ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
มิตตสูตร
การชักชวนให้เจริญสติปัฏฐาน
[๘๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใด และชนเหล่าใดพึง สำคัญถ้อยคำที่ควรฟัง ชนเหล่านั้นจะเป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิตก็ตาม เธอทั้งหลาย พึงชักชวน ชักนำ ให้ตั้งอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นจิตใน จิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใด และชนเหล่าใด พึงสำคัญถ้อยคำที่ควรฟัง ชนเหล่านั้นจะเป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิตก็ตาม เธอทั้งหลาย พึงชักชวน ชักนำ ให้ตั้งอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๘
เวทนาสูตร
เวทนา ๓
[๘๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้แล. [๘๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อม พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๙
อาสวสูตร
อาสวะ ๓
[๘๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน? คือกามาสวะ ๑ ภวาสวะ ๑ อวิชชาสวะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้แล. [๘๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละอาสวะ ๓ ประการนี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อม พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เพื่อละอาสวะ ๓ ประการนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ อมตวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อมตสูตร ๒. สมุทยสูตร ๓. มัคคสูตร ๔. สติสูตร ๕. กุสลราสิสูตร ๖. ปาฏิโมกขสูตร ๗. ทุจริตสูตร ๘. มิตตสูตร ๙. เวทนาสูตร ๑๐. อาสวสูตร.
คังคาทิเปยยาลแห่งสติปัฏฐานสังยุตที่ ๖
ว่าด้วยผลของการเจริญสติปัฏฐาน ๔
[๘๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้ มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้น เหมือนกัน. [๘๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มากซึ่งสติ ปัฏฐาน ๔ อย่างไร จึงจะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน? ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณา เห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้แล จึงจะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ [๘๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้ สังโยชน์ ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล. [๘๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล (สติปัฏฐานสังยุต พึงให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต) แม่น้ำทั้งหกไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่น้ำทั้งหกไหลไปสู่สมุทรทั้งสองอย่างๆ ละ ๖ รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่ามรรค.
จบ สติปัฏฐานสังยุต
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๔๙๘๘-๕๐๕๕ หน้าที่ ๒๐๗-๒๑๐. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=4988&Z=5055&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=19&siri=178              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=834              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [834-842] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=834&items=9              The Pali Tipitaka in Roman :- [834-842] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=834&items=9              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn47.48/en/sujato https://suttacentral.net/sn47.48/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :