บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
มิจฉัตตวรรคที่ ๓ มิจฉัตตสูตร ความเห็นผิด-ความเห็นถูก [๕๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงมิจฉัตตะ (ความผิด) และ สัมมัตตะ (ความถูก) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น. [๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉัตตะเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่นผิด นี้เรียกว่า มิจฉัตตะ. [๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมัตตะเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้ง ใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สัมมัตตะ.จบ สูตรที่ ๑ อกุศลธรรมสูตร อกุศลธรรม-กุศลธรรม [๖๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอกุศลธรรมและกุศลธรรมแก่ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น. [๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อกุศลธรรมเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่น ผิด นี้เรียกว่า อกุศลธรรม. [๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กุศลธรรมเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่น ชอบ นี้เรียกว่า กุศลธรรม.จบ สูตรที่ ๒ ปฏิปทาสูตรที่ ๑ มิจฉาปฏิปทา-สัมมาปฏิปทา [๖๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิปทาและสัมมาปฏิปทา แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น. [๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความ ตั้งใจมั่นผิด นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา. [๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความ ตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา.จบ สูตรที่ ๓ ปฏิปทาสูตรที่ ๒ ว่าด้วยญายธรรม [๖๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์ หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมไม่ยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติผิดเป็นตัวเหตุ ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่นผิด นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมไม่ยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติ ผิดเป็นตัวเหตุ. [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติชอบเป็น ตัวเหตุ ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สัมมา ปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือ บรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติชอบเป็น ตัวเหตุ.จบ สูตรที่ ๔ อสัปปุริสสูตรที่ ๑ ว่าด้วยอสัตบุรุษ-สัตบุรุษ [๗๐] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและสัตบุรุษแก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น. [๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีความ เห็นผิด ดำริผิด เจรจาผิด ทำการงานผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจมั่นผิด บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ. [๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจมั่นชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ.จบ สูตรที่ ๕ อสัปปุริสสูตรที่ ๒ ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่า [๗๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่า อสัตบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัตบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น. [๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี ความเห็นผิด ฯลฯ ตั้งใจมั่นผิด บุคคลเหล่านี้เรียกว่า อสัตบุรุษ. [๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าอสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนใน โลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ ตั้งใจมั่นผิด รู้ผิด พ้นผิด บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษผู้ยิ่งกว่า อสัตบุรุษ. [๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความ เห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ. [๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนใน โลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ รู้ชอบ พ้นชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษผู้ยิ่ง กว่าสัตบุรุษ.จบ สูตรที่ ๖ กุมภสูตร ธรรมเครื่องรองรับจิต [๗๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อม กลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีเครื่อง รองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก. [๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเครื่องรองรับจิต อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เป็นเครื่องรองรับจิต. [๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อม กลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก.จบ สูตรที่ ๗ สมาธิสูตร ว่าด้วยสัมมาสมาธิอันประเสริฐ [๘๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อม ทั้งเหตุ พร้อมทั้งเครื่องประกอบแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น. [๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุ พร้อมทั้งเครื่อง ประกอบเป็นไฉน? คือความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ. [๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ความที่จิตมีเครื่องประกอบ ด้วยองค์ ๗ ประการเหล่านี้นั้น เรียกว่าสัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุบ้าง พร้อมทั้ง เครื่องประกอบบ้าง.จบ สูตรที่ ๘ เวทนาสูตร เจริญอริยมรรคเพื่อกำหนดรู้เวทนา [๘๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ เวทนา ๓ ประการนี้แล. [๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อ กำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้แล.จบ สูตรที่ ๙ อุตติยสูตร เจริญอริยมรรคเพื่อละกามคุณ ๕ [๘๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้า พระองค์หลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้แล้ว กามคุณ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเป็นไฉนหนอ? [๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ อุตติยะ กามคุณ ๕ เหล่านี้ เรากล่าวไว้แล้ว กามคุณ ๕ เป็นไฉน? คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้แจ้ง ด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูกรอุตติยะ กามคุณ ๕ เหล่านี้แล เรากล่าวไว้แล้ว. [๘๘] ดูกรอุตติยะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อละกามคุณ ๕ เหล่านี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่น ชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อละกามคุณ ๕ เหล่านี้แล.จบ สูตรที่ ๑๐ จบ มิจฉัตตวรรคที่ ๓ ----------------------------------------------------- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. มิจฉัตตสูตร ๒. อกุศลธรรมสูตร ๓. ปฏิปทาสูตรที่ ๑ ๔. ปฏิปทาสูตรที่ ๒ ๕. อสัปปุริสสูตรที่ ๑ ๖. อสัปปุริสสูตรที่ ๒ ๗. กุมภสูตร ๘. สมาธิสูตร ๙. เวทนาสูตร ๑๐. อุตติยสูตร.----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๓๗๕-๔๙๖ หน้าที่ ๑๗-๒๑. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=375&Z=496&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=19&siri=21 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=59 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [59-88] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=59&items=30 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=4259 The Pali Tipitaka in Roman :- [59-88] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=59&items=30 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=4259 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/19i059-e.php# https://suttacentral.net/sn45.21/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.21/en/bodhi
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]