ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
นิคัณฐสูตร
[๕๑๔] ๗๕. สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล เจ้าอภัยลิจฉวีกับเจ้าบัณฑิตกุมารลิจฉวี ได้พากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์ยังที่อยู่ อภิวาทท่านพระอานนท์แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วเจ้าอภัยลิจฉวีได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ นิครณฐนาฏบุตร เป็นคนรู้เห็นธรรมทุกอย่าง ย่อมปฏิญญาญาณ- *ทัสสนะไว้อย่างไม่มีส่วนเหลือว่า สำหรับเราจะเดิน จะยืน จะหลับและตื่น ก็ตาม ญาณทัสสนะก็ปรากฏชั่วกาลนิรันดร เขาบัญญัติว่า กรรมเก่าหมดไป เพราะความเพียรเผากิเลส ฆ่าเหตุได้เพราะไม่ทำกรรมใหม่ ด้วยประการฉะนี้ จึงเป็นอันว่า เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงหมดไป เพราะทุกข์หมดไป เวทนา จึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งสิ้นจึงจักเสื่อมไปโดยไม่เหลือ การล่วง ทุกข์ย่อมมีได้ด้วยความหมดจด ที่ให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ ซึ่งบุคคลจะพึง เห็นเองนี้ ด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัส ไว้อย่างไร ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรเจ้าอภัย ความหมดจดที่ทำให้กิเลส เสื่อมไปโดยไม่เหลือ ๓ อย่างแล พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ ทั้งหลาย เพื่อการล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความเสื่อมสูญแห่งทุกข์และ โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้ เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ความหมดจด ๓ อย่าง เป็นไฉน คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วย และสัมผัสถูกต้องกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไป โดยคิดเห็นว่า ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ ซึ่งผู้ได้บรรลุจะ พึงเห็นเอง เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อัน วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ ๒. ภิกษุนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้แล้ว สงัดจากกาม ฯลฯ เข้าจตุตถฌานอยู่ เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วย และสัมผัสถูกต้องกรรมเก่าแล้วทำ ให้สิ้นไปโดยคิดเห็นว่า ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ ซึ่งผู้บรรลุ จะพึงเห็นเอง เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ ๓. ภิกษุนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิอย่างนี้แล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วย สัมผัสถูกต้องกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปโดยคิดเห็นว่า ความหมดจดที่ทำให้กิเลส เสื่อมไปโดยไม่เหลือ ซึ่งผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ ดูกรเจ้าอภัย ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมโดยไม่เหลือ ๓ อย่าง นี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าว ล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความเสื่อมสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อ บรรลุธรรมที่ควรรู้ เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง เมื่อท่านพระอานนท์ได้กล่าวอย่างนี้แล้ว เจ้าบัณฑิตกุมารลิจฉวีได้พูดกะเจ้าอภัยลิจฉวีว่า ดูกรอภัยเพื่อนรัก ทำไมท่านจึง ไม่ชื่นชมอนุโมทนาคำสุภาษิตของท่านพระอานนท์โดยความเป็นคำสุภาษิตเล่า เจ้า อภัยลิจฉวีตอบว่า เพื่อนรัก ไฉนเราจักไม่ชื่นชมอนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน พระอานนท์โดยความเป็นคำสุภาษิตเล่า ผู้ใดไม่ชื่นชมอนุโมทนาคำสุภาษิตของ ท่านพระอานนท์โดยความเป็นคำสุภาษิต ความคิดของผู้นั้นพึงเสื่อม ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๕๘๐๙-๕๘๕๓ หน้าที่ ๒๔๘-๒๕๐. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=5809&Z=5853&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=20&siri=119              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=514              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [514] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=514&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5233              The Pali Tipitaka in Roman :- [514] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=20&item=514&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5233              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i511-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an3.74/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :