ทูตกรรมและการรับใช้มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจาก การโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับสินบน การล่อลวง และการทำของปลอม มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับสินบน การ ล่อลวง และการทำของปลอม มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๙๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นไว้ในปลายพระนขา แล้วตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ ที่ปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อน ไว้ที่ปลายพระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติในพวกมนุษย์แล้วกลับมาเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะ กลับมาเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในกำเนิด สัตว์ดิรัจฉาน มีมากกว่า ฯลฯ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับมาเกิดใน พวกเทวดามีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากเทวดาแล้ว จะกลับมา เกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากเทวดาไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ใน กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากเทวดาแล้ว จะกลับ ไปเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากเทวดาไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ใน กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว จะกลับ ไปเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ใน กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ [๑๗๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว จะกลับ ไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ใน กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไป แล้ว กลับไปเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไป แล้ว จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๘๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว จะ กลับไปเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดใน นรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ [๑๘๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว จะ กลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๘๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัย ไปแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิด ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๘๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดใน ปิตติวิสัย มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ- *ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
จบ จักกเปยยาล
จบ สัจจสังยุต
จบ มหาวารวรรคสังยุต
-----------------------------------------------------
รวมสังยุตที่มีในมหาวารวรรคนี้ คือ
๑. มรรคสังยุต ๒. โพชฌงคสังยุต ๓. สติปัฏฐานสังยุต ๔. อินทรียสังยุต ๕. สัมมัปปธานสังยุต ๖. พลสังยุต ๗. อิทธิปาทสังยุต ๘. อนุรุทธสังยุต ๙. ฌานสังยุต ๑๐. อานาปานสังยุต ๑๑. โสตาปัตติสังยุต ๑๒. สัจจสังยุต.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๑๐๙๐๒-๑๑๑๘๒ หน้าที่ ๔๕๗-๔๖๙. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=10902&Z=11182&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=19&siri=441              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1757              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1757-1803] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=1757&items=47              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8412              The Pali Tipitaka in Roman :- [1757-1803] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=1757&items=47              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8412              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn56.61/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.62/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.63/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.64/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.65/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.66/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.67/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.68/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.69/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.70/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :