ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ปฏิปัตติวรรคที่ ๔
ปฏิปัตติสูตร
ว่าด้วยมิจฉาปฏิบัติ-สัมมาปฏิบัติ
[๘๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิบัติ และสัมมาปฏิบัติ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น. [๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาปฏิบัติเป็นไฉน? คือ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ ตั้งใจมั่นผิด นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิบัติ. [๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิบัติเป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความ ตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิบัติ.
จบ สูตรที่ ๑
ปฏิปันนสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ปฏิบัติผิด-ปฏิบัติชอบ
[๙๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลผู้ปฏิบัติผิด และบุคคล ผู้ปฏิบัติชอบ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น. [๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ปฏิบัติผิดเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น ผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ มีความตั้งใจมั่นผิด บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ปฏิบัติผิด. [๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ปฏิบัติชอบเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ มีความตั้งใจมั่นชอบ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ปฏิบัติชอบ.
จบ สูตรที่ ๒
วิรัทธสูตร
ผลของผู้พลาดและผู้ปรารภอริยมรรค
[๙๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันบุคคล เหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ให้ถึง ความสิ้นทุกข์โดยชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. [๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? คือ ความ เห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พลาดแล้ว อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ แห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
จบ สูตรที่ ๓
ปารสูตร
ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงฝั่ง (นิพพาน)
[๙๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง (นิพพาน) จากที่มิใช่ฝั่ง (วัฏฏะ) ธรรม ๘ ประการ เป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ ธรรม ๘ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง. พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า [๙๘] ในพวกมนุษย์ ชนที่ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย แต่หมู่สัตว์นอกนี้ ย่อม วิ่งไปตามฝั่งนั่นเอง ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามในธรรมที่พระผู้มี พระภาคตรัสดีแล้ว ชนเหล่านั้นข้ามบ่วงมฤตยูซึ่งแสนยากที่จะข้ามไปถึง ฝั่งได้ บัณฑิตพึงละธรรมฝ่ายดำเสียเจริญธรรมฝ่ายขาว ออกจากความ อาลัย อาศัยธรรมอันไม่มีความอาลัยแล้ว พึงละกามเสีย เป็นผู้ไม่มี กิเลสเป็นเครื่องกังวล ปรารถนาความยินดีในวิเวก ที่สัตว์ยินดีได้ยาก บัณฑิตพึงยังตนให้ผ่องแผ้ว จากเครื่องเศร้าหมองจิต ชนเหล่าใดอบรม จิตดีแล้วโดยชอบในองค์เป็นเหตุให้ตรัสรู้ ไม่ถือมั่น ยินดีแล้วในความ สละคืนความถือมั่น ชนเหล่านั้นเป็นผู้สิ้นอาสวะ มีความรุ่งเรือง ปรินิพพานแล้วในโลกนี้.
จบ สูตรที่ ๔
สามัญญสูตรที่ ๑
ว่าด้วยสามัญญะและสามัญญผล
[๙๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะ (ความเป็นสมณะ) และสามัญญผล (ผลแห่งความเป็นสมณะ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น. [๑๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญะเป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สามัญญะ. [๑๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญผลเป็นไฉน? คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล นี้เรียกว่า สามัญญผล.
จบ สูตรที่ ๕
สามัญญสูตรที่ ๒
ว่าด้วยสามัญญะและประโยชน์แห่งสามัญญะ
[๑๐๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะ และประโยชน์แห่ง สามัญญะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น. [๑๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญะเป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สามัญญะ. [๑๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งสามัญญะเป็นไฉน? ความสิ้นราคะ ความ สิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งสามัญญะ.
จบ สูตรที่ ๖
พรหมัญญสูตรที่ ๑
ความเป็นพรหมและเป็นพรหมัญญผล
[๑๐๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะ (ความเป็นพรหม) และพรหมัญญผล (ผลแห่งความเป็นพรหม) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น. [๑๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญะเป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า พรหมัญญะ. [๑๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญผลเป็นไฉน? คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล นี้เรียกว่า พรหมัญญผล.
จบ สูตรที่ ๗
พรหมัญญสูตรที่ ๒
ความเป็นพรหมและประโยชน์แห่งความเป็นพรหม
[๑๐๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะ และประโยชน์ แห่งพรหมัญญะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น. [๑๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญะเป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า พรหมัญญะ. [๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งพรหมัญญะเป็นไฉน? ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งพรหมัญญะ.
จบ สูตรที่ ๘
พรหมจริยสูตรที่ ๑
พรหมจรรย์และผลแห่งพรหมจรรย์
[๑๑๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์ และผลแห่งพรหม จรรย์ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น. [๑๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า พรหมจรรย์. [๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผลแห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน? คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล นี้เรียกว่า ผลแห่งพรหมจรรย์.
จบ สูตรที่ ๙
พรหมจริยสูตรที่ ๒
พรหมจรรย์และประโยชน์แห่งพรหมจรรย์
[๑๑๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์ และประโยชน์ แห่งพรหมจรรย์ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น. [๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน. อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า พรหมจรรย์. [๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน? ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งพรหมจรรย์.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ ปฏิปัตติวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฏิปัตติสูตร ๒. ปฏิปันนสูตร ๓. วิรัทธสูตร ๔. ปารสูตร ๕. สามัญญสูตรที่ ๑ ๖. สามัญญสูตรที่ ๒ ๗. พรหมัญญสูตรที่ ๑ ๘. พรหมัญญ สูตรที่ ๒ ๙. พรหมจริยสูตรที่ ๑ ๑๐. พรหมจริยสูตรที่ ๒
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๔๙๗-๖๐๗ หน้าที่ ๒๒-๒๖. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=497&Z=607&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=19&siri=31              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=89              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [89-116] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=89&items=28              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=4271              The Pali Tipitaka in Roman :- [89-116] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=89&items=28              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=4271              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/19i089-e.php# https://suttacentral.net/sn45.31/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.31/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :