บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
มหัทธนสูตรที่ ๒ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นผู้มั่งคั่ง [๑๖๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เราเรียกว่า เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่ ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน? อริยสาวกใน ธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... เป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เราเรียกว่า เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่.จบ สูตรที่ ๕ ภิกขุสูตร องค์คุณของพระโสดาบัน [๑๖๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็น พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ สมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้าจบ สูตรที่ ๖ นันทิยสูตร ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน [๑๖๑๗] กบิลพัสดุ์นิทาน. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเจ้าศากยนันทิยะ ผู้ประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรนันทิยะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็น พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ สมาธิ ดูกรนันทิยะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มี ความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.จบ สูตรที่ ๗ ภัททิยสูตร ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน [๑๖๑๘] กบิลพัสดุ์นิทาน. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเจ้าศากยภัททิยะ ผู้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรภัททิยะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็น พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ... อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อม เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.จบ สูตรที่ ๘ มหานามสูตร ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน [๑๖๑๙] กบิลพัสดุ์นิทาน. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระเจ้ามหานามศากยราชผู้ ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ... อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ แล ย่อมเป็นพระโสดาบันมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.จบ สูตรที่ ๙ โสตาปัตติยังคสูตร โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ [๑๖๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? คือ การคบสัตบุรุษ ๑ การฟังธรรม ๑ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้แล.จบ สูตรที่ ๑๐ จบสคาถกปุญญาภิสันทวรรคที่ ๕ ----------------------------------------------------- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. อภิสันทสูตรที่ ๑ ๒. อภิสันทสูตรที่ ๒ ๓. อภิสันทสูตรที่ ๓ ๔. มหัทธนสูตรที่ ๑ ๕. มหัทธนสูตรที่ ๒ ๖. ภิกขุสูตร ๗. นันทิยสูตร ๘. ภัททิยสูตร ๙. มหานามสูตร ๑๐. โสตาปัตติยังคสูตร----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๙๖๐๘-๙๖๖๕ หน้าที่ ๔๐๐-๔๐๒. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=9608&Z=9665&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=19&siri=363 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1615 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1615-1620] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=1615&items=6 The Pali Tipitaka in Roman :- [1615-1620] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=1615&items=6 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn55.45/en/sujato
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]