ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
วุฒิสูตร
เจริญธรรม ๔ ประการปัญญาเจริญ
[๑๖๓๙] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ... .
จบ สูตรที่ ๑๐
เวปุลลสูตร
เจริญธรรม ๔ ประการปัญญาไพบูลย์
[๑๖๔๐] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา ... .
จบ สูตรที่ ๑๑
จบ สัปปัญญวรรคที่ ๖
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สคาถกสูตร ๒. วัสสวุตถสูตร ๓. ธรรมทินนสูตร ๔. คิลายนสูตร ๕. ผลสูตรที่ ๑ ๖. ผลสูตรที่ ๒ ๗. ผลสูตรที่ ๓ ๘. ผลสูตรที่ ๔ ๙. ปฏิลาภสูตร ๑๐. วุฒิสูตร ๑๑. เวปุลลสูตร.
-----------------------------------------------------
มหาปัญญวรรคที่ ๗
มหาปัญญสูตร
เจริญธรรม ๔ ประการมีปัญญามาก
[๑๖๔๑] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ... .
จบ สูตรที่ ๑
ปุถุปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญาแน่นหนา
[๑๖๔๒] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา ... .
จบ สูตรที่ ๒
วิปุลลปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญาไพบูลย์
[๑๖๔๓] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ ... .
จบ สูตรที่ ๓
คัมภีรปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญาลึกซึ้ง
[๑๖๔๔] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง ... .
จบ สูตรที่ ๔
อัปปมัตตปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญาหาประมาณมิได้
[๑๖๔๕] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาประมาณมิได้ ... .
จบ สูตรที่ ๕
ภูริปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญาดังแผ่นดิน
[๑๖๔๖] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน ... .
จบ สูตรที่ ๖
พาหุลปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญามาก
[๑๖๔๗] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ... .
จบ สูตรที่ ๗
สีฆปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญาเร็ว
[๑๖๔๘] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว ... .
จบ สูตรที่ ๘
ลหุปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญาเบา
[๑๖๔๙] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเบา ... .
จบ สูตรที่ ๙
หาสปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญาร่าเริง
[๑๖๕๐] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง ... .
จบ สูตรที่ ๑๐
ชวนปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญาไว
[๑๖๕๑] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไว ... .
จบ สูตรที่ ๑๑
ติกขปัญญสูตร
เจริญ ... มีปัญญากล้า
[๑๖๕๒] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคมกล้า ... .
จบ สูตรที่ ๑๒
นิพเพธิกปัญญสูตร
เจริญธรรม ๔ ประการมีปัญญาชำแรกกิเลส
[๑๖๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องชำแรกกิเลส ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน? คือ การคบสัตบุรุษ ๑ การฟังสัทธรรม ๑ การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ การปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้ มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องชำแรกกิเลส.
จบ สูตรที่ ๑๓
จบ มหาปัญญวรรคที่ ๗
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มหาปัญญสูตร ๒. ปุถุปัญญสูตร ๓. วิปุลลปัญญสูตร ๔. คัมภีรปัญญสูตร ๕. อัปปมัตตปัญญสูตร ๖. ภูริปัญญสูตร ๗. พาหุลปัญญสูตร ๘. สีฆปัญญสูตร ๙. ลหุปัญญสูตร ๑๐. หาสปัญญสูตร ๑๑. ชวนปัญญสูตร ๑๒. ติกขปัญญสูตร ๑๓. นิพเพธิกปัญญสูตร.
จบ โสดาปัตติสังยุต
-----------------------------------------------------
๑๑. สัจจสังยุต
สมาธิวรรคที่ ๑
สมาธิสูตร
ผู้มีใจตั้งมั่นย่อมรู้ตามความเป็นจริง
[๑๖๕๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจ ตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ย่อมรู้อะไรตามความเป็นจริง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุ ผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธ- *คามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑
ปฏิสัลลานสูตร
ผู้หลีกเร้นอยู่ย่อมรู้ตามความเป็นจริง
[๑๖๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงถึงความประกอบในการหลีกออกเร้นอยู่ ภิกษุผู้หลีกออกเร้นอยู่ ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ย่อมรู้อะไรตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข- *สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เธอทั้งหลายจงถึงความประกอบในการหลีก ออกเร้นอยู่ ภิกษุผู้หลีกออกเร้นอยู่ ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๒
กุลปุตตสูตรที่ ๑
ผู้ออกบวชโดยชอบเพื่อรู้อริยสัจ ๔
[๑๖๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ออกบวชเป็น บรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด ออกบวชแล้วเพื่อรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้นทั้ง หมด จักออกบวชเพื่อรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด ออกบวชอยู่ เพื่อรู้อริยสัจ ๔ ตามความ เป็นจริงอริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธ- *คามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ... ในอนาคตกาล ... ในปัจจุบันกาล ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด ออกบวชเพื่อรู้อริยสัจ ๔ นี้แลตามความ เป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๓
กุลปุตตสูตรที่ ๒
ผู้ออกบวชโดยชอบรู้อริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง
[๑๖๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ออกบวชเป็น บรรพชิตโดยชอบ รู้แล้วตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด รู้แล้วซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความ เป็นจริง กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ จักรู้ตามความ เป็นจริง กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด จักรู้ซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบันกาล ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ย่อมรู้ตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมรู้ซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกข- *นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ... ในอนาคตกาล ... ในปัจจุบันกาล ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ รู้ตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด รู้ซึ่งอริยสัจ ๔ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๔
สมณพราหมณสูตรที่ ๑
สมณพราหมณ์รู้อริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง
[๑๖๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล รู้ แล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด รู้แล้วซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็น จริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักรู้ตามความเป็นจริง สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด จักรู้ซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า หนึ่งในปัจจุบันกาล ย่อมรู้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ... ในอนาคตกาล ... ในปัจจุบันกาล รู้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด รู้ซึ่งอริยสัจ ๔ เหล่านี้ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๕
สมณพราหมณสูตรที่ ๒
สมณพราหมณ์ประกาศอริยสัจ ๔ ที่ตนรู้
[๑๖๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ประกาศแล้วซึ่งสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ประกาศแล้วซึ่ง อริยสัจ ๔ ว่า เป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต กาล จักประกาศสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด จักประกาศ อริยสัจ ๔ ว่า เป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน กาล ประกาศอยู่ซึ่งสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ประกาศ อยู่ซึ่งอริยสัจ ๔ ว่า เป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ... ใน อนาคตกาล ... ในปัจจุบันกาล ประกาศสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่า นั้นทั้งหมดประกาศอริยสัจ ๔ เหล่านี้ว่า เป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๖
วิตักกสูตร
ว่าด้วยการตรึกในอริยสัจ ๔
[๑๖๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าตรึกถึงอกุศลวิตกอันลามก คือ กาม- *วิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะวิตกเหล่านี้ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความ ดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะตรึก พึงตรึกว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความตรึกเหล่านี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำ ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๗
จินตสูตร
ว่าด้วยการคิดในอริยสัจ ๔
[๑๖๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าคิดถึงอกุศลจิตอันลามกว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่าง หนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้อง หน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความคิดนี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะคิด พึงคิดว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความคิดนี้ประกอบด้วยประ- *โยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข- *นิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๘
วิคคาหิกกถาสูตร
ว่าด้วยการพูดที่ไม่เป็นประโยชน์
[๑๖๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าพูดถ้อยคำแก่งแย่งกันว่า ท่านไม่รู้ทั่ว ถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด เรา ปฏิบัติถูก สิ่งที่ควรพูดก่อน ท่านพูดเสียทีหลัง สิ่งที่ควรพูดทีหลัง ท่านพูดเสียก่อน เป็น ประโยชน์แก่เรา ไม่เป็นประโยชน์แก่ท่าน ความเป็นไปอย่างอื่นที่คลาดเคลื่อน ท่านประพฤติ แล้ว ท่านยกวาทะขึ้นแล้วเพื่อเปลื้องวาทะของผู้อื่น ท่านถูกข่มขี่แล้ว ท่านจงชำแรกออก ถ้า ท่านอาจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะถ้อยคำนี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้อง ต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะพูด พึงพูดว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะถ้อยคำนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็น พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๙
ติรัจฉานกถาสูตร
ว่าด้วยการพูดติรัจฉานกถา
[๑๖๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าพูดดิรัจฉานกถา ซึ่งมีหลายอย่าง คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่อง ผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่อง นคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วย ประการนั้นๆ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะถ้อยคำนี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นพรหมจรรย์ เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะพูด พึงพูดว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะถ้อยคำนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข- *นิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ สมาธิวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สมาธิสูตร ๒. ปฏิสัลลาณสูตร ๓. กุลปุตตสูตรที่ ๑ ๔. กุลปุตตสูตรที่ ๒ ๕. สมณพราหมณสูตรที่ ๑ ๖. สมณพราหมณสูตรที่ ๒ ๗. วิตักกสูตร ๘. จินตสูตร ๙. วิคคาหิกกถาสูตร ๑๐. ติรัจฉานกถาสูตร
-----------------------------------------------------
ธัมมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒
ตถาคตสูตรที่ ๑
ทรงแสดงพระธรรมจักร
[๑๖๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด ๒ อย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ ส่วนสุด ๒ อย่างนั้นเป็นไฉน? คือ การประกอบตนให้ พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบความลำบากแก่ตน เป็นทุกข์ ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ ๑ ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างเหล่านี้ อันตถาคต ได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนั้น ... เป็นไฉน? คือ อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ ซึ่งได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพ ชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจมั่นชอบ ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนี้แล อันตถาคตได้ตรัสรู้ แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อ นิพพาน. [๑๖๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็น ทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้ข้อนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ก็ทุกขสมุทยอริยสัจนี้แล คือ ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ความเพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้แล คือ ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่ เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัย ก็ทุกขนิโรธคามินี- *ปฏิปทาอริยสัจนี้แล คือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ซึ่งได้แก่สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมา สมาธิ. [๑๖๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่ เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขอริยสัจนั้นควรกำหนดรู้ ฯลฯ ทุกขอริยสัจนั้นเรากำหนดรู้แล้ว. [๑๖๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ ฯลฯ ทุกขสมุทยอริยสัจนั้นควรละ ฯลฯ ทุกขสมุทัยอริยสัจนั้นเราละแล้ว. [๑๖๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจนั้นควรกระทำให้ แจ้ง. ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจนั้นเรากระทำให้แจ้งแล้ว [๑๖๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่ เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจนั้นควรเจริญ จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นเราเจริญแล้ว. [๑๖๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็น) ตามความเป็นจริง มีวนรอบ ๓ อย่างนี้ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา ยังไม่บริสุทธิ์เพียงใด เราก็ยัง ไม่ปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหม- *โลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น ก็เมื่อใด ญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็น) ตามความเป็นจริง มีวนรอบ ๓ อย่างนี้ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ ของเรา บริสุทธิ์ดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณใน โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ก็ญาณทัสสนะได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ปลื้มใจ ชื่นชม ภาษิตของพระผู้มีพระภาค. [๑๖๗๑] ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจาก ธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรแล้ว พวก ภุมมเทวดาได้ประกาศว่า นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันพระผู้มีพระภาคทรงประกาศแล้ว ณ ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ ใครๆ ในโลก ประกาศไม่ได้ พวกเทพชั้นจาตุมหาราชได้ฟังเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ... พวกเทพชั้นดาวดึงส์ได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว ... พวกเทพชั้นยามาได้ฟังเสียง ของพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว ... พวกเทพชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นยามาแล้ว ... พวก เทพชั้นนิมมานรดีได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นดุสิตแล้ว ... พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีได้ฟังเสียง ของพวกเทพชั้นนิมมานรดีแล้ว ... พวกเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้น ปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ได้ประกาศว่า นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันพระผู้มีพระภาคทรงประกาศ แล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้. [๑๖๗๒] โดยขณะนั้น โดยครู่นั้น เสียงได้ระบือขึ้นไปจนถึงพรหมโลกด้วยประการ ฉะนี้ ก็หมื่นโลกธาตุนี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหว ทั้งแสงสว่างอันยิ่ง หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏ แล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของพวกเทพดาทั้งหลาย. [๑๖๗๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงเปล่งอุทานว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้นคำว่า อัญญาโกณฑัญญะ จึงได้เป็นชื่อของท่านโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑
ตถาคตสูตรที่ ๒
จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดแก่ตถาคต
[๑๖๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่ พระตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขอริยสัจนั้นควร กำหนดรู้ ฯลฯ ทุกขอริยสัจนั้น พระตถาคตทั้งหลาย กำหนดรู้แล้ว. [๑๖๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่ พระตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ ฯลฯ ทุกขสมุทัย อริยสัจนั้นควรละ ฯลฯ ทุกขสมุทยอริยสัจนั้น พระตถาคตทั้งหลายละได้แล้ว. [๑๖๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่ พระตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจ นั้น ควรกระทำให้แจ้ง ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจนั้น พระตถาคตทั้งหลายกระทำให้แจ้งแล้ว. [๑๖๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่ พระตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นควรเจริญ จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้น แก่พระตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้น พระตถาคตทั้งหลาย เจริญแล้ว.
จบ สูตรที่ ๒
ขันธสูตร
ว่าด้วยอริยสัจ ๔
[๑๖๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกข- *อริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. [๑๖๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน? ควรจะกล่าวได้ว่า อุปาทาน ขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทาน ขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ นี้เรียกว่าทุกขอริยสัจ. [๑๖๘๐] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน? ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความ กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ. [๑๖๘๑] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน? ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่ง ตัณหานั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัยตัณหานั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ. [๑๖๘๒] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. [๑๖๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๓
อายตนสูตร
ว่าด้วยอริยสัจ ๔
[๑๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. [๑๖๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน? ควรจะกล่าวว่า อายตนะ ภายใน ๖ อายตนะภายใน ๖ เป็นไฉน? คือ อายตนะคือตา ฯลฯ อายตนะคือใจ นี้เรียก ว่า ทุกขอริยสัจ. [๑๖๘๖] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน? ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ. [๑๖๘๗] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน? ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่ง ตัณหานั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัยตัณหานั้น นี้เรียกว่า ทุกข- *นิโรธอริยสัจ. [๑๖๘๘] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. [๑๖๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๔
ธารณสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ ๔
[๑๖๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงไว้เถิด. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำซึ่งอริยสัจที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว. พ. ดูกรภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วอย่างไร? ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑ ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นข้อที่ ๒ ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นข้อที่ ๓ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นข้อที่ ๔ ที่พระผู้ มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำอริยสัจ ๔ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้วอย่างนี้แล. [๑๖๙๑] พ. ดูกรภิกษุ ดีละๆ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วได้ถูกต้อง เราแสดงทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑ เธอทรงจำได้ เราแสดงทุกขสมุทยอริยสัจเป็นข้อที่ ๒ เธอก็ทรง จำได้ เราแสดงทุกขนิโรธอริยสัจเป็นข้อที่ ๓ เธอก็ทรงจำได้ เราแสดงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจเป็นข้อที่ ๔ เธอก็ทรงจำได้ เธอจงทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้แล ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ- *คามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๕
ธารณสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ ๔ อย่างถูกต้อง
[๑๖๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงไว้แล้วเถิด เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า พระองค์ทรงจำได้ ซึ่งอริยสัจ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว. พ. ดูกรภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วอย่างไร? ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้ว ก็สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้ไม่ใช่ทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ นั้นเสีย แล้วบัญญัติทุกขอริยสัจ ข้อที่ ๑ อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ ข้าพระองค์ทรงจำทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจเป็นข้อที่ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ก็สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าว อย่างนี้ว่า นี้มิใช่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔ ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจัก บอกเลิกทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔ นั้นเสีย แล้วบัญญัติทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจที่ ๔ อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำ อริยสัจ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอย่างนี้แล. [๑๖๙๓] พ. ดูกรภิกษุ ดีละๆ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วได้ถูกต้อง เราแสดงทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑ เธอก็ทรงจำได้ ก็สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าว อย่างนี้ว่า นี้มิใช่ทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกขอริยสัจ ข้อที่ ๑ นั้นเสีย แล้วบัญญัติทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ เราแสดงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นข้อที่ ๔ เธอก็ทรงจำได้ ก็สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใด ผู้หนึ่งจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้มิใช่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔ ที่พระสมณโคดมทรง แสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔ นั้นเสีย แล้วบัญญัติทุกขนิโรธ- *คามินีปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔ อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอจงทรงจำอริยสัจ ๔ ที่ เราแสดงแล้วอย่างนี้แล ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๖
อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา
[๑๖๙๔] ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชาๆ ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉน และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคล จึงจะชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุให้ เกิดทุกข์ ในความดับทุกข์ ในทางที่จะให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา และด้วยเหตุเพียง เท่านี้ บุคคลย่อมชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๗
วิชชาสูตร
ว่าด้วยวิชชา
[๑๖๙๕] ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า วิชชาๆ ดังนี้ วิชชาเป็นไฉน และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึง จะชื่อว่าถึงวิชชา? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ความรู้ในทุกข์ ในเหตุให้เกิดทุกข์ ใน ความดับทุกข์ ในทางที่ให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล ย่อมชื่อว่าถึงวิชชา ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็น จริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๘
สังกาสนสูตร
ว่าด้วยบัญญัติแห่งอริยสัจ ๔
[๑๖๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราบัญญัติว่า นี้เป็นทุกขอริยสัจ อักขระ พยัญชนะ การจำแนกในทุกขอริยสัจนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ นี้เป็นทุกขอริยสัจ ฯลฯ เราบัญญัติว่า นี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อักขระ พยัญชนะ การจำแนกทุกขนิโรธ- *คามินีปฏิปทาอริยสัจนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ นี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา- *อริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๙
ตถสูตร
ว่าด้วยของจริงแท้ ๔ อย่าง
[๑๖๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๔ อย่างนี้ เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็น อย่างอื่น สิ่ง ๔ อย่างเป็นไฉน? สิ่งนี้ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทาง ให้ถึงความดับทุกข์ เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น สิ่ง ๔ อย่างนี้ เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ ธรรมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ตถาคตสูตรที่ ๑ ๒. ตถาคตสูตรที่ ๒ ๓. ขันธสูตร ๔. อายตนสูตร ๕. ธารณสูตรที่ ๑ ๖. ธารณสูตรที่ ๒ ๗. อวิชชาสูตร ๘. วิชชาสูตร ๙. สังกาสนสูตร ๑๐. ตถสูตร
-----------------------------------------------------
โกฏิคามวรรคที่ ๓
วัชชีสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการตรัสรู้และไม่ตรัสรู้อริยสัจ ๔
[๑๖๙๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โกฏิคามในแคว้นวัชชี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้ แทงตลอดอริยสัจ ๔ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย จึงแล่นไป ท่องเที่ยวไปยังสังสารวัฏนี้ตลอด กาลนานอย่างนี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดทุกขอริยสัจ ๑ ทุกขสมุทยอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ๑ เราด้วย เธอ ทั้งหลายด้วย จึงแล่นไป ท่องเที่ยวไปยังสังสารวัฏนี้ตลอดกาลนานอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย ตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว ทุกขสมุทยอริยสัจ ... ทุกขนิโรธอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย ตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพขาดสูญแล้ว ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า [๑๖๙๙] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง เราและเธอทั้งหลายได้ ท่องเที่ยวไปในชาตินั้นๆ ตลอดกาลนาน อริยสัจ ๔ เหล่านี้ เรา และเธอทั้งหลายเห็นแล้ว ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพถอนขึ้นได้แล้ว มูล- *แห่งทุกข์ตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.
จบ สูตรที่ ๑
วัชชีสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการรู้ชัดและไม่รู้ชัดอริยสัจ ๔
[๑๗๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมไม่รู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นไม่นับว่าเป็น สมณะในพวกสมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์ และท่านเหล่านั้นยังไม่กระทำให้ แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่ง เอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. [๑๗๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น นับว่าเป็น สมณะในพวกสมณะ และนับว่าเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์ และท่านเหล่านั้นกระทำให้แจ้ง แล้วซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ และประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่ง เอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า [๑๗๐๒] ชนเหล่าใดย่อมไม่รู้ชัดซึ่งทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความดับ ทุกข์ โดยประการทั้งปวงไม่มีเหลือ และไม่รู้ชัดซึ่งทางให้ถึงความ สงบทุกข์ ชนเหล่านั้นเสื่อมแล้วจากเจโตวิมุติ และปัญญาวิมุติ ไม่ควรเพื่อกระทำที่สุดทุกข์ เข้าถึงชาติและชราโดยแท้ ส่วนชน เหล่าใดย่อมรู้ชัดซึ่งทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ โดย ประการทั้งปวงไม่มีเหลือ และรู้ชัดซึ่งทางให้ถึงความสงบทุกข์ ชน เหล่านั้นถึงพร้อมแล้วด้วยเจโตวิมุติ และปัญญาวิมุติ ควรเพื่อ กระทำที่สุดทุกข์ ไม่เข้าถึงชาติและชรา.
จบ สูตรที่ ๒
สัมมาสัมพุทธสูตร
ว่าด้วยความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๑๗๐๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการนี้แล ตามความเป็นจริง ตถาคตเขาจึงกล่าว ว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง กระทำความเพียร เพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๓
อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๑๗๐๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เหล่าใดในอดีตกาล ตรัสรู้แล้วตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดนั้น ตรัสรู้แล้วซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ถึงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งใน อนาคตกาล จักตรัสรู้ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดแล้ว จักตรัสรู้ อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ถึงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน ตรัสรู้ อยู่ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดนั้น ตรัสรู้อยู่ซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความ เป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็พระ- *อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ตรัสรู้แล้วตามความเป็นจริง ... จักตรัสรู้ ... ตรัสรู้อยู่ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดนั้น ตรัสรู้อยู่ซึ่งอริยสัจ ๔ ตาม ความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๔
อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นอาสวะ
[๑๗๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้เห็น ไม่กล่าวความ สิ้นอาสวะของผู้ไม่รู้ไม่เห็น ก็ความสิ้นอาสวะของผู้รู้อะไร ผู้เห็นอะไร? ความสิ้นอาสวะของ ผู้รู้เห็นว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะของผู้รู้อย่างนี้ ผู้เห็นอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๕
มิตตสูตร
ว่าด้วยการอนุเคราะห์มิตร
[๑๗๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เธอทั้งหลายจะพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งและ ชนเหล่าใดจะเป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิตก็ตาม จะพึงสำคัญถ้อยคำว่าเป็นสิ่งที่ตนควร เชื่อฟังชนเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในการตรัสรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็เธอทั้งหลายจะพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ... ชนเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในการตรัสรู้อริยสัจ ๔ เหล่านี้แลตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๖
ตถสูตร
ว่าด้วยอริยสัจ ๔ เป็นของจริงแท้
[๑๗๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? คือ ทุกข- *อริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ ๔ ประการนี้แล เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอ ทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๗
โลกสูตร
พระตถาคตเป็นอริยะในโลกทั้งปวง
[๑๗๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? คือ ทุกข- *อริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตถาคตเป็นอริยะในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๘
ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยหน้าที่ในอริยสัจ ๔
[๑๗๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? คือ ทุกข- *อริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ ๔ ประการนี้แล บรรดาอริยสัจ ๔ ประการนี้ อริยสัจที่ควรกำหนดรู้ ที่ควรละ ที่ควรกระทำให้แจ้ง ที่ควรให้เกิดมี มีอยู่ ก็อริยสัจที่ควรกำหนดรู้ เป็นไฉน? ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทยอริยสัจ ควรละ ทุกขนิโรธอริยสัจ ควร กระทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ควรให้เกิดมี ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น แหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี- *ปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๙
ควัมปติสูตร
ผู้เห็นทุกข์ ชื่อว่าเห็นในสมุทัยนิโรธมรรค
[๑๗๑๐] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากรูปอยู่ ณ เมืองสหชนิยะ แคว้นเจดีย์ ก็สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระมากรูปกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต นั่งประชุมกันในโรงกลม เกิดสนทนา กันขึ้นในระหว่างประชุมว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดหนอแลย่อมเห็นทุกข์ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็น แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. [๑๗๑๑] เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระควัมปติเถระได้กล่าวกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ฟังมา ได้รับมาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ผู้ใดย่อมเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นแม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้ใดย่อมเห็นทุกขสมุทัย ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นแม้ทุกข์ แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้ใดย่อมเห็นทุกขนิโรธ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นแม้ทุกข์ แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้ใดย่อมเห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นแม้ทุกข์ แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธ.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ โกฏิคามวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรค คือ
๑. วัชชีสูตรที่ ๑ ๒. วัชชีสูตรที่ ๒ ๓. สัมมาสัมพุทธสูตร ๔. อรหันตสูตร ๕. อาสวักขยสูตร ๖. มิตตสูตร ๗. ตถสูตร ๘. โลกสูตร ๙. ปริญเญยยสูตร ๑๐. ควัมปติสูตร.
-----------------------------------------------------
สีสปาปรรณวรรคที่ ๔
สีสปาสูตร
เปรียบสิ่งที่ตรัสรู้มีมากเหมือนใบไม้บนต้น
[๑๗๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวัน ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงถือใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบด้วยฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายมา แล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ใบ ประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราถือด้วยฝ่ามือกับใบที่บนต้น ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่พระผู้มีพระภาคทรงถือด้วยฝ่าพระหัตถ์มี ประมาณน้อย ที่บนต้นมากกว่า พระเจ้าข้า. พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมาก ก็เพราะเหตุไรเราจึงไม่บอก เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก. [๑๗๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเราได้บอกแล้ว เราได้บอกแล้วว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ก็เพราะเหตุไรเราจึงบอก เพราะสิ่งนั้นประกอบด้วยประโยชน์ เป็น พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน เพราะฉะนั้น เราจึงบอก ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑
ขทิรสูตร
ว่าด้วยการทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔
[๑๗๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักเอาใบตะเคียน ใบทองหลาง หรือใบมะขามป้อม ห่อน้ำหรือตาลปัตรนำไป ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ผู้ใดพึงกล่าว อย่างนี้ว่า เราไม่ได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตามความเป็นจริง แล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้นเหมือนกัน. [๑๗๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ เป็นฐานะ ที่จะมีได้ เปรียบเหมือนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักเอาใบบัว ใบทองกวาว หรือใบย่านทราย ห่อน้ำหรือตาลปัตรนำไป ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราได้ตรัสรู้ ทุกขอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ โดยชอบ ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๒
ทัณฑสูตร
ผู้ท่องเที่ยวไปในโลกเพราะไม่เห็นอริยสัจ
[๑๗๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนท่อนไม้ที่บุคคลขว้างขึ้นไปบนอากาศแล้ว บางคราวเอาโคนตกลงมาก็มี บางคราวเอาตอนกลางตกลงมาก็มี บางคราวเอาปลายตกลงมาก็มี ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีนิวรณ์ คืออวิชชา มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ ได้แล่นไปอยู่ ท่อง- *เที่ยวไปอยู่ บางคราวจากโลกนี้ไปสู่ปรโลกก็มี บางคราวจากปรโลกมาสู่โลกนี้ก็มี ฉันนั้นเหมือน กัน ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำ ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๓
เจลสูตร
ให้รีบเพียรเพื่อตรัสรู้ เหมือนรีบดับไฟบนศีรษะ
[๑๗๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อผ้าหรือ ศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว จะควรกระทำอย่างไร? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว ควรจะกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความ ไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อดับผ้าหรือศีรษะนั้น. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงวางเฉย ไม่ใส่ใจถึงผ้าหรือศีรษะที่ถูกไฟไหม้ แล้ว พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและ สัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่ตรัสรู้ตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็น ไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น แหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี- *ปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๔
สัตติสตสูตร
ว่าด้วยการตรัสรู้อริยสัจ ๔
[๑๗๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุร้อยปี พึงกล่าวอย่างนี้กะผู้มี ชีวิตอยู่ร้อยปีว่า มาเถิด บุรุษผู้เจริญ ชนทั้งหลายจักเอาหอกร้อยเล่มทิ่มแทงท่าน ในเวลาเช้า ... ในเวลาเที่ยง ... ในเวลาเย็น ท่านนั้นถูกเขาเอาหอกสามร้อยเล่มทิ่มแทงอยู่ทุกวันๆ มีอายุร้อยปี มีชีวิตอยู่ร้อยปี จักตรัสรู้ อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่ได้ตรัสรู้โดยล่วงร้อยปีไป กุลบุตรผู้เป็นไปในอำนาจ แห่งประโยชน์ควรจะรับเอา ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นที่สุดอันบุคคลไป ตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดแห่งการประหารด้วยหอก ดาบ หลาว และขวานย่อมไม่ปรากฏ ฉันใด ก็ข้อนี้พึงมีได้ฉันนั้นว่า ก็เราไม่กล่าวการตรัสรู้อริยสัจ ๔ พร้อมด้วยทุกข์ โทมนัส แต่เรากล่าวการตรัสรู้อริยสัจ ๔ พร้อมด้วยสุข โสมนัส อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง กระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๕
ปาณสูตร
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพ้นจากอบายใหญ่
[๑๗๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงตัดหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วรวบรวมเข้าด้วยกัน ครั้นแล้วกระทำให้เป็นหลาว ครั้นกระทำให้เป็นหลาว แล้ว พึงร้อยสัตว์ขนาดใหญ่ในมหาสมุทรในหลาวขนาดใหญ่ สัตว์ขนาดกลางในหลาวขนาดกลาง สัตว์ขนาดเล็กในหลาวขนาดเล็ก ก็สัตว์ขนาดเขื่องในมหาสมุทรยังไม่ทันหมด หญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ในชมพูทวีป พึงถึงความสิ้นไปหมดไปโดยแท้ การที่จะเอาหลาวร้อยสัตว์ขนาดเล็กใน มหาสมุทร ซึ่งมีมากกว่าสัตว์ขนาดเขื่องนั้น มิใช่กระทำได้ง่าย ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะ ตัวมันเล็ก ฉันใด อบายก็โตใหญ่ ฉันนั้น บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ? พ้นจากอบายที่ใหญ่โต อย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๖
สุริยูปมาสูตรที่ ๑
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อนการตรัสรู้อริยสัจ
[๑๗๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมา ก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อนแห่งการตรัสรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง คือ สัมมาทิฏฐิ ฉะนั้นเหมือนกัน อันภิกษุผู้มีความเห็นชอบ พึงหวังข้อนี้ ได้ว่า จักรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข- *นิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๗
สุริยูปมาสูตรที่ ๒
พระตถาคตอุบัติความสว่างย่อมปรากฏ
[๑๗๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระจันทร์และพระอาทิตย์ยังไม่เกิดขึ้นในโลกเพียงใด ความปรากฏแห่งแสงสว่างแจ่มจ้าอย่างมากก็ยังไม่มีเพียงนั้น เวลานั้นมีแต่ความมืดมิด มีแต่ความ มัวเป็นหมอก กลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ไม่ปรากฏ ฤดูและปีก็ไม่ ปรากฏ เมื่อใด พระจันทร์และพระอาทิตย์เกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้น ความปรากฏแห่งแสงสว่าง แจ่มจ้าอย่างมากก็ย่อมมี เวลานั้น ไม่มีความมืดมิด ไม่มีความมัวเป็นหมอก กลางคืนกลางวัน ปรากฏ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ปรากฏ ฤดูและปีก็ปรากฏ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุ ทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้นในโลกเพียงใด ความปรากฏแห่ง แสงสว่างแจ่มแจ้งอย่างมากก็ยังไม่มีเพียงนั้น เวลานั้น มีแต่ความมืดมิด มีแต่ความมัวเป็นหมอก การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การกระทำให้ง่าย ซึ่ง อริยสัจ ๔ ก็ยังไม่มี เมื่อใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก เมื่อนั้น ความปรากฏแห่งแสงสว่างแจ่มแจ้งอย่างมากก็ย่อมมี เวลานั้นไม่มีความมืดมิด ไม่มีความมัวเป็น หมอก การบอก การแสดง ... การกระทำให้ง่าย ซึ่งอริยสัจ ๔ ก็ย่อมมี อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี- *ปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๘
อินทขีลสูตร
ผู้รู้ตามเป็นจริง ย่อมรู้ผู้อื่นว่ารู้หรือไม่รู้
[๑๗๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อม ต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย เป็นของเบา คอยจะลอยไปตามลม บุคคลวางไว้ที่ภาคพื้นอัน ราบเรียบแล้ว ลมทิศบูรพา พึงพัดปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายนั้นไปทางทิศประจิมได้ ลมทิศประจิมพึงพัด เอาไปทางทิศบูรพาได้ ลมทิศอุดรพึงพัดเอาไปทางทิศทักษิณได้ ลมทิศทักษิณพึงพัดเอาไปทางทิศ อุดรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายนั้นเป็นของเบาฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข- *นิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์ อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่เห็น อริยสัจ ๔ ฉันนั้นเหมือนกัน. [๑๗๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ ต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ เปรียบเหมือนเสาเหล็กหรือเสาหินมีรากลึก เขาฝังไว้ดีแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ถึงแม้ ลมฝนอย่างแรงจะพัดมาแต่ทิศบูรพา ... ทิศประจิม ... ทิศอุดร ... ทิศทักษิณ ก็ไม่สะเทือนสะท้าน หวั่นไหว ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะรากลึก เพราะเสาหินเขาฝังไว้ดีแล้ว ฉันใด สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี- *ปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ดีแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๙
วาทีสูตร
ผู้รู้ชัดตามเป็นจริง ไม่หวั่นไหวต่อผู้ยกวาทะ
[๑๗๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีความต้องการวาทะ ผู้ แสวงหาวาทะ พึงมาจากทิศบูรพา ... ทิศประจิม ... ทิศอุดร ... ทิศทักษิณ ด้วยประสงค์ว่า จักยกวาทะของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นจักสะเทือนสะท้านหรือหวั่นไหวต่อสมณะหรือพราหมณ์นั้นโดย สหธรรม ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนเสาหิน ๑๖ ศอก เสาหินนั้นมีรากลึกลงไป ข้างล่าง ๘ ศอก ข้างบน ๘ ศอก ถึงแม้ลมฝนอย่างแรงจะพัดมาแต่ทิศบูรพา ... ทิศประจิม ... ทิศอุดร ... ทิศทักษิณ ก็ไม่สะเทือนสะท้านหวั่นไหว ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะรากลึก เพราะเสาหินเขาฝังไว้ดีแล้ว ฉันใด ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ ผู้แสวงหาวาทะ พึงมาจาก ทิศบูรพา ... ทิศประจิม ... ทิศอุดร ... ทิศทักษิณ ด้วยประสงค์ว่า จักยกวาทะของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นจักสะเทือนสะท้านหรือหวั่นไหวต่อสมณะหรือพราหมณ์นั้นโดยสหธรรม ข้อนั้นมิใช่ ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ดีแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ สีสปาปรรณวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สีสปาสูตร ๒. ขทิรสูตร ๓. ทัณฑสูตร ๔. เจลสูตร ๕. สัตติสตสูตร ๖. ปาณสูตร ๗. สุริยูปมาสูตรที่ ๑ ๘. สุริยูปมาสูตรที่ ๒ ๙. อินทขีลสูตร ๑๐. วาทีสูตร.
-----------------------------------------------------
ปปาตวรรคที่ ๔
จินตสูตร
การคิดเรื่องตายแล้วเกิดหรือไม่ ไม่มีประโยชน์
[๑๗๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาป- *สถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว บุรุษคนหนึ่งออกจากเมืองราชคฤห์ เข้าไปยังสระโบกขรณี ชื่อสุมาคธา ด้วยประสงค์ว่า จักคิดเรื่องโลก ครั้นแล้ว นั่งคิดเรื่องโลกอยู่ ณ ขอบสระโบก- *ขรณีชื่อสุมาคธา เข้าได้เห็นกองทัพประกอบด้วยองค์ ๔ เข้าไปสู่ก้านบัว ที่ขอบสระโบกขรณี ชื่อสุมาคธา ครั้นแล้ว ได้มีความคิดว่า เราชื่อว่าเป็นคนบ้า ชื่อว่าเป็นคนมีจิตฟุ้งซ่านเสียแล้ว เราเห็นสิ่งที่ไม่มีในโลก ครั้งนั้น บุรุษนั้นเข้าไปยังนครบอกแก่หมู่มหาชนว่า ท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย เราชื่อว่าเป็นคนบ้า ชื่อว่าเป็นคนมีจิตฟุ้งซ่านเสียแล้ว เราเห็นสิ่งที่ไม่มีในโลก หมู่ มหาชนถามว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านเป็นบ้าได้อย่างไร ท่านมีจิตฟุ้งซ่านอย่างไร สิ่งอะไรที่ไม่มี ในโลกซึ่งท่านเห็นแล้ว? บุ. ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย จะบอกให้ทราบ เราออกจากกรุงราชคฤห์ เข้าไปยัง สระโบกขรณีชื่อสุมาคธา ด้วยประสงค์ว่า จักคิดเรื่องโลก ครั้นแล้ว นั่งคิดเรื่องโลกอยู่ ณ ขอบสระโบกขรณีชื่อสุมาคธา เราได้เห็นกองทัพประกอบด้วยองค์ ๔ เข้าไปสู่ก้านบัวที่ขอบสระ โบกขรณีชื่อสุมาคธา เราเป็นบ้าได้อย่างนี้ เรามีจิตฟุ้งซ่านอย่างนี้ ก็สิ่งนี้ไม่มีในโลก เราเห็น แล้ว. มหา. ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านเป็นบ้าแน่ ท่านมีจิตฟุ้งซ่านแน่ ก็และสิ่งนี้ไม่มีในโลก ท่านเห็นแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นได้เห็นสิ่งที่เป็นจริง ไม่ใช่ได้เห็นสิ่งที่ไม่เป็นจริง. [๑๗๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามเทวดากับอสูรประชิดกัน ก็ ในสงครามนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ ก็พวกอสูรที่แพ้กลัวแล้ว ยังจิตของพวก เทวดาให้งวยงงอยู่ เข้าไปสู่บุรีอสูรโดยทางก้านบัว เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงอย่าคิด เรื่องโลกว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความคิด นั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความ คลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน. [๑๗๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะคิด พึงคิดว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความคิดนั้น ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... เพื่อนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑
ปปาตสูตร
ว่าด้วยเหวคือความเกิด
[๑๗๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนคร ราชคฤห์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาเถิด เราจักเข้าไปยังยอดเขากั้นเขตแดนเพื่อพักกลางวัน ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคแล้ว ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก เสด็จเข้าไปยัง ยอดเขากั้นเขตแดน ภิกษุรูปหนึ่งได้เห็นเหวใหญ่บนยอดเขากั้นเขตแดน ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหวนี้ใหญ่ เหวนี้ใหญ่แท้ๆ เหวอื่นที่ใหญ่กว่า และน่ากลัวกว่าเหวนี้มีอยู่หรือ พระเจ้าข้า? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เหวอื่นที่ใหญ่ กว่าและน่ากลัวกว่าเหวนี้มีอยู่. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เหวอื่นที่ใหญ่กว่าและน่ากลัวกว่าเหวนี้เป็นไฉน? [๑๗๒๙] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ... เพื่อความแก่ ... เพื่อความตาย ... เพื่อความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจ ยินดีแล้ว ย่อม ปรุงแต่งสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิดบ้าง ... และความคับแค้นใจบ้าง ครั้นปรุงแต่ง แล้ว ย่อมตกลงสู่เหวคือความเกิดบ้าง ... และความคับแค้นใจบ้าง เรากล่าวว่า สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่พ้นไปจากความเกิด ความแก่ ความตาย ความเศร้าโศก ความ ร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส ความคับแค้นใจ ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์. [๑๗๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ... และความคับแค้นใจ ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ... และความคับแค้นใจ ครั้นไม่ปรุงแต่ง แล้ว ย่อมไม่ตกลงสู่เหวคือความเกิดบ้าง ... และความคับแค้นใจบ้าง เรากล่าวว่า สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมพ้นจากความเกิด ... และความคับแค้นใจย่อมพ้นจากทุกข์ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๒
ปริฬาหสูตร
ว่าด้วยความเร่าร้อน
[๑๗๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นรกชื่อว่ามีความเร่าร้อนมาก มีอยู่ ในนรกนั้น บุคคล ยังเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยนัยน์ตาได้ (แต่) เห็นรูปที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่เห็นรูป ที่น่าปรารถนา เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าใคร่ เห็นรูปที่ไม่น่าชอบใจ อย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าชอบใจ ได้ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยหูได้ ... ได้สูดกลิ่นอย่างใด อย่างหนึ่งด้วยจมูกได้ ... ได้ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยลิ้นได้ ... ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใด อย่างหนึ่งด้วยกายได้ ... ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างหนึ่งด้วยใจได้ (แต่) รู้แจ้งรูปที่ไม่น่าปรารถนา อย่างเดียว ไม่รู้แจ้งรูปที่น่าปรารถนา รู้แจ้งรูปที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่รู้แจ้งรูปที่น่าใคร่ รู้แจ้ง รูปที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่รู้แจ้งรูปที่น่าพอใจ. [๑๗๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเร่าร้อนมาก ความเร่าร้อนมากแท้ๆ ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่า และน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนนี้ มีอยู่หรือ? พ. ดูกรภิกษุ ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนนี้มีอยู่. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่า และน่ากลัวกว่าความเร่าร้อน นี้ เป็นไฉน? [๑๗๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ฯลฯ ยินดีแล้ว ย่อมปรุงแต่ง ครั้น ปรุงแต่งแล้ว ย่อมเร่าร้อนด้วยความเร่าร้อนเพราะความเกิดบ้าง ความแก่บ้าง ความตายบ้าง ความเศร้าโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจบ้าง เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่พ้นไปจากความเกิด ... ความคับแค้นใจ ย่อมไม่พ้นไป จากทุกข์. [๑๗๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ฯลฯ ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่ปรุงแต่ง ครั้นไม่ปรุงแต่งแล้ว ย่อมไม่เร่าร้อน ด้วยความเร่าร้อนเพราะความเกิด ... และความคับแค้นใจ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมพ้นจากความเกิด ... ความคับแค้นใจ ย่อมพ้น จากทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๓
กูฎสูตร
ว่าด้วยฐานะที่มีได้และมีไม่ได้
[๑๗๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่ตรัสรู้ทุกขอริยสัจตาม ความเป็นจริงแล้ว ฯลฯ ไม่ตรัสรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริงแล้ว จัก กระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ ว่า เราไม่ได้กระทำเรือนชั้นล่าง แล้วจักยกเรือนชั้นบนแห่งเรือนยอด ดังนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่ จะมีได้ ฉันใด ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจตามความเป็นจริงแล้ว ฯลฯ ไม่ตรัสรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้นเหมือนกัน. [๑๗๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจตาม ความเป็นจริงแล้ว ฯลฯ ได้ตรัสรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริงแล้ว จัก กระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ ว่า เรากระทำเรือนชั้นล่างแล้ว จักยกเรือนชั้นบนแห่งเรือนยอด ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่าเราได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจตามความเป็นจริงแล้ว ฯลฯ ได้ตรัสรู้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ ข้อนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง กระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๔
วาลสูตร
ว่าด้วยการแทงตลอดตามความเป็นจริงยาก
[๑๗๓๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้ เมืองเวสาลี ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตใน เมืองเวสาลี ท่านพระอานนท์ได้เห็นลิจฉวีกุมารมากด้วยกัน กำลังทำการยิงศรอยู่ในศาลาสำหรับ เรียนศิลปะ ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด ครั้นแล้ว ได้มีความคิดว่า พวกลิจฉวีกุมารเหล่านี้ ที่จักยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด เป็นผู้ศึกษาแล้ว ศึกษาดีแล้ว. [๑๗๓๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลีแล้ว เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ ประทานพระวโรกาส เมื่อเวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตใน เมืองเวสาลี ได้เห็นลิจฉวีกุมารมากด้วยกัน กำลังทำการยิงศรอยู่ในศาลาสำหรับเรียนศิลปะ ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด ครั้นแล้ว ข้าพระองค์ ได้มีความคิดว่า พวกลิจฉวีกุมารเหล่านี้ที่ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ ไกลได้ไม่ผิดพลาด เป็นผู้ศึกษาแล้ว ศึกษาดีแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธอ จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อย่างไหนจะทำได้ยากกว่ากัน หรือจะให้เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน? คือ การที่ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด กับการ แทงปลายขนทรายด้วยปลายขนทรายที่แบ่งออกแล้วเป็น ๗ ส่วน. อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การแทงปลายขนทรายด้วยปลายขนทรายที่แบ่งออกแล้ว เป็น ๗ ส่วน กระทำได้ยากกว่า และให้เกิดขึ้นได้ยากกว่าพระเจ้าข้า. พ. ดูกรอานนท์ ชนเหล่าใดย่อมแทงตลอดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชนเหล่านั้นย่อมแทงตลอดได้ยากกว่าโดยแท้ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี- *ปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๕
อันธการีสูตร
ผู้รู้ตามเป็นจริงไม่ตกไปสู่ที่มืด
[๑๗๓๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกันตนรกมีแต่ความทุกข์ มืดคลุ้มมัวเป็นหมอก สัตว์ในโลกันตนรกนั้น ไม่ได้รับรัศมีพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้. [๑๗๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมืดนั้นมาก ความมืดนั้นมากแท้ๆ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่า และน่ากลัวกว่าความมืดนี้ มีอยู่หรือ? พ. ดูกรภิกษุ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้มีอยู่. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้ เป็นไฉน. [๑๗๔๑] พ. ดูกรภิกษุ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อม ยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ฯลฯ ยินดีแล้วย่อมปรุงแต่ง ครั้นปรุงแต่ง แล้ว ย่อมตกไปสู่ความมืดคือความเกิด ... และความคับแค้นใจ เรากล่าวว่า สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่พ้นไปจากความเกิด ... ความคับแค้นใจ ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์. [๑๗๔๒] ดูกรภิกษุ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ยินดี ในสังขารทั้งหลายซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ฯลฯ ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่ปรุงแต่ง ครั้นไม่ปรุงแต่ง แล้ว ย่อมไม่ตกไปสู่ความมืดคือความเกิดบ้าง ... และความคับแค้นบ้าง เรากล่าวว่า สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมพ้นไปจากความเกิด ... และความคับแค้นใจ ย่อมพ้นไปจากความทุกข์ ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๖
ฉิคคฬสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความเป็นมนุษย์ยาก
[๑๗๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนแอก ซึ่งมีช่องเดียวลงไปใน มหาสมุทร เต่าตาบอดมีอยู่ในมหาสมุทรนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ เธอ ทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เต่าตาบอดนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ จะสอดคอให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้นได้บ้างหรือหนอ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ถ้าล่วงกาลนานไปบางครั้งบางคราว เต่าจะสอดคอให้เข้าไปในแอกนั้นได้บ้าง. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอด ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ สอด คอให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้น ยังจะเร็วกว่า เราย่อมกล่าวความเป็นมนุษย์เพราะคนพาล ผู้ไปสู่วินิบาตแล้วคราวเดียวก็หามิได้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร? เพราะว่าในวินิบาตนี้ ไม่มีการ ประพฤติธรรม การประพฤติชอบ การกระทำกุศล การกระทำบุญ มีแต่การเคี้ยวกินกันและกัน การเคี้ยวกิน ผู้มีกำลังน้อยกว่า ย่อมเป็นไปในวินิบาตนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่เห็น อริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริง ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๗
ฉิคคฬสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการได้ความเป็นมนุษย์ยาก
[๑๗๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาปฐพีนี้มีน้ำเป็นอันเดียวกัน บุรุษโยน แอกซึ่งมีช่องเดียวลงไปในมหาปฐพีนั้น ลมทิศบูรพาพัดเอาแอกนั้นไปทางทิศประจิม ลมทิศ ประจิมพัดเอาไปทางทิศบูรพา ลมทิศอุดรพัดเอาไปทางทิศทักษิณ ลมทิศทักษิณพัดเอาไปทางทิศ อุดร เต่าตาบอดมีอยู่ในมหาปฐพีนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ เธอทั้งหลายจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เต่าตาบอดนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ จะสอด คอให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้นได้บ้างหรือหนอ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้อที่เต่าตาบอด ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ จะสอดคอเข้าไปในแอกซึ่งมี ช่องเดียวโน้นเป็นของยาก. พ. ฉันนั้นภิกษุทั้งหลาย การได้ความเป็นมนุษย์เป็นของยาก พระตถาคตอรหันต- *สัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลกเป็นของยาก ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วจะรุ่งเรืองในโลก ก็เป็นของยาก ความเป็นมนุษย์นี้เขาได้แล้ว พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติแล้วในโลก และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วก็รุ่งเรืองอยู่ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๘
สิเนรุสูตรที่ ๑
ทุกข์ของพระอริยบุคคลหมดไปมากกว่าที่เหลือ
[๑๗๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเก็บก้อนหิน ประมาณเท่าเมล็ดถั่ว เขียว ๗ ก้อนแห่งขุนเขาสิเนรุราช เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ด ถั่วเขียว ๗ ก้อนที่บุรุษเก็บแล้วกับขุนเขาสิเนรุราช อย่างไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุราชมากกว่า ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่บุรุษเก็บแล้ว น้อยกว่า เมื่อเทียบกับขุนเขาสิเนรุราชแล้ว ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ด ถั่วเขียว ๗ ก้อน ที่บุรุษนั้นเก็บไว้แล้ว ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วน เสี้ยว. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ตรัสรู้แล้ว ผู้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาที่สิ้นไป หมดไปแล้ว มากกว่า ที่ยังเหลือมีประมาณน้อย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว เมื่อเทียบ กับกองทุกข์อันมีในก่อนที่สิ้นไป หมดไปแล้ว อย่างสูงเพียง ๗ ชาติ ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๙
สิเนรุสูตรที่ ๒
ทุกข์ของพระอริยบุคคลหมดไปมากกว่าที่เหลือ
[๑๗๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนขุนเขาสิเนรุราชพึงถึงความสิ้นไป หมดไป เว้นก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ขุนเขา สิเนรุราชที่สิ้นไป หมดไป กับก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ อย่างไหน จะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุราชที่สิ้นไป หมดไป นี้แหละมากกว่า ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ น้อยกว่า เมื่อเทียบกับ ขุนเขาสิเนรุราชที่สิ้นไป หมดไป ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ ย่อม ไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ตรัสรู้แล้ว ผู้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาที่สิ้นไป หมดไปแล้ว มากกว่า ที่ยังเหลือมีประมาณน้อย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว เมื่อเทียบ กับกองทุกข์อันมีในก่อนที่สิ้นไป หมดไปแล้ว อย่างสูงเพียง ๗ ชาติ ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ ปปาตรวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จินตสูตร ๒. ปปาตสูตร ๓. ปริฬาหสูตร ๔. กูฏสูตร ๕. วาลสูตร ๖. อันธการีสูตร ๗. ฉิคคฬสูตรที่ ๑ ๘. ฉิคคฬสูตรที่ ๒ ๙. สิเนรุสูตรที่ ๑ ๑๐. สิเนรุสูตรที่ ๒
-----------------------------------------------------
อภิสมยวรรคที่ ๖
นขสิขาสูตร
ว่าด้วยทุกข์ของพระอริยะเท่ากับฝุ่นที่ปลายเล็บ
[๑๗๔๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อย ไว้ที่ปลายพระนขาแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่ปลายเล็บที่เราช้อนขึ้นนี้กับมหาปฐพีนี้ อย่างไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่ปลายพระนขาอัน พระผู้มีพระภาคทรงช้อนขึ้นนี้ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับมหาปฐพีแล้ว ฝุ่นเล็กน้อยที่ปลาย พระนขาที่พระผู้มีพระภาคช้อนขึ้นแล้ว ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว. พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวกผู้สมบูรณ์ ด้วยทิฏฐิ ผู้ตรัสรู้ ผู้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ที่สิ้นไป หมดไป มากกว่า ที่ยังเหลือมีประมาณน้อย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ ส่วนเสี้ยว เมื่อเทียบกับกองทุกข์อันมีในก่อนที่สิ้นไป หมดไปแล้ว อย่างสูงเพียง ๗ ชาติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑
โปกขรณีสูตร
ว่าด้วยทุกข์ของพระอริยะเท่ากับน้ำปลายหญ้าคา
[๑๗๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสระโบกขรณี โดยยาว ๕๐ โยชน์ โดย กว้าง ๕๐ โยชน์ สูง ๕๐ โยชน์ เต็มด้วยน้ำเปี่ยมฝั่ง กาดื่มกินได้บุรุษเอาปลายหญ้าคาจุ่มน้ำขึ้น จากสระนั้น เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำที่เขาเอาปลายหญ้าคาจุ่มขึ้น กับน้ำใน สระโบกขรณี ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในสระ โบกขรณีมากกว่า น้ำที่เขาเอาปลายหญ้าคาจุ่มขึ้นมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำในสระโบกขรณี แล้ว น้ำที่เขาเอาปลายหญ้าคาจุ่มขึ้น ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว. พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอ ทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๒
สัมเภชชสูตรที่ ๑
เปรียบทุกข์ที่ยังเหลือเท่ากับหยดน้ำ
[๑๗๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ย่อมไหลไปไม่ขาดสายในที่ใด บุรุษตักน้ำ ๒-๓ หยดขึ้นจากที่นั้น เธอ ทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำ ๒-๓ หยดที่เขาตักขึ้น กับน้ำที่ไหลไปประจบกัน ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำที่ไหลไปประจบมากกว่า น้ำ ๒-๓ หยดที่เขาตักขึ้นมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำที่ไหลไปประจบกัน น้ำ ๒-๓ หยดที่ เขาตักขึ้น ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว. พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอ ทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๓
สัมเภชชสูตรที่ ๒
เปรียบทุกข์ที่หมดไปเท่ากับน้ำในแม่น้ำ
[๑๗๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ย่อมไหลไปไม่ขาดสายในที่ใด น้ำนั้น พึงถึงความสิ้นไป หมดไป ยังเหลือ น้ำ ๒-๓ หยด เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเทียบน้ำที่ไหลไปประจบกันซึ่ง สิ้นไป หมดไป กับน้ำ ๒-๓ หยดที่ยังเหลือ ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำที่ไหลไปประจบกันซึ่งสิ้นไป หมดไป มากกว่า น้ำ ๒-๓ หยดที่ยังเหลือ อยู่ น้อยกว่า เมื่อเทียบกับน้ำที่ไหลไปประจบกัน ซึ่งสิ้นไป หมดไปแล้ว น้ำ ๒-๓ หยดที่ยัง เหลืออยู่ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว. พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอ ทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๔
ปฐวีสูตรที่ ๑
เปรียบทุกข์ที่ยังเหลือเท่ากับก้อนดิน
[๑๗๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเก็บก้อนดินประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนจากแผ่นดินใหญ่ เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนดินประมาณเท่าเมล็ด กระเบา ๗ ก้อน ที่เขาเก็บไว้ กับแผ่นดินใหญ่ ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่มากกว่า ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่เขาเก็บไว้ มี ประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ก้อนดินประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่เขาเก็บไว้ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว. พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอ ทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๕
ปฐวีสูตรที่ ๒
เปรียบทุกข์ที่หมดไปเท่ากับแผ่นดิน
[๑๗๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แผ่นดินใหญ่พึงถึงความสิ้นไป หมดไป ยังเหลือ ก้อนดินประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความ หมดไป สิ้นไป ของแผ่นดินใหญ่ กับก้อนดินประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่ยังเหลือ ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่หมดไป สิ้นไป มากกว่า ก้อนดินประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่ยังเหลืออยู่ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ที่หมดไป สิ้นไป ก้อนดินประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่ยัง เหลืออยู่ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว. พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอ ทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๖
สมุททสูตรที่ ๑
เปรียบทุกข์ที่เหลือเท่ากับหยดน้ำ
[๑๗๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษตักน้ำมหาสมุทร ๒-๓ หยด เธอ ทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำ ๒-๓ หยดที่เขาตักขึ้น กับน้ำในมหาสมุทร ไหน จะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรมากกว่า น้ำ ๒-๓ หยด ที่เขาตักขึ้นมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำในมหาสมุทร น้ำ ๒-๓ หยด ที่เขา ตักขึ้น ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว. พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอ ทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๗
สมุททสูตรที่ ๒
เปรียบทุกข์ที่หมดเท่ากับมหาสมุทร
[๑๗๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรพึงถึงความสิ้นไป หมดไป ยังเหลือน้ำ ๒-๓ หยด เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำในมหาสมุทรที่สิ้นไป หมดไป กับน้ำ ๒-๓ หยด ที่ยังเหลือ ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรที่สิ้นไป หมดไปมากกว่า น้ำ ๒-๓ หยด ที่ยังเหลือมีประมาณ น้อย เมื่อเทียบกับน้ำในมหาสมุทรที่สิ้นไป หมดไป น้ำ ๒-๓ หยด ที่ยังเหลือ ย่อมไม่ถึงซึ่ง การนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว. พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอ ทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๘
ปัพพตูปมาสูตรที่ ๑
เปรียบทุกข์ที่เหลือเท่ากับก้อนหิน
[๑๗๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเก็บก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน แห่งขุนเขาหิมวันต์ เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนหินประมาณเท่า เมล็ดผักกาด ๗ ก้อน ที่เขาเก็บไว้ กับขุนเขาหิมวันต์ ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมวันต์มากกว่า ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน ที่เขาเก็บไว้ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับขุนเขาหิมวันต์ ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน ที่เขาเก็บไว้ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว. พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอ ทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๙
ปัพพตูปมาสูตรที่ ๒
เปรียบทุกข์ที่หมดไปเท่ากับขุนเขา
[๑๗๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนขุนเขาหิมวันต์ พึงถึงความสิ้นไป หมดไป ยังเหลือก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ขุนเขาหิมวันต์ที่สิ้นไป หมดไป กับก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน ที่ยังเหลืออยู่ ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมวันต์ที่สิ้นไป หมดไป มากกว่าก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน ที่ยังเหลืออยู่ มีประมาณน้อย เมื่อ เทียบกับขุนเขาหิมวันต์ที่สิ้นไป หมดไป ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน ที่ยังเหลืออยู่ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว. พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ผู้สมบูรณ์ ด้วยทิฏฐิ ผู้ตรัสรู้ ผู้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ที่สิ้นไป หมด ไป มากกว่า ที่ยังเหลือมีประมาณน้อย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับการเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว เมื่อเทียบกับกองทุกข์อันมีในก่อนที่สิ้นไป หมดไป อย่างสูงเพียง ๗ ชาติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ อภิสมยวรรคที่ ๖
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. นขสิขาสูตร ๒. โปกขรณีสูตร ๓. สัมเภชชสูตรที่ ๑ ๔. สัมเภชชสูตรที่ ๒ ๕. ปฐวีสูตรที่ ๑ ๖. ปฐวีสูตรที่ ๒ ๗. สมุททสูตรที่ ๑ ๘. สมุททสูตรที่ ๒ ๙. ปัพพตูปมาสูตรที่ ๑ ๑๐. ปัพพตูปมาสูตรที่ ๒
-----------------------------------------------------
อามกธัญญเปยยาล ปฐมวรรคที่ ๗
อัญญตรสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในมนุษย์น้อย
[๑๗๕๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อยไว้ในปลายพระนขา แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มี พระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่ พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ ส่วนเสี้ยว. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดนอกจากมนุษย์มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่ได้เห็น อริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๑
ปัจจันตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในปัจจันตชนบทมาก
[๑๗๕๘] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อยไว้ในปลายพระนขา แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มี พระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่ พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบหรือแม้ ส่วนเสี้ยว. พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท มีประมาณ น้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดในปัจจันตชนบทมีมากกว่า ที่กลับมาเกิดในพวกมิลักขะ ซึ่งเป็นพวกที่ไม่รู้แจ้ง ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๒
ปัญญาสูตร
ว่าด้วยสัตว์มีปัญญาจักษุน้อย
[๑๗๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้ประกอบด้วยปัญญาจักษุ อันเป็นอริยะ มีประมาณน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ตกไปในอวิชชา เป็นผู้งมงาย มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๓
สุราเมรยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้งดเว้นการดื่มน้ำเมามีน้อย
[๑๗๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีมากกว่า ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๔
อุทกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เกิดในน้ำมีมาก
[๑๗๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกิดบนบก มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่เกิดในน้ำ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๕
มัตเตยยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เกื้อกูลมารดามีน้อย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่มารดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่มารดา มีมากกว่า.
จบ สูตรที่ ๖
เปตเตยยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เกื้อกูลบิดามีน้อย
[๑๗๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่บิดามีน้อย โดย ที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่บิดา มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๗
สามัญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เกื้อกูลสมณะมีน้อย
[๑๗๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่สมณะมีน้อย โดย ที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่สมณะ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๘
พราหมัญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์เกื้อกูลพราหมณ์มีน้อย
[๑๗๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่พราหมณ์มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่พราหมณ์ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๙
อปจายิกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้อ่อนน้อมต่อผู้เจริญมีน้อย
[๑๗๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้นอบน้อมต่อบุคคลผู้เจริญใน สกุล มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่นอบน้อมต่อบุคคลผู้เจริญในสกุล มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ อามกธัญญเปยยาล ปฐมวรรคที่ ๗
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัญญตรสูตร ๒. ปัจจันตสูตร ๓. ปัญญาสูตร ๔. สุราเมรยสูตร ๕. อุทกสูตร ๖. มัตเตยยสูตร ๗. เปตเตยยสูตร ๘. สามัญญสูตร ๙. พราหมัญญสูตร ๑๐. อปจายิกสูตร
-----------------------------------------------------
อามกธัญญเปยยาล ทุติยวรรคที่ ๘
ปาณาติปาตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นปาณาติบาตมีน้อย
[๑๗๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เว้นจากปาณาติบาตมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เว้นจากปาณาติบาต มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑
อทินนาทานสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นอทินนาทานมีน้อย
[๑๗๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากอทินนาทาน มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากอทินนาทาน มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๒
กาเมสุมิจฉาจารสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นกาเมสุมิจฉาจารมีน้อย
[๑๗๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นกาเมสุมิจฉาจาร มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๓
มุสาวาทสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นมุสาวาทมีน้อย
[๑๗๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากมุสาวาทมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากมุสาวาท มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๔
เปสุญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นคำส่อเสียดมีน้อย
[๑๗๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากคำส่อเสียด มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากคำส่อเสียด มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๕
ผรุสสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นคำหยาบมีน้อย
[๑๗๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากคำหยาบมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากคำหยาบมีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๖
สัมผัปปลาปสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการเพ้อเจ้อมีน้อย
[๑๗๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากคำเพ้อเจ้อ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากคำเพ้อเจ้อมีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๗
พีชสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการพรากพืชคามมีน้อย
[๑๗๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการพรากพืชคาม และภูตคาม มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการพรากพืชคามและภูตคาม มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๘
วิกาลโภชนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นบริโภคในเวลาวิกาลมีน้อย
[๑๗๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการบริโภคอาหาร ในเวลาวิกาล มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๙
คันธวิเลปนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นเครื่องลูบไล้มีน้อย
[๑๗๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการทัดทรง ประดับ และตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอมและเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการทัดทรงประดับ และตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของ หอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ อามกธัญญเปยยาล ทุติยวรรคที่ ๘
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปาณาติปาตสูตร ๒. อทินนาทานสูตร ๓. กาเมสุมิจฉาจารสูตร ๔. มุสาวาทสูตร ๕. เปสุญญสูตร ๖. ผรุสสูตร ๗. สัมผัปปลาปสูตร ๘. พีชสูตร ๙. วิกาลโภชนสูตร ๑๐. คันธวิเลปนสูตร.
-----------------------------------------------------
อามกธัญญเปยยาล ตติยวรรคที่ ๙
นัจจสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นจากการฟ้อนรำมีน้อย
[๑๗๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑
สยนสูตร
ว่าด้วยสัตว์เว้นการนั่งนอนในที่นั่งนอนสูงใหญ่มีน้อย
[๑๗๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการนั่งนอนบนที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๒
รชตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับเงินทองมีน้อย
[๑๗๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับทองและเงิน มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับทองและเงิน มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๓
ธัญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นจากการรับธัญญชาติดิบมีน้อย
[๑๗๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับธัญญชาติดิบ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับธัญญชาติดิบ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๔
มังสสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับเนื้อดิบมีน้อย
[๑๗๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับเนื้อดิบ มี น้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับเนื้อดิบ มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๕
กุมาริกาสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับเด็กหญิงมีน้อย
[๑๗๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับสตรีและกุมารี มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับสตรีและกุมารี มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๖
ทาสีสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับทาสมีน้อย
[๑๗๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับทาสีและทาส มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับทาสีและทาส มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๗
อเชฬกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับแพะแกะมีน้อย
[๑๗๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับแพะและแกะ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับแพะและแกะมีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๘
กุกกุฏสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับไก่และสุกรมีน้อย
[๑๗๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับไก่และสุกร มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับไก่และสุกร มีมากกว่า.
จบ สูตรที่ ๙
หัตถีสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับช้างมีน้อย
[๑๗๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับช้าง โค ม้า และลา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับช้าง โค ม้า และลา มีมากกว่า ฯลฯ.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ อามกธัญญเปยยาล ตติยวรรคที่ ๙
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. นัจจสูตร ๒. สยนสูตร ๓. รชตสูตร ๔. ธัญญสูตร ๕. มังสสูตร ๖. กุมาริกาสูตร ๗. ทาสีสูตร ๘. อเชฬกสูตร ๙. กุกกุฏสูตร ๑๐. หัตถีสูตร.
-----------------------------------------------------
อามกธัญญเปยยาล จตุตถวรรคที่ ๑๐
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีการทำต่างๆ กัน
[๑๗๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับไร่นาและที่ดิน มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับไร่นาและที่ดิน มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการซื้อและการขาย มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการซื้อและการขายมีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการประกอบ ทูตกรรมและการรับใช้มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจาก การโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับสินบน การล่อลวง และการทำของปลอม มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับสินบน การ ล่อลวง และการทำของปลอม มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๙๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นไว้ในปลายพระนขา แล้วตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ ที่ปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อน ไว้ที่ปลายพระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติในพวกมนุษย์แล้วกลับมาเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะ กลับมาเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในกำเนิด สัตว์ดิรัจฉาน มีมากกว่า ฯลฯ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับมาเกิดใน พวกเทวดามีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากเทวดาแล้ว จะกลับมา เกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากเทวดาไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ใน กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากเทวดาแล้ว จะกลับ ไปเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากเทวดาไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ใน กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว จะกลับ ไปเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ใน กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ [๑๗๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว จะกลับ ไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ใน กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไป แล้ว กลับไปเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๗๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไป แล้ว จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๘๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว จะ กลับไปเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดใน นรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ [๑๘๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว จะ กลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๘๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัย ไปแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิด ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน มีมากกว่า ฯลฯ. [๑๘๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดใน ปิตติวิสัย มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ- *ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
จบ จักกเปยยาล
จบ สัจจสังยุต
จบ มหาวารวรรคสังยุต
-----------------------------------------------------
รวมสังยุตที่มีในมหาวารวรรคนี้ คือ
๑. มรรคสังยุต ๒. โพชฌงคสังยุต ๓. สติปัฏฐานสังยุต ๔. อินทรียสังยุต ๕. สัมมัปปธานสังยุต ๖. พลสังยุต ๗. อิทธิปาทสังยุต ๘. อนุรุทธสังยุต ๙. ฌานสังยุต ๑๐. อานาปานสังยุต ๑๑. โสตาปัตติสังยุต ๑๒. สัจจสังยุต.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๙๘๑๗-๑๑๑๘๒ หน้าที่ ๔๐๙-๔๖๙. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=9817&Z=11182&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17], [18]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=19&siri=378              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1639              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1639-1803] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=1639&items=165              The Pali Tipitaka in Roman :- [1639-1803] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=1639&items=165              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn55.60/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :