ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
๑. มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระอุทายี
[๒๙๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็นพระกุลุปกะในพระนครสาวัตถี เข้าไปสู่สกุลเป็นอันมาก. ครั้งหนึ่งเวลาเช้า ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสก แล้วถือบาตรจีวร เข้าไปสู่สกุลแห่งหนึ่ง. เวลานั้นหญิงแม่เรือนนั่งอยู่ที่ประตูเรือน. หญิงสะใภ้ในเรือนนั่งอยู่ที่ ประตูห้องนอน. จึงท่านพระอุทายีเดินผ่านไปทางหญิงแม่เรือน แล้วแสดงธรรม ณ ที่ใกล้หูหญิง แม่เรือน. ขณะนั้น หญิงสะใภ้ในเรือนมีความสงสัยว่า พระสมณะนั้นเป็นชายชู้ของแม่ผัว หรือพูดเกี้ยว, ครั้นท่านพระอุทายีแสดงธรรม ณ ที่ใกล้หูหญิงแม่เรือนแล้ว, เดินผ่านไปทางหญิง สะใภ้ในเรือนแล้วแสดงธรรมในที่ใกล้หูหญิงสะใภ้ในเรือน. ฝ่ายหญิงแม่เรือนมีความสงสัยว่า พระสมณะนั้นเป็นชายชู้ของหญิงสะใภ้ในเรือน หรือพูดเกี้ยว, เมื่อท่านพระอุทายีแสดงธรรมใน ที่ใกล้หูหญิงสะใภ้ในเรือนกลับไปแล้ว. จึงหญิงแม่เรือนได้ถามหญิงสะใภ้ในเรือนว่า นี่ นางหนู พระสมณะนั้นได้พูดอะไรแก่เจ้า. หญิงสะใภ้ตอบว่า ท่านแสดงธรรมแก่ดิฉัน เจ้าค่ะ แล้วถามว่า ก็ท่านได้พูดอะไร แก่คุณแม่ เจ้าคะ. แม่ผัวตอบว่า แม้แก่เรา ท่านก็แสดงธรรม. สตรีทั้งสองนั้นต่างเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าอุทายี จึงได้แสดงธรรม ในที่ใกล้หูมาตุคามเล่า ธรรมดาพระธรรมกถึก ควรแสดงธรรมด้วยเสียงชัดเจนเปิดเผย มิใช่หรือ. ภิกษุทั้งหลายได้ยินสตรีทั้งสองนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายีจึงได้แสดงธรรมแก่มาตุคามเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูกรอุทายี ข่าวว่า เธอแสดงธรรม แก่มาตุคาม จริงหรือ? ท่านพระอุทายีรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้แสดงธรรมแก่มาตุคาม เล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๕๖. ๗. ก. อนึ่ง ภิกษุใด แสดงธรรมแก่มาตุคาม เป็นปาจิตตีย์. ก็สิกขาบทนี้ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้.
เรื่องพระอุทายี จบ.
เรื่องอุบาสิกา
[๒๙๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกอุบาสิกาพบภิกษุทั้งหลาย แล้วได้กล่าวนิมนต์ว่า ข้าแต่ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาพระคุณเจ้าแสดงธรรม. ภิกษุเหล่านั้นตอบปฏิเสธว่า ดูกรน้องหญิง การแสดงธรรมแก่มาตุคามไม่ควร. พวกอุบาสิกาอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาแสดงธรรมเพียง ๕-๖ คำ พวกข้าพเจ้าก็สามารถจะรู้ทั่วถึงธรรม แม้ด้วยถ้อยคำเพียงเท่านี้. ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ดูกรน้องหญิง การแสดงธรรมแก่มาตุคามไม่ควรดังนี้แล้ว รังเกียจ ไม่แสดงธรรม. พวกอุบาสิกาต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลาย อันเรา อาราธนาอยู่ จึงไม่แสดงธรรมเล่า. ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสิกาพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเนื้อ ความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แสดงธรรมแก่ มาตุคามได้เพียง ๕-๖ คำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๕๖. ๗. ข. อนึ่ง ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคาม ยิ่งกว่า ๕-๖ คำ เป็น ปาจิตตีย์. ก็สิกขาบทนี้ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้.
