คังคาปราจีนนินนสูตร
ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน
[๒๒๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งลง
ไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อัน
น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล
จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
จบ สูตรที่ ๑
ยมุนาปราจีนนินนสูตร
ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน
[๒๓๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไป
สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ...
ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๒
อจิรวตีปราจีนนินนสูตร
ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน
[๒๓๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง
ลงไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ...
ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๓
สรภูปราจีนนินนสูตร
ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน
[๒๓๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไป
สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ...
ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๔
มหีปราจีนนินนสูตร
ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน
[๒๓๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉันนั้น
เหมือนกัน ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๕
มหานทีปราจีนนินนสูตร
มหานทีไหลไปสู่ทิศปราจีนเหมือนผู้เจริญอริยมรรคน้อมไปสู่นิพพาน
[๒๓๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ สายใดสายหนึ่งนี้ คือ
แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่ทิศปราจีน
หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อม
ไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่ง
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอน
ไปสู่นิพพาน.
จบ สูตรที่ ๖
คังคาสมุทนินนสูตร
ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร
[๒๓๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่
สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้
มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อัน
น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่พระนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่าง
นี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
จบ สูตรที่ ๗
ยมุนาสมุทนินนสูตร
ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร
[๒๓๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่
สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือน
กัน ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๘
อจิรวดีสมุทนินนสูตร
ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร
[๒๔๐] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่
สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉันนั้น
เหมือนกัน ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๙
สรภูสมุทนินนสูตร
ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร
[๒๔๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่
สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือน
กัน ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๑๐
มหีสมุทนินนสูตร
ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร
[๒๔๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่
สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ... ฉันนั้น
เหมือนกัน ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๑๑
มหานทีปราจีนนินนสูตร
ผู้เจริญอริยมรรคน้อมไปสู่นิพพานเหมือนแม่น้ำใหญ่ไหลไปสู่ทิศปราจีน
[๒๔๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ สายใดสายหนึ่งนี้ คือ
แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหีทั้งหมดนั้นไหลไปสู่สมุทร หลั่ง
ไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระ
ทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอน
ไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ
อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล
จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯ
จบ สูตรที่ ๑๒
หมวดที่ ๔ ว่าด้วยการน้อมไปสู่นิพพาน รวมเป็น ๑๒ สูตร ๖ สูตร แรกอุปมาด้วย
แม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน ๖ สูตรหลังอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร ฯ
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๑๓๒๗-๑๔๓๖ หน้าที่ ๕๗-๖๒.
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=1327&Z=1436&pagebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=19&siri=48
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=229
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
[229-244] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=229&items=16
The Pali Tipitaka in Roman :-
[229-244] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=229&items=16
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
https://84000.org/tipitaka/read/?index_19
อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :-
https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/19i229-e.php#
https://suttacentral.net/sn45.127/en/sujato
https://suttacentral.net/sn45.127/en/bodhi
https://suttacentral.net/sn45.128-132/en/sujato
https://suttacentral.net/sn45.133/en/sujato
https://suttacentral.net/sn45.134-138/en/sujato
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]