โพธิปักขิยวรรคที่ ๗
สัญโญชนาสูตร
เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อละสังโยชน์
[๑๐๖๓] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕
เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน?
คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์.
จบ สูตรที่ ๑
อนุสยสูตร
เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อถอนอนุสัย
[๑๐๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อถอนอนุสัย.
จบ สูตรที่ ๒
ปริญญาสูตร
เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ
[๑๐๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ (ทางไกล) อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ.
จบ สูตรที่ ๓
อาสวักขยสูตร
เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อความสิ้นอาสวะ
[๑๐๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก-
*แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความสิ้นอาสวะ.
[๑๐๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์ เพื่อถอนอนุสัย เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ เพื่อความสิ้นอาสวะ อินทรีย์ ๕
เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์ เพื่อถอนอนุสัย เพื่อ
กำหนดรู้อัทธานะ เพื่อความสิ้นอาสวะ.
จบ สูตรที่ ๔
ผลสูตรที่ ๑
เจริญอินทรีย์ ๕ หวังผลได้ ๒ อย่าง
[๑๐๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ
สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕
เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.
จบ สูตรที่ ๕
ผลสูตรที่ ๒
เจริญอินทรีย์ ๕ ได้อานิสงส์ ๗ ประการ
[๑๐๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ
สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕
เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลานิสงส์ได้ ๗ ประการ ผลานิสงส์ ๗
ประการเป็นไฉน? คือ จะได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑ ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน
จะได้ชมเวลาใกล้ตาย ๑ ถ้าปัจจุบันก็ไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ ทีนั้นจะได้เป็น
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑ ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑ ผู้สสังขาร-
*ปรินิพพายี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวัง
ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๖
รุกขสูตรที่ ๑
ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม
[๑๐๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ในชมพูทวีปชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นหว้าโลกกล่าว
ว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิต
กล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๐๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์เป็น
โพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไป
เพื่อความตรัสรู้.
[๑๐๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ในชมพูทวีปชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นหว้าโลกกล่าว
ว่า เป็นยอดแห่งต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์
บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้น
เหมือนกัน.
จบ สูตรที่ ๗
รุกขสูตรที่ ๒
ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม ๒
[๑๐๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้น
ปาริฉัตตกะ โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๐๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็น
โพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไป
เพื่อความตรัสรู้.
[๑๐๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้น
ปาริฉัตตกะ โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบ สูตรที่ ๘
รุกขสูตรที่ ๓
ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม ๓
[๑๐๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกอสูรชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นจิตตปาฏลี
โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์
บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้น
เหมือนกัน.
[๑๐๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็น
โพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไป
เพื่อความตรัสรู้.
[๑๐๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกอสูรชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นจิตตปาฏลี
โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านี้ แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์
บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้น
เหมือนกัน.
จบ สูตรที่ ๙
รุกขสูตรที่ ๔
ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม
[๑๐๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกครุฑชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นโกฏสิมพลี
(ไม้งิ้วป่า) โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๐๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็น
โพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไป
เพื่อความตรัสรู้.
[๑๐๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกครุฑชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นโกฏสิมพลี
โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์
บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้น
เหมือนกัน.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ โพธิปักขิยวรรคที่ ๗
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สัญโญชนาสูตร ๒. อนุสยสูตร
๓. ปริญญาสูตร ๔. อาสวักขยสูตร
๕. ผลสูตรที่ ๑ ๖. ผลสูตรที่ ๒
๗. รุกขสูตรที่ ๑ ๘. รุกขสูตรที่ ๒
๙. รุกขสูตรที่ ๓ ๑๐. รุกขสูตรที่ ๔.
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๖๑๔๑-๖๒๕๗ หน้าที่ ๒๕๖-๒๖๐.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=6141&Z=6257&pagebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=19&siri=242
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1063
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
[1063-1081] http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=1063&items=19
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7124
The Pali Tipitaka in Roman :-
[1063-1081] http://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=1063&items=19
The Pali Atthakatha in Roman :-
http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7124
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://84000.org/tipitaka/read/?index_19
อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :-
https://suttacentral.net/sn48.61/en/sujato
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com