เรื่องอุบาสิกา จบ.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๓๐๐] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ แสดงธรรมแก่มาตุคามได้เพียง ๕-๖ คำ จึงให้บุรุษผู้ไม่รู้เดียงสานั่งใกล้ๆ แล้วแสดงธรรมแก่ มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ. บรรดาภิกษุที่มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อ สิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้ให้บุรุษผู้ไม่รู้เดียงสา นั่งใกล้ๆ แล้วแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มี พระภาค ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอให้บุรุษ ผู้ไม่รู้เดียงสานั่งใกล้ๆ แล้วแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้ให้ บุรุษผู้ไม่รู้เดียงสานั่งใกล้ๆ แล้วแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำเล่า การกระทำของ พวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๕๖. ๗. ค. อนึ่ง ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคามยิ่งกว่า ๕-๖ คำ เว้นไว้แต่ มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๓๐๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นผู้รู้เดียงสา สามารถทราบถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต ทุพภาษิตชั่วหยาบและสุภาพ. บทว่า ยิ่งกว่า ๕-๖ คำ คือ เกินกว่า ๕-๖ คำ. ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ถ้อยคำที่เป็นพุทธภาษิต สาวกภาษิต อิสิภาษิต เทวตาภาษิต ซึ่งประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม. บทว่า แสดง คือ แสดงโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ บท. แสดงโดยอักขระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ อักขระ. คำว่า เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ คือ ยกไว้แต่บุรุษผู้รู้ความอยู่ด้วย. บุรุษที่ชื่อว่า ผู้รู้เดียงสา คือเป็นผู้สามารถทราบถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต ทุพภาษิต ชั่วหยาบและสุภาพ.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๐๒] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม แสดงธรรมยิ่งกว่า ๕-๖ คำ เว้นไว้แต่มี บุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. มาตุคาม ภิกษุสงสัย แสดงธรรมยิ่งกว่า ๕-๖ คำ เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่า มิใช่มาตุคาม แสดงธรรมยิ่งกว่า ๕-๖ คำ เว้นไว้แต่มีบุรุษ ผู้รู้เดียงสาอยู่, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ติกทุกกฏ
ภิกษุแสดงธรรมแก่หญิงยักษ์ หญิงเปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย มีกาย คล้ายมนุษย์ ยิ่งกว่า ๕-๖ คำ เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ. มิใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม, ... ต้องอาบัติทุกกฏ. มิใช่มาตุคาม ภิกษุสงสัย, ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
มิใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามิใช่มาตุคาม, ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๓๐๓] มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย ๑ ภิกษุแสดงธรรมเพียง ๕-๖ คำ ๑ ภิกษุแสดง- *ธรรมหย่อนกว่า ๕-๖ คำ ๑ ภิกษุลุกขึ้นแล้วนั่งแสดงธรรมต่อไป ๑ มาตุคามลุกขึ้นแล้วนั่ง ลงอีก ภิกษุแสดงแก่มาตุคามนั้น ๑ ภิกษุแสดงแก่มาตุคามอื่น ๑ มาตุคามถามปัญหา ภิกษุ ถูกถามปัญหาแล้วกล่าวแก้ ๑ ภิกษุแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่คนอื่นอยู่ มาตุคามฟังอยู่ด้วย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๗๓๕๒-๗๔๖๗ หน้าที่ ๓๐๐-๓๐๔. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=7352&Z=7467&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=2&siri=43              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=298              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [298-303] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=2&item=298&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=6374              The Pali Tipitaka in Roman :- [298-303] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=2&item=298&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=6374              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc7/en/brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :