ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
เวทนาสูตร
เจริญอริยมรรคเพื่อกำหนดรู้เวทนา
[๘๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ เวทนา ๓ ประการนี้แล. [๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อ กำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๙
อุตติยสูตร
เจริญอริยมรรคเพื่อละกามคุณ ๕
[๘๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้า พระองค์หลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้แล้ว กามคุณ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเป็นไฉนหนอ? [๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ อุตติยะ กามคุณ ๕ เหล่านี้ เรากล่าวไว้แล้ว กามคุณ ๕ เป็นไฉน? คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้แจ้ง ด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูกรอุตติยะ กามคุณ ๕ เหล่านี้แล เรากล่าวไว้แล้ว. [๘๘] ดูกรอุตติยะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อละกามคุณ ๕ เหล่านี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่น ชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อละกามคุณ ๕ เหล่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ มิจฉัตตวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มิจฉัตตสูตร ๒. อกุศลธรรมสูตร ๓. ปฏิปทาสูตรที่ ๑ ๔. ปฏิปทาสูตรที่ ๒ ๕. อสัปปุริสสูตรที่ ๑ ๖. อสัปปุริสสูตรที่ ๒ ๗. กุมภสูตร ๘. สมาธิสูตร ๙. เวทนาสูตร ๑๐. อุตติยสูตร.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๔๖๖-๔๙๖ หน้าที่ ๒๐-๒๑. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=466&Z=496&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=19&siri=29              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=84              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [84-88] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=84&items=5              The Pali Tipitaka in Roman :- [84-88] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=84&items=5              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/19i059-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/sn45.29/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.29/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